สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

การทำงานร่วมกันระหว่าง IP v.4 และ IP v.6

การทำงานร่วมกันระหว่าง IP v.4 และ IP v.6

ทั้งนี้หลังจากการปรับเปลี่ยนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเครือข่ายต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เป็น IPv6 ทั้งหมด เราสามารถทำการสื่อสารโดยใช้โพรโตคอล IPv6 โดยตรง ซึ่งเราเรียกการสื่อสารลักษณะนี้ว่า native IPv6  ปัจจุบัน ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสักวันหนึ่งอินเตอร์เน็ตจะต้องปรับ เปลี่ยนไปใช้ IPv6 แต่ความตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนได้เกิดขี้นช้ากว่าที่คาดหมายกันไว้สาเหตุ สำคัญ อาจเนื่องมาจากทัศนคติที่ว่า ตราบใดที่อินเตอร์เน็ตยังไม่คลาดแคลนไอพีแอดเดรส IPv6 ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยและยังไม่จำเป็นมาก  อย่างไรก็ตาม IPv6 เริ่มได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นเพราะผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต่างตระหนัก ดีว่าไม่ช้าก็เร็วปัญหาการขาดแคลนไอพีแอดเดรสจะต้องมาถึงและเมื่อถึงเวลา นั้นผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ นอกจากนั้น IPv6 ยังเป็นทางออกที่ถาวรทางเดียวในการแก้ปัญหานี้
ความต้องการสำคัญประการหนึ่งในการปรับเปลี่ยน (Transition) จากอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นที่ 4 ไปสู่รุ่นที่ 6 คือการทำงานร่วมกันได้ระหว่างโพรโตคอลทั้งสองชุด ความต้องการที่สองคือเพื่อให้ IPv6 โฮสต์และเราเตอร์ถูกนำมาใช้งานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและ แพร่หลาย ความต้องการลำดับที่สามคือการเปลี่ยนแปลงระหว่างทั้งสองโพรโตคอลสามารถเป็น ไปได้โดยง่ายที่สุดสำ -
หรับทั้งผู้ใช้ (End-User) ผู้ดูแลระบบ (System Administrators) และผู้รับผิดชอบระบบเครือข่าย (Network operators) ในการที่จะทำความเข้าใจและนำมาใช้งานได้สำเร็จในที่สุด  ปัจจุบัน กลไกการปรับเปลี่ยน (Transition mechanism) เข้าสู่ IPv6 ถูกอิมพลีเมนต์ทั้งในโฮสต์และเราเตอร์พร้อมทั้งคำแนะนำในการกำหนดค่าแอดเดรส และการติดตั้งทำให้การปรับเปลี่ยนไปยัง IPv6 เกิดความยุ่งยากน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 
กลไกการเปลี่ยนแปลง IPng  มีลักษณะสำคัญ ประกอบด้วย  การปรับปรุงและการใช้งานแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือเป็นการอัพเกรด IPv4 โฮสต์และเราเตอร์ซึ่งอาจเริ่มต้นกับเพียงส่วนหนึ่งของระบบ จากนั้นจึงขยายผล รวมถึงการติดตั้งระบบใหม่ที่สนับสนุน IPv6 ที่อาจจำเป็นต่อมาในภายหลังการอัพเกรดระบบเป็นไปโดยปราศจากการพึ่งพากับส่วน อื่น (Minimal upgrade depencies) ความต้องการเบื้องต้นสำหรับการอัพเกรดโฮสต์คือต้องอัพเกรด DNS เซิร์ฟเวอร์ก่อน ส่วนการอัพเกรดอุปกรณ์เราเตอร์ไม่มีความต้องการเบื้องต้นแต่อย่างใดการกำหนด แอดเดรสเป็นไปอย่างง่ายดาย ระบบเดิมภายหลังจากการอัพเกรดอาจใช้แอดเดรส IPv4 เดิมที่เคยติดตั้งไว้เพื่อทำงานได้ตามปกติค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นต่ำในการ ที่จะปรับเปลี่ยนระบบ IPv4 ที่มีอยู่ไปสู่ IPv6 ในส่วนของกลไกที่นำมาใช้ในการปรับเปลี่ยน  ได้แก่

  1. โครงสร้างแอดเดรสของ IPv6 ที่ฝั่ง IPv4 แอดเดรสเข้าไว้ใน IPv6 แอดเดรสรวมถึงการเข้ารหัสข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานของกลไกดังกล่าว
  2. เทคนิคของการ Encapsulate IPv6 แพ็กเก็ต ภายใน IPv4 เฮดเดอร์เพื่อส่งผ่านเซ็กเมนต์ (Segment)

ระหว่างต้นทางและปลายทางซึ่งยังไม่ได้อัพเกรดเป็น IPv6

       3. รูปแบบของการปรับเปลี่ยนใช้หลักการ Dual นั่นคือการอิมพลีเมนต์ทั้ง IPv4 และ IPv6 โพรโตคอลสแต็ก (Protocol stack)อย่างสมบูรณ์

       4.เทคนิคการแปลงเฮดเดอร์ (Header translation) เพื่อยอมให้การติดต่อระหว่างระบบที่มีสามารถใช้งานได้เพียง IPv4 และระบบที่สามารถใช้งานได้เพียง IPv6 เป็นไปได้ เทคนิคดังกล่าวอาจไม่จำเป็นหรืออาจถูกนำมาใช้ในช่วงสุดท้ายของระยะการปรับ เปลี่ยน

กลไกการปรับเปลี่ยนทั้งหลายจะทำให้มั่นใจได้ว่า IPv6 โฮสต์ สามารถทำงานร่วมกับ IPv4 โฮสต์ ได้ทุกที่บนอินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องแม้ว่า IPv4 แอดเดรสจะหมดไป เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเสียเปล่าต่อการลงทุนที่เคยเกิดขึ้นกับระบบ IPv4  การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปยังช่วยให้ผู้จำหน่ายโฮสต์และเราเตอร์ สามารถรวมเอาผลิตภัณฑ์ IPv6 ลงไปในชุดผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายของตนได้อย่างราบรื่น รวมถึงผู้ใช้งานและผู้ปฏิบัติการเครือข่ายให้สามารถทำการติดตั้งใช้งานตาม กำหนดการได้อย่างราบรื่น
ด้วยเช่นกัน

referrent: http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4928055/CO.html