สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

การคัดออกและการประเมินสารสนเทศ

การคัดออกทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง การคัดแยกหรือเคลื่อนย้ายทรัพยากรสารสนเทศ ไม่เหมาะสมในการจัดให้บริการตามเกณฑ์ที่กำหนด  ออกจากชั้นเปิดในพื้นที่บริการ โดยทรัพยากรสารสนเทศที่ถูกคัดออกนี้ อาจนำไปจัดเก็บมาใช้ได้หรือจำหน่ายออกไปจากห้องสมุดโดยหลังจากคัดออกแล้ว จะมีการดำเนินต่อเนื่องใน 2 ลักษณะคือ
            1.การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มที่คาดว่าอาจจะมีผู้ใช้บริการมาขอใช้อีกในอนาคต ในพื้นที่รองในอาคารหอสมุดหรือแยกไปจัดเก็บในสถานที่อื่นที่สามารถนำมาบริการใช้ได้อีกเมื่อมีผู้ต้องการใช้
            2.การดำเนินการจำหน่ายออกทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มที่ไม่สมควรจัดให้บริการอีกต่อไป
การพิจารณาเพื่อการคัดออกของห้องสมุดโดยทั่วไป นิยมใช้เกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาคัดออกทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งอาจนำมาจาก กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ มติ คำแนะนำ หรือแนวทางปฏิบัติของห้องสมุดมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดออก ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เริ่มพิจารณาคัดออกเนื่องจากสภาพภูมิทัศน์ของห้องสมุดมีพื้นที่จำกัด จำนวนทรัพยากรที่สั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บ หนังสือเก่าไม่ต้องกับเนื้อหาและหลักสูตรหรือไม่สอดคล้องกับวิธีสอนในปัจจุบัน สถิติการใช้น้อย เป็นฉบับซ้ำที่เกินความจำเป็น
ประโยชน์ของการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
  1. ทำให้ห้องสมุดมีจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่พอเหมาะ
  2. ทำให้มีเนื้อที่ห้องสมุดเพิ่มขึ้น
  3. ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้สะดวกและรวดเร็ว
  4. ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศที่ยังคงไว้ในห้องสมุดมีเนื้อหาที่ทันสมัยถูกต้องและน่าเชื่อถือ
  5. ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศมีสภาพที่ดี
  6. ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
หลักเบื้องต้นการคัดออกทรัพยากรสารสนเทศ มีดังนี้
  1. มีสภาพชำรุดไม่สามารถซ่อมแซมได้ แต่มีสถิติกรใช้มากหรือใช้อย่างต่อเนื่อง ห้องสมุดจัดหาชื่อเรื่องที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันมาให้บริการทดแทนเล่มที่ชำรุด
  2.  เป็นฉบับซ้ำที่เกินจำนวนจำเป็น
  3.  มีเนื้อหาทีถูกยกเลิก ไม่ถูกต้องหรือมีการเปลี่ยนแปลง
  4.  มีสถิติการใช้น้อยมากถึงไม่มีการใช้เลยในช่วงเวลาที่กำหนด
  5.  มีลักษณะทางกายภาพไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน เช่น มีหน้าทีฉีกขาด เปื้อน สกปรก ปกขาด กระดาษเหลืองกรอบ การจัดพิมพ์ไม่ดี การเรียบเรียงเนื้อหาไม่ต้อง
เกณฑ์ด้านอื่นๆ ยังอาจพิจารณารายละเอียดประกอบเป็นเกณฑ์ในการคัดออกหนังสือด้วย โดยอาจพิจารณาร่วมกันเกณฑ์เชิงปริมาณ เช่น ปี่ที่พิมพ์และอายุของทรัพยากรฯ มีดังนี้
  • หนังสือที่มีอายุเกินกว่า 20 ปี
  • หนังสือตำราทางวิชาการที่มีอายุเกินกว่า 10 ปี
  • สารานุกรมที่มีอายุเกินกว่า 10 ปี
  • บรรณานุกรมที่มีอายุเกินกว่า 10 ปี
  • คู่มือซื้อขายที่มีอายุเกินกว่า 2 ปี
  • หนังสือรายปีที่มีอายุเกินกว่า 2 ปีแต่ให้เก็บฉบับล่าสุดไว้อย่างน้อย 5 ปี
  • นามานุกรมที่มีฉบับใหม่ทดแทนแล้ว ควรเก็บฉบับเก่าอีก 3-4 ปี
  •   การคัดออกสื่อต่อเนื่อง อาทิ วารสาร นิตยสาร ครอบคลุมการคัดออกสื่อต่อเนื่องที่จัดให้บริการแล้วและยุติการบอกรับชื่อเรื่องดังกล่าว
            วารสารที่ไม่มีดรรชนีวารสาร
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ออกไม่สม่ำเสมอ
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ไม่ครบชุด
เกณฑ์คัดออกสื่อโสตทัศน์ ส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์เบื้องต้นด้วยสภาพอายุการใช้งาน และเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเครื่องเล่น/เครื่องฉาย
            สื่อโสตทัศน์ที่ใช้เทคโนโลยีล้าสมัย เช่น เทป เทปวีดีทัศน์แบบยู เมติก
            สื่อโสตทัศน์ที่หมดอายุใช้งาน
            สื่อโสตทัศน์ที่เสื่อมสภาพ เป็นเชื้อรา
            แผ่นซีดี วีดีทัศน์มีรอยถูกขูดขีด
            แถบวีดีทัศน์ที่เสื่อมคุณภาพจนไม่สามารถใช้งานได้
เกณฑ์การคัดออกสื่ออิเล็กทรอนิกส์
            โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีคู่มือการใช้งานและมีอายุมากกว่า 7 ปี
            โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ล้าสมัย มีเวอร์ชั่นใหม่มาแทนที่แล้ว
ขั้นตอนการพิจารณาและดำเนินการ
  1. การสำรวจทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
  2. การประชุมปรึกษาหารือร่วมกับกลุ่มบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก
  3. ดำเนินการแยกทรัพยากรสารสนเทศที่คัดออก
  4. การจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศออก
  5. จัดทำสถิติการคัดทรัพยากรสารสนเทศออก

ขี้นตอนการจัดเก็บหนังสือในฐานระบบข้อมูลในโปรแกรม Walai Autolib
 

แผนผังการดำเนินงาน








 
แนบไฟล์เอกสาร: 
AttachmentSize
Image icon สิ่งพิมพ์1.jpg129.56 KB
ประเภทบทความ: