สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

หลักกการและขั้นตอนการออกแบบ


      ในการออกแบบนอกจากจะต้องมีความชัดเจน ยังต้องตอบสนองจุดประสงค์อันเกี่ยวข้องกับความสวยงาม อันที่จะสร้างความอยากเห็น อยากรู้ ความรู้สึกตื่นเต้น ตลกขบขัน หรือสร้างความพิศวง หลักการออกแบบ ควรจะต้องคำนึงถึง
  • ความมีเอกภาพ
  • ความกลมกลืน
  • ความมีสัดส่วนที่สวยงาม
  • ความมีสมดุล
  • ความมีจุดเด่น

 องค์ประกอบในการออกแบบงานกราฟิก

 1. ตัวอักษรและตัวพิมพ์
ตัวอักษรทำหน้าที่เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดของข้อมูล สาระที่ต้องการนำเสนอ ด้วยรูปแบบและการจัดวางตำแหน่งอย่างสวยงาม มีความชัดเจน การออกแบบ การเลือกแบบ ตลอดจนการกำหนดรูปแบบของตัวอักษรที่จะนำมาใช้ ต้องมีลักษณะเด่น อ่านง่าย สวยงาม น่าสนใจ ลักษณะที่แตกต่างกันของตัวอักษรจึงถูกกำหนดตามสภาวะการนำไปใช้ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่

 

ส่วนที่ 1 เป็นหัวเรื่องหรือชื่อสินค้า ชื่อหัวข่าวหรือข้อความพาดหัว หรือข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ส่วนนี้จะเน้นความโดดเด่นของรูปแบบมากที่สุด เราเรียกรูปแบบอักษรกลุ่มนี้ว่า เป็นแบบ Display Face

ส่วนที่ 2 คือส่วนข้อความที่แสดงเนื้อหารายละเอียดต่างๆ นิยมใช้ตัวอักษรที่เรียกว่า แบบ  Book Face หรือText ซึ่งมีรูปแบบที่เรียบง่าย สะดวกในการอ่านมากที่สุด


                          
ในการเลือกใช้ตัวอักษรแบบใดเกี่ยวกับงานที่ออกแบบ ผู้ออกแบบควรได้พิจารณาสิ่งต่อไปนี้
                
                 
                 

 2. ภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพ
    ภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพที่ต้องการเน้นให้เกิดคุณค่าทางความงาม จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบ เพื่อวางแนวทางในการนำเสนอแนวคิดให้เป็นรูปธรรมตามความคิด พร้อมกับการออกแบบจัดงานเพื่อต้องการให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารมากที่สุด วัตถุประสงค์ของการนำเอาภาพมาใช้ประกอบในงานกราฟิกมีดังนี้

       1. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างบุคลิกของงาน ทำให้ผู้ดูหรือผู้อ่านได้รับรู้และยอมรับในรูปแบบลักษณะเด่นเฉพาะ และส่วนประกอบต่างๆ ในงานนั้นๆ
  
     2. เพื่อสร้างความสวยงามทางศิลปะของงาน ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและการนำเสนอภาพมุ่งที่จะใช้ภาพเพื่อการเสนอเนื้อหา และเน้นการสร้างคุณค่าทางด้านความสวยงาม และเป็นการพัฒนาความคิด ความรู้สึกตลอดจนการก่อนให้เกิดความงอกงามทางด้านจิตใจ
        
3. เพื่อดึงดูดความสนใจแก่ผู้พบเห็นและกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบภาพ การจัดวางเนื้อหาภายในภาพ ตลอดจนสีสันที่ปรากฏจะเป็นส่วนกระตุ้นให้เกิดความสนใจในสื่อนั้นๆ
        
4. เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลเกิดความง่ายในการจดจำรูปภาพและแนวทางการออกแบบนั้นจะทำให้เกิดความชัดเจนของเนื้อหาสาระมากยิ่งขึ้น ภาพจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น บุคลิกของการออกแบบจะช่วยเน้นความทรงจำได้ดียิ่งขึ้น
        
5. เพื่อปิดบังความด้อยในคุณภาพของงาน อาจจะเป็นเหตุผลของความจำกัดในด้านงบประมาณหรือความจำกัดของวัสดุที่มีอยู่ จะเป็นเหตุผลในงานนั้นด้อยความสนใจลงไปบ้างรูปภาพและการออกแบบที่ดีจะช่วยดึงความสนใจและลดความสนใจในจุดบกพร่องไปได้
        6. เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการสื่อความหมาย การออกแบบและการใช้ภาพที่เหมาะสมจะช่วยให้
การสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์และเข้าใจง่าย ใช้เวลาน้อย และเพิ่มความชัดเจนของสาระ
ได้มากขึ้น
         แม้ว่าภาพประกอบจะทำหน้าที่หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการสนองตอบแนวความคิดของผู้ออกแบบหรือสร้างสรรค์ความสวยงาม หรือการนำไปเป็นประโยชน์ในการใช้สอยต้องระลึกไว้เสมอว่างานออกแบบที่ดีควรนำภาพมาใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและหน้าที่คือ       

  • เมื่อต้องการดึงดูดความสนใจ
  • เมื่อต้องการใช้การประกอบการอธิบายความรู้
  • เมื่อต้องการอ้างอิงสิ่งที่ปรากฏจริง
  • เมื่อต้องการอธิบายความคิดรวบยอด
  • เมื่อต้องใช้ใช้ประกอบข้อมูลทางสถิติ

    ที่มา : 
    http://202.44.14.12/vcsc/web%20Graphic%20Design/Step_of_design_3_4.html