สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

ทำอย่างไร ถ้า เว็บติดมัลแวร์ เว็บติดไวรัส iframe Google ประกาศเตือนเว็บคุณ "ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ"

ทำอย่างไร ถ้า เว็บติดมัลแวร์ เว็บติดไวรัส iframe

Google ประกาศเตือนเว็บคุณ

"ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ"

เว็บติดไวรัส iframe - เว็บติดมัลแวร์

Google ต้องการให้ผู้ใช้รู้สึกปลอดภัยเมื่อค้นหาเว็บ จึงทำการตรวจสอบ ไวรัส iframe และ ระบุ ไซต์นี้เป็นอันตรายโดยเพิ่มข้อความเตือน ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ พร้อมกับผลการค้นหา

คำเตือนเกี่ยวกับ iframe virus - ไวรัส iframe

เว็บถูกบล๊อค หาก virus iframe โจมตี

เมื่อคลิ๊กเว็บไซต์ที่มีข้อความเตือน virus iframe คุณจะพบคำเตือนต่อไปนี้แทนที่จะถูกนำไปยังหน้าเว็บที่ต้องการโดยทันที:

ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ

เว็บติดไวรัส iframe สามารถคลิ๊กได้ไหม

คุณสามารถเลือกที่จะดำเนินการต่อไปยังเว็บไซต์นั้นภายใต้ความเสี่ยงของคุณเอง อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่าซอฟต์แวร์ หรือ สคริปที่เป็นอันตรายได้ถูกติดตั้งในเว็บคุณโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นที่เรียบร้อย เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์เหล่านี้ มีความเป็นไปได้ว่าคุณกำลังถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รหัสผ่านและหมายเลขบัตรเครดิต หรือ เปลี่ยนแปลงผลการค้นหาของคุณ

คำเตือน "ไซต์นี้เป็นอันตราย" หากคุณเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์คุณจะทำอย่างไร

การแก้เว็บไซต์ติดไวรัส iframe : คุณสามารถตรวจสอบและระบุหน้าเว็บที่กำลัง ติดมัลแวร์ หรือ ไวรัส Iframe ได้จาก Free PHPAntivirus หรือ StopBadware.org (ภาษาอังกฤษ)

ตรวจสอบและระบุเวปที่ติด ไวรัส iframe
  • ให้สังเกตตรง ปุ่ม สี (Status) ถ้าเป็นสีแดงแสดงว่ามี ไวรัส iframe อยู่ ถ้าเป็นสีเหลืองแสดงว่าไม่มี ไวรัส iframe แล้ว

วิธีแ้ก้ปัญหาเว็บไซต์ติดไวรัส และ วิธีกำจัดไวรัส iframe

1. หากไม่ได้เป็นสมาชิก google สมัครสมาชิกใหม่ได้ที่ https://www.google.co.th/accounts/NewAccount

2. ทำการ login เข้าสู่ระบบ และเรียก เข้า https://www.google.com/webmasters/tools/

login เื่พื่อหา iframe virus - ไวรัส iframe

3. คลิ๊กที่ลิงค์ เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ จาำกนั้นเพิ่มเว็บที่ติด ไวรัส iframe เข้าไปในลิสต์

add เว็บที่ติด iframe virus - ไวรัส iframe

4. ทำการยืนยันว่าเป็นเจ้าของเว็บไซต์ซึ่ง ติดไวรัส iframe ในที่นี้เลือก Verification method แบบ html file โดยตั้งชื่อตามที่ google กำหนด แล้วอัพขึ้นโฮส หลังจากนั้นกด verify เพื่อยืนยัน

verify เว็บที่ติด iframe virus - ไวรัส iframe

5. Google จะแจ้งรายละเอียดว่า เว็บติดไวรัส iframe ของเรามีปัญหาอะไรอยู่บ้าง ให้นำข้อมูลที่ google แจ้งนั้น มาทำการตรวจสอบ และดำเนินการแก้ไข หรือก๊อปปี้ไฟล์ต้นฉบับที่ไม่ติด ไวรัส iframe ไปทับไฟล์เดิมใน server

ตรวจสอบ เว็บติดไวรัส iframe
http://   

6. เมื่อทำการแก้ไขเสร็จเรียบร้อยให้คลิกที่ Request a review เพื่อให้ Google ตรวจสอบ เว็บติดไวรัส iframe อีกครั้ง

ถ้าไม่มีปัญหาอะไร Google จบปลดคำเตือน ไซต์นี้อาจเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ของคุณ ออกจากเวป ภายในหนึ่งอาทิตย์โดยประมาณ

หมายเหตุ :
  • แก้เว็บติดไวรัส iframe gumblar.cn หรือ Martuz.cn คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อดูวิธีกำจัดไวรัส iframe
  • แก้เว็บติดไวรัส javascript km0ae9gr6m หรือ eval(function(p,a,c,k,e,r) คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อดูวิธีกำจัดไวรัส
  • เราไม่แนะนำให้นำ script โหลดเข้าโฮสของคุณเพื่อสแกนกำจัดไวรัส iframe เพราะถ้าแหล่งที่มาของ script นั้นไม่ชัดเจน มันเป็นเหมือนการเปิดช่องให้กับผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาแฮ๊คข้อมูลคุณ และ อาจจะปล่อย ไวรัส iframeที่ร้ายแรงกว่าลงในเว็บ(เพราะโครงสร้างทั้งหมดของเว็บได้ถูกบันทึกลงใน cookies ทำให้ง่ายแก่การโจมตีโดย ไวรัส iframe ชนิดใหม่ๆ)
     
เรียนรู้เกี่ยวกับมัลแวร์

ไวรัสและการโจมตีจากแฮกเกอร์เป็นปัญหาใหญ่ของผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ท่านจำเป็นต้องรู้วิธีปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์และข้อมูลส่วนตัวของท่านจากการผู้บุกรุก
 

มัลแวร์คืออะไร

มัลแวร์ หรือ Malicious Software คือ ซอฟท์แวร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแอบเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้ไม่ได้อนุญาต มัลแวร์มีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสคอมพิวเตอร์ หนอน โทรจัน สปายแวร์ และซอฟท์แวร์อื่นๆ ที่เป็นอันตราย 

ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่สามารถเพิ่มจำนวนได้เอง และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหา ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง เมื่อผู้ใช้ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต หรือไปกับซีดี ดีวีดี หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ USB 

หนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมอันตรายที่แตกต่างจากไวรัสอื่นๆ เพราะมันสามารถแพร่กระจายได้โดยอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่ายโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว หนอนคอมพิวเตอร์ถูกออกแบบมาให้เพิ่มจำนวนและแพร่กระจายได้เอง จึงทำให้โปรแกรมประเภทนี้ลุกลามได้อย่างรวดเร็ว หนอนคอมพิวเตอร์หลายชนิดอาจทำให้การ
ดาวน์โหลดและการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ช้ามาก เพราะโปรแกรมพวกนี้มักแทรกตัวเข้ามาพร้อมกันในปริมาณมากและส่งผลให้ระบบเครือข่ายถูกปิดกั้น 

โทรจัน เป็นมัลแวร์รูปแบบหนึ่งที่สามารถติดตั้งตัวเองได้อัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้น แฮกเกอร์จะใช้โปรแกรมดังกล่าวเพื่อเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น 

โทรจันมักซ่อนมาพร้อมกับซอฟท์แวร์หรือไฟล์ที่ผู้ใช้ตั้งใจดาวน์โหลดหรือติดตั้ง โทรจันมักแฝงมาพร้อมกับ
  • การดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือซอฟท์แวอร์แบบเพื่อนถึงเพื่อน (Peer-to-Peer) ทางอินเทอร์เน็ต
  • ซอฟท์แวร์ผิดกฎหมาย
  • ไฟล์ที่มากับอีเมล
  • ไฟล์ที่ส่งผ่านบริการข้อความออนไลน์หรือบริการพูดคุยผ่านอินเทอร์เน็ต


โทรจันช่วยให้แฮกเกอร์เข้าควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นผ่านระบบทางไกลและ

  • ขโมยข้อมูลจากไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต)
  • ดาวน์โหลดหรืออัพโหลดไฟล์ที่เป็นอันตรายอื่นๆ สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น
  • แก้ไขและลบไฟล์
  • บันทึกการใช้งานคีย์บอร์ด (เช่น บันทึกการกดปุ่มบนคีย์บอร์ดทั้งหมด จากนั้นจึงค้นหาข้อมูลประเภท
    พาสเวิร์ดของบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต)
  • ช่วยให้แฮกเกอร์มองเห็นหน้าจอของบุคคลอื่น ซึ่งทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงรหัสผ่านและชื่อผู้ใช้งาน ผ่านทางการใส่รหัสผ่านแบบคลิก
  • ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้
  • ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในการส่งข้อมูลโฆษณาอัตโนมัติ (Automated Spamming Campaign) หรือลงทะเบียนที่เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย (จึงไม่สามารถแกะรอยแฮกเกอร์ได้)


สปายแวร์ คือ ซอฟท์แวร์ที่แสดงโฆษณาหรือข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลลับ โดยเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เมื่อติดตั้งโปรแกรมใหม่ (ส่วนมากจะดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต) สปายแวร์จะแอบขโมยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ และสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงหรือมีปัญหาจนใช้งานไม่ได้ โปรแกรมเหล่านี้มักเปลี่ยนหน้าโฮมเพจหรือหน้าค้นหาข้อมูลของเว็บบราวเซอร์ด้วย

 

จะทราบได้อย่างไรว่ามีมัลแวร์ทำงานอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของท่านหรือไม่

  • เมื่อท่านอัพเดทซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัส ระบบจะเตือนว่าตรวจพบมัลแวร์
  • มีธุรกรรมแปลกปลอมเกิดขึ้นในบัญชีธนาคารของท่าน
  • มีการส่งสแปมเมล (Spam Email) ไปยังคนรู้จักที่มีรายชื่ออยู่ในสมุดรายชื่อ โดยเจ้าของบัญชีไม่ทราบเรื่อง
  • โปรแกรมและระบบคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ (ช้าผิดปกติ หรือเปิดหน้าต่างไม่ได้)
 

มัลแวร์แพร่กระจายอย่างไร

มัลแวร์แพร่กระจายในเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่าน
  • ไฟล์หรือไฮเปอร์ลิงก์ที่แนบมาในอีเมลลวง
  • ไฟล์หรือซอฟท์แวร์ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์
  • โปรแกรมที่แนบมากับข้อความที่ส่งมาจากบุคคลที่รู้จักในเครือข่ายสังคมออนไลน์
  • ซอฟท์แวร์ผิดกฎหมาย
  • ไฟล์ที่มีไวรัสในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ซีดี ดีวีดี หรือ USB drive
 

ท่านจะปกป้องตนเองจากมัลแวร์ได้อย่างไร

วิธีที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องตนเองจากการโจมตีของมัลแวร์ ได้แก่
  • ไม่เปิดไฟล์แนบที่มากับอีเมล หรือคลิกลิงก์ใดๆ ที่ส่งมาในอีเมลจากคนที่ไม่รู้จัก
  • ไม่ดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ที่ไม่รู้จักหรือไม่ได้มาตรฐาน
  • ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมที่ไม่น่าไว้ใจ หรือข้อความที่ส่งมาจากคนที่ไม่รู้จัก
  • ใช้ซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสที่มีลิขสิทธิ์และถูกกฎหมาย และมั่นใจว่าโปรแกรมจะมีการอัพเดทอย่างสม่ำเสมอ
  • อ่านข้อตกลงและประกาศเรื่องความเป็นส่วนตัว ก่อนติดตั้งซอฟท์แวร์ใดๆ ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน
  • สแกนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลเพื่อตรวจหามัลแวร์ก่อนการใช้งาน
 

ข้อแนะเมื่อท่านสงสัยว่ามีมัลแวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์

  • ไม่ตื่นตระหนก
  • ตรวจสอบว่าท่านได้อัพเดทซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องของท่านแล้ว
  • เปิดใช้เครื่องมือตรวจหาโทรจัน ไวรัสและหนอนคอมพิวเตอร์ในโปรแกรมป้องกันไวรัสของท่าน
  • ส่งรายงานไปยังผู้ผลิตซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสที่ท่านใช้ (การรายงานแบบนี้มักทำงานเองโดยอัตโนมัติ)
  • ตรวจสอบการตั้งค่าความปลอดภัยและระบบ ว่าเป็นไปตามการตั้งค่าของท่านหรือไม่ (แฮกเกอร์อาจแอบเข้ามาเปลี่ยนค่าดังกล่าว)
  • สแกนอีกครั้งและตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการทำความสะอาดอย่างสมบูรณ์แล้ว
  • ทำการตรวจสอบทุกวัน ไปอีก 7 วัน เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ปลอดภัยแล้ว
  • หากเครื่องคอมพิวเตอร์ยังคงมีปัญหาจากมัลแวร์อีก ควรนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

ที่มา  ธนาคารกรุงเทพ  bangkokbank.com  และ  kaamania.com