สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

รู้จักการใช้งานเบื้องต้นของ vi editor

vi editor เรียกได้ว่าเป็น editor ที่นิยมของระบบ Linux และ Unix ผู้ใช้งานจำเป็นอย่างที่สุดที่จะต้องสามารถใช้งาน vi editor ได้อย่างคล่องแคล่ว ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ vi editor
เรียกใช้ vi editor
การเรียกใช้ vi editor ก็ง่ายๆให้พิมพ์ว่า vi ตามด้วยชื่อไฟล์
เช่น #vi name1.txt
จะเป็นการ edit ไฟล์ name1.txt (ถ้าไม่มีจะสร้างขึ้นใหม่เลย)
โหมดการทำงาน
มี 2 โหมดคือ
1. โหมด command – จะ save จะ quit จะค้นหาต้องอยู่ในโหมดนี้
2. โหมดการพิมพ์ – เมื่อทำการกด i หรือ a จะเข้าสู่โหมดนี้ ใช้แก้ไขข้อมูลในไฟล์
การสลับระหว่างโหมดให้ใช้ปุ่ม Esc ( คิดอะไรไม่ออกกด Esc ไว้ก่อน )
การกระทำการ (Operator)
เมื่ออยู่ในโหมด command เราสามารถใช้ปุ่มเหล่านี้กระทำการได้
  •  i = เพิ่มตัวอักษร (insert) เป็นการเข้าสู่โหมดการพิมพ์
  •  I = เพิ่มตัวอักษรต้นบรรทัด
  •  x = ลบตัวษรทีละ 1 ตัว
  • 10x = ลบตัวอักษร 10 ตัว
  • dw = ลบทั้งคำ
  • dd = ลบทั้งบรรทัด
  • 10dd = ลบ 10 บรรทัด
  • yy = yank หมายถึง Copy ทั้งบรรทัด
  • p = วาง (Paste) วางบรรทัดล่างจาก Cursor อยู่
  • P = วาง (Paste) วางแทรกบรรทัดปัจจุบัน
การจัดการเกี่ยวกับไฟล์
เมื่ออยู่ในโหมด command เราสามารถกระทำการเหล่านี้ได้ (ถ้าอยู่ในโหมดการพิมพ์ให้กด Esc ออกมาก่อน)
  •  :w = write (save) ไฟล ์
  •  :w ชื่อไฟล์ = write (save) ไฟล์ ด้วยชื่อที่กำหนด
  •  :wq = write (save) ไฟล์ และออกจาก vi (Quit)
  •  :wq! = write (save) ไฟล์ และออกจาก vi (Quit) ใช่กรณี read-only file
  •  :q! = ออกจาก vi โดยไม่ Save
  •  :set
         -  set nu = สั่งให้ vi แสดงหมายเลขบรรทัด
         -  set ic = สั่งให้เวลา Search ไม่ดูการค้น ตัวเล็ก ตัวใหญ่ ใด ๆ (Ignore Case)
         -  set nu ic สั่งให้ทำงานทั้ง 2 แบบ
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.webserverthai.com/linux/การใช้งาน-vi-editor/