
ประเภทของไฟล์มีไว้เพื่อจำแนกหน้าที่และรูปแบบของไฟล์ เพื่อให้เราทราบได้ว่าไฟล์นั้นๆ มีหน้าที่อะไร ใช้ทำอะไร แต่ในที่นี้ ทางเรา จะแนะนำเฉพาะไฟล์ใช้ควบคู่กับการทำงานกราฟฟิคเท่านั้น
ประเภทของไฟล์กราฟฟิคมี 2 ประเภท คือ
1. ไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster baseded หรือ Bitmap
2. ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based
1. ไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster baseded หรือ Bitmap
2. ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based
ภาพตัวอย่างของกราฟฟิคไฟล์ทั้งสองประเภท

ภาพขยายใหญ่ในแบบ raster หรือ Bitmap สังเกตุได้ว่าภาพจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เพราะ ว่าภาพเกิดขึ้นจาก จุดเล็กๆ มาเรียงกัน

ภาพขยายใหญ่ในแบบ vector ภาพยังเฉียบคมแม้จะขยายเป็นพันๆ พันเท่า (โปรดสังเกต : ขนาดขยายใหญ่กว่า)
|
|
|
|
คุณสมบัติและข้อดี, ข้อเสียไฟล์กราฟฟิคประเภท Raster based หรือ Bitmap
|
ไฟล์
|
คุณสมบัติของไฟล์
|
ลักษณะการใช้งาน
|
BMP
|
สามารถบันทึกภาพชนิดขาวดำแบบ 16 สี และภาพสีขนาด 24 บิท (True color) ได้ | สามารถเก็บองค์ประกอบของรูปได้ครบ |
ขนาดของไฟล์ใหญ่ | ||
PCX
|
บันทึกได้ตั้งแต่ภาพชนิดขาวดำแบบ 16 สี, ภาพขาวดำ 256 ระดับ (Grayscales), ภาพสีแบบ 16, 256 และ 16.7ล้านสีได้ |
-
|
-
|
||
TIFF
|
บันทึกภาพได้หลายชนิดทั้งภาพลายเส้น (Line-Art), ภาพ halftone, ภาพ grayscale และภาพสีตั้งแต่ 1 บิทจนถึง ภาพสี 32 บิท | สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายชนิดและบันทึกระดับสีได้สูง และมีการบีบอัดข้อมูล เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการบันทึกได้ |
มีหลายเวอร์ชั่น ซึ่งต้องระวังในเซฟเพื่อใช้งานกับ โปรแกรมประยุกต์รุ่นเก่าๆ | ||
GIF
|
เก็บข้อมูลภาพในลักษณะ 8 bit (256 สี) สามารถเก็บภาพไว้ได้หลายภาพในไฟล์เดียว จึงสามารถทำภาพเคลื่อนไหวได้, มีการบีบอัดข้อมูลแบบ LZW (Lamp Ziv-Welch), | นิยมใช้งานในอินเตอร์เนต มีความสามารถพิเศษมาก เช่น การทำภาพโปร่งใส (Transparent), สามารถรอรับอินพุทจากผู้ใช้เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวภาพ, การใส่คอมเมนท์เพื่อการอ้างอิง |
เก็บสีได้เพียง 256 สี (สีโปร่งใส หรือ Transparent ก็นับเป็น 1 สี) และไม่เหมาะที่จะเซฟไฟล์รูปขนาดใหญ่ๆ เพราะจะมีขนาดใหญ่มาก | ||
JPG
|
เก็บข้อมูลภาพในลักษณะของการบีบอัดข้อมูล สามารถเก็บภาพสีได้สูงถึง 16.7 ล้านสี | เหมาะสำหรับการใช้งานบนอินเตอร์เนต เพราะมีขนาดเล็กสามารถโหลดได้รวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดของภาพสูง |
คุณภาพของรูปจะลดลงเมื่อบีบอัดไฟล์ จึงไม่เหมาะแก่การนำมาแก้ไขตบแต่ง | ||
PICT
|
ไม่ทราบข้อมูล แต่มีความสามารถใกล้เคียงกับไฟล์ BMP | สามารถเก็บองค์ประกอบของรูปได้ครบ |
เป็นไฟล์ของ Mac OS และไม่สามารถเซฟในโหมด CMYK เพื่อนำมาใช้งานด้านการพิมพ์ได้ | ||
PSD
|
สามารถบันทึกข้อมูลภาพ ได้ทุกรูปแบบ | มีการแบ่งเลเยอร์ เพื่อง่ายแก่การแก้ไข ในภายหลัง และสามารถบันทึกกราฟฟิคแบบ Vector ลงในไฟล์ได้ |
มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ | ||
PNG
|
ยังไม่มีข้อมูล |
-
|
-
|
||
PDF
|
ยังไม่มีข้อมูล | สามารถเซฟไฟล์กราฟฟิค ทุกประเภทให้เป็น PDF ได้ (โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat) โดยยังคงลักษณะเดิมของเอกสารไว้ ไม่ว่าจะเปิดที่ใด |
ต้องอ่านไฟล์ชนิดนี้ด้วย โปรแกรม Adobe Acrobat Reader เท่านั้น |
2) ไฟล์กราฟฟิคประเภท Vector based
Vector เป็นภาพประเภท Resolution-Independent มีลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณเป็นตัวสร้างภาพ เป็นการรวมเอา Object ( เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic หรือ Object Oriented
ลักษณะเด่นของ Vector คือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง คงคุณภาพของภาพไว้ได้เหมือนเดิม และยังสามารถขยายเฉพาะความกว้างหรือความสูง เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพผอมหรืออ้วนกว่าภาพเดิมได้ด้วย และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap ภาพแบบ Vector จึงเหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration

ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล . EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรมประเภทวาดรูป ( Drawing Program) เช่น CorelDraw หรือ AutoCAD เป็นโปรแกรมสร้าง ขณะที่บนแมคอินทอชใช้ Illustrator และ Freehand
ในกรณีที่โปรแกรมที่ใช้งานอยู่ไม่สามารถอ่านไฟล์แบบ Vector ต้นฉบับได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ บันทึกไฟล์เป็นนามสกุล . EPS (Encapsulated Postscript) ไฟล์ประเภทนี้สร้างขึ้นจาก Vector ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติเป็นแบบ Vector นอกจากนี้เราสามารถบันทึกไฟล์ Bitmap ให้เป็นแบบ EPS ได้ เนื่องจากโปรแกรมกราฟิกทุกประเภทล้วนสนับสนุน ไฟล์แบบ EPS ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์แสดงผล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix หรือ Laser รวมทั้งจอภาพ จะแสดงผลแบบ Raster Devices หรือแสดงผลในรูปของ Bitmap โดยอาศัยการรวมกันของ Pixel ออกมาเป็นรูป แม้ว่าภาพกราฟิกที่สร้างจะเป็นแบบ Vector เมื่อจะพิมพ์หรือแสดงภาพบนหน้าจอจะมีการเปลี่ยนเป็นการแสดงผลแบบ Bitmap หรือเป็น Pixel

|
|||||||||||
|

|
|||||||||||
|
ที่มา :
http://www.gunang.com/index.php?option=com_content&view=article&id=57&Itemid=60
http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1201372/page03_01.html