
- รูปทรง (Form)
เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการถ่ายภาพ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นรายละเอียดในลักษณะ 3 มิติ คือ ความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก
เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการถ่ายภาพ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นรายละเอียดในลักษณะ 3 มิติ คือ ความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก


- รูปร่าง (Shape)
เป็นการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดี นิยมถ่ายภาพในลักษณะย้อนแสง ข้อควรระวังในการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้นหมดความงามไป
เป็นการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดี นิยมถ่ายภาพในลักษณะย้อนแสง ข้อควรระวังในการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้นหมดความงามไป


- รูปแบบ (Pattern)
เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่ม เพื่อเน้นรูปแบบซ้ำซ้อน ทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา
เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่ม เพื่อเน้นรูปแบบซ้ำซ้อน ทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา


- พื้นผิว (Texture)
ลักษณะพื้นผิวของวัตถุมีอยู่มากมายหลายชนิด ให้ความรู้สึกสวยงามและเร้าอารมณ์ได้ต่างกัน เช่น ผิวของแก้ว ผิวของพื้นทราย ผิวของลายไม้ ผิวรอยเหี่ยวย่นของใบหน้า เป็นต้น การรู้จักเลือกลักษณะพื้นผิวประกอบในภาพให้เหมาะสม เช่น การจัดวัตถุผิวเรียบบนพื้นผิวที่ขรุขระ จะทำให้ภาพมีลักษณะที่ตัดกันมองเห็นวัตถุที่ผิวเรียบได้เด่นชัดขึ้น
ลักษณะพื้นผิวของวัตถุมีอยู่มากมายหลายชนิด ให้ความรู้สึกสวยงามและเร้าอารมณ์ได้ต่างกัน เช่น ผิวของแก้ว ผิวของพื้นทราย ผิวของลายไม้ ผิวรอยเหี่ยวย่นของใบหน้า เป็นต้น การรู้จักเลือกลักษณะพื้นผิวประกอบในภาพให้เหมาะสม เช่น การจัดวัตถุผิวเรียบบนพื้นผิวที่ขรุขระ จะทำให้ภาพมีลักษณะที่ตัดกันมองเห็นวัตถุที่ผิวเรียบได้เด่นชัดขึ้น


- ความสมดุลแบบปกติ (Formal Balance)
เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุลย์ นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว
เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุลย์ นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว


- ความสมดุลแบบไม่ปกติ (Informal Balance)
การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลย์ได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี รูปทรง ท่าทาง ฉากหน้า ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนใจและแปลกตากว่าแบบสมดุลย์ที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะน้อยกว่า
การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลย์ได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี รูปทรง ท่าทาง ฉากหน้า ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนใจและแปลกตากว่าแบบสมดุลย์ที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะน้อยกว่า


- กรอบ (Frame)
แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ
แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ


- ช่องว่าง (Space)
เป็นการจัดพื้นที่ตำแหน่งของจุดสนใจในภาพให้มีความเหมาะสม เช่น แบบหันหน้าไปทางใดหรือเคลื่อนที่ไปทางใดก็ควรเว้นช่องว่างทางด้านนั้นให้มากกว่าอีกด้าน ซึ่งหากจัดไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด แคบ เกิดขึ้นกับภาพได้
เป็นการจัดพื้นที่ตำแหน่งของจุดสนใจในภาพให้มีความเหมาะสม เช่น แบบหันหน้าไปทางใดหรือเคลื่อนที่ไปทางใดก็ควรเว้นช่องว่างทางด้านนั้นให้มากกว่าอีกด้าน ซึ่งหากจัดไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด แคบ เกิดขึ้นกับภาพได้


- น้ำหนักสี (Tone) วัตถุสิ่งของต่างๆ ในธรรมชาติจะมีน้ำหนักสี ค่าความเข้ม สว่าง ต่างๆ กัน ช่วยให้เกิดลักษณะความลึกของภาพ เช่น ทิวเขาที่สลับซับซ้อนกัน ที่อยู่ใกล้จะมีสีเข้ม ที่อยู่ไกลจะมีสีอ่อนลักษณะของภาพส่วนใหญ่ที่มีสีสว่างสดใส เรียกว่าภาพ High Key ให้ความรู้สึกอ่อนหวาน นุ่มนวล ส่วนลักษณะของภาพส่วนใหญ่ที่มีสีเข้ม มีเงามืด เรียกว่าภาพ Low Key ให้ความรู้สึกเข้มแข็ง ลึกลับ
ฉากหน้า ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป ข้อควรระวังคืออย่าให้ฉากหน้าเด่นจนแย่งความสนใจจากสิ่งที่ต้องการเน้น จะทำให้ภาพลดความงามลง
ฉากหลัง พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการ เน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป


- เส้น (Line)
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการจัดองค์ประกอบของภาพ สามารถบอกลักษณะโครงสร้างของภาพ เป็นตัวนำไปสู่จุดเด่น หรือจุดสนใจของภาพถ่าย เชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ในภาพ ให้ความรู้สึกต่างๆ เช่น มั่นคง นิ่งสงบ เคลื่อนไหว อ่อนช้อย เป็นต้น
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการจัดองค์ประกอบของภาพ สามารถบอกลักษณะโครงสร้างของภาพ เป็นตัวนำไปสู่จุดเด่น หรือจุดสนใจของภาพถ่าย เชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ในภาพ ให้ความรู้สึกต่างๆ เช่น มั่นคง นิ่งสงบ เคลื่อนไหว อ่อนช้อย เป็นต้น


- ความลึก (Perspective)
เป็นการใช้เส้นให้นำสายตาไปสู่จุดสนใจ เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปยังวัตถุที่เป็นจุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น
เป็นการใช้เส้นให้นำสายตาไปสู่จุดสนใจ เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปยังวัตถุที่เป็นจุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น


THE GOLDEN MEAN
เวลาถ่ายภาพสิ่งหนึ่งที่เราภาพพยายามทำก็คือ การทำให้ภาพนั้นมีความน่าสนใจและเทคนิคง่ายๆ ในหัวข้อแรกที่ควรรู้ก็คือ “การจัดองค์ประกอบ”
การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean
การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean
golden mean คือสัดส่วน (ratio) 1:1.6180339.. ซึ่งดูเหมือนกับอัตราส่วนของระบบฟิลม์ 35 มม.
(24x36มม. = 5:7.5) สูตรเรขาคณิตนี้ ถูกคิดให้สอดคล้องกับ golden mean โดยเป็นหลักแนวทางสำหรับศิลปินมากมาย และเป็นแนวทางสำหรับช่างภาพสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
Golden Spiral แบ่งภาพทีละ 1:1.618 ของด้านยาว แล้วลากจุดตัด เป็นเส้นโค้ง
Golden Triangle แบ่งเป็นสามเหลี่ยม 3 อัน (แบ่งโดยใช้อัตราส่วน 1:1.618 )
RULE OF THE THIRDS (กฏสามส่วน)
การถ่ายภาพโดยวางวัตถุอยู่ตรงกึ่งกลางภาพจะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ ดังนั้นเราจึงนำแนวคิดของกฏสามส่วนมาใช้จัดวางองค์ประกอบภาพ เพื่อทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจมากขึ้น
การถ่ายภาพโดยวางวัตถุอยู่ตรงกึ่งกลางภาพจะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ ดังนั้นเราจึงนำแนวคิดของกฏสามส่วนมาใช้จัดวางองค์ประกอบภาพ เพื่อทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจมากขึ้น
ตัวอย่างการใช้กฏสามส่วน แบ่งสัดส่วนพื้นที่ 1:3 และ 2:3 ของขนาดภาพ
ตัวอย่างการใช้ กฏสามส่วน โดยนำจุดสนใจของภาพไปวางบริเวณจุดตัด
ตัวอย่าง Golden Triangle
ตัวอย่าง Golden Spiral
ที่มา
http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04091202/photo/com.html
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/96419?