สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์

 ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ 
     ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์มีอยู่ด้วยกัน 4 ระบบได้แก่
  1. ระบบ NTSC (National Televion Standards Committee)
  2. ระบบ PAL (Phase Alternation Line)
  3. ระบบ SECAM (SEQuentiel A Memoire("memory sequential")
  4. ระบบ HDTV (High-definition television)  
 
 NTSC 
        เป็นระบบโทรทัศน์สีระบบแรกที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปีค.ศ.1953 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เปอเตอริโก้ และเม็กซิโก เป็นต้น

    ข้อดี
  •   สามารถมองเห็นภาพได้ 30 ภาพ / วินาที ทำให้การสั่นไหวของภาพลดน้อยลง  

    ข้อเสีย

  •     ส่วนข้อเสีย นั้นเกิดจากการที่เส้นสแกนภาพมีจำนวนน้อย หากใช้จอภาพเครื่องรับ โทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่รับภาพจะทำให้รายละเอียดภาพมีน้อย ดังนั้นภาพจึงขาด ความคมชัดและถ้าใช้เครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำ สัญญาณสีที่ความถี่ 3.58 MHz จะเกิดการรบกวนสัญญาณขาว-ดำ ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของสี
  PAL  
        เป็นระบบโทรทัศน์ที่พัฒนามาจากระบบ NTSC ทำให้มีการเพี้ยนของสีน้อยลง เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 ในประเทศทางแถบยุโรป คือ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และมีหลายประเทศในแถบเอเซียที่ใช้กันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้

ข้อดี

  • เป็นระบบที่ให้รายละเอียดของภาพสูง ไม่มีความผิดเพี้ยนของสี ภาพที่ได้เป็นธรรมชาติ ความเข้มของภาพสูง (High Contrast)

ข้อเสีย

  • ข้อเสียคือภาพที่มองเห็นมีความสั่นไหวมากกว่าระบบ NTSC เนื่องจากภาพที่มองเห็น 25 ภาพ/วินาที
  SECAM  
   เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก ได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย* เป็นต้น *ระบบ SECAM ที่รัสเซียใช้มี 625 เส้น

ข้อดี

  • เป็นระบบที่ไม่มีความผิดเพี้ยนของสี รายละเอียดของภาพมีคุณภาพสูงเทียบเท่ากันระบบ PAL ข้อเสีย

ข้อเสีย

  • ภาพจะมีการสั่นไหวเหมือนระบบ PAL
  • เกิดมีสีรบกวนในขณะรับชมรายการได้

       ระบบโทรทัศน์สีที่ใช้งานทั่วโลก ในระบบแอนะล็อกยังมีการแบ่งย่อยจากระบบใหญ่ๆ ทั้ง 3 ระบบดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อความเหมาะสมของกระแสไฟฟ้าที่แต่ละประเทศใข้งาน และความเหมาะสม กับประเทศที่ใช้งานกำหนดโดยสหภาพวิทยุโทรคมนาคม (ITU) เช่นกระแสไฟฟ้า 60 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 60 Hz และกระแสไฟฟ้า 50 Hz จะใช้ระบบสัญญาณโทรทัศน์สี Field frequency 50 Hz ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่ใช้รบกวนสัญญาณภาพ

       ระบบสัญญาณโทรทัศน์สีที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีคุณภาพสัญญาณที่ดีไม่พบข้อเสีย ดังนั้นในการพิจารณาใช้งานระบบใดระบบหนึ่งก็อาจมีสาเหตุ มาจากเหตุผลอื่นๆ เช่น เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนในการผลิต และการใช้เครื่องรับโทรทัศน์เป็นจำนวนมากแล้วถ้าหากจะเปลี่ยนระบบอาจต้องลงทุนสูง เหตุผลทางด้านการเมือง อาจได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจให้ใช้ระบบใดระบบหนึ่ง

      บทสรุป สัญญาณโทรทัศน์สีในระบบต่างๆที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีหลักการออกแบบคล้ายกัน คือ การส่งโทรทัศน์สีจะต้องทำให้เครื่อรับโทรทัศน์ขาว-ดำและเครื่องรับโทรทัศน์สีรับสัญญาณได้ โดยสัญญาณที่ส่งออกอากาศจะต้องเป็นสัญญาณเดียวกัน ส่วนคุณภาพของภาพโทรทัศน์นั้นขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางเทคนิคการกำหนดภาพที่เหมาะสมมี 2 ระบบหลักคือ 25 ภาพ/วินาที และ 30 ภาพ/วินาที สัญญาณโทรทัศน์สีในระบบแอนะล็อกนี้จะถูกเปลี่ยนเข้ารหัสเป็นระบบดิจิทัล ก่อนที่จะส่งเป็นสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัล 

  HDTV (High-definition television)   

      โทรทัศน์ความละเอียดสูง เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ที่มีความละเอียดของภาพมากกว่าสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (NTSC, SÉCAM, PAL) สัญญาณจะถูกแพร่ภาพในระบบโทรทัศน์ระบบดิจิทัล การถ่ายทอดสัญญาณภาพ HD เกิดขึ้นครั้งแรกของโลกในช่วงปี ค.ศ.1980 สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศระบบ HD แห่งแรกของโลกคือสถานีโทรทัศน์ NBC ของสหรัฐอเมริกา จากนั้นเริ่มแพร่หลายไปใน ยุโรป ช่วงยุคปี ค.ศ.1992 ในปัจจุบันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมามีข้อบังคับอยู่ว่าโทรทัศน์ที่ถูกผลิตหลังจากนี้เป็นต้นไปจะต้องมีตัวรับสัญญาณแบบ HDTV อยู่ในตัวด้วย และสัดส่วนเป็น 16:9 ทั้งหมด

        ประเทศไทยกับระบบเอชดีเริ่มทดลองเป็นครั้งแรกงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดย ทรูวิชั่นส์ และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2553 ไทยเป็นประเทศที่สามของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบเอชดี สำหรับโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั้นยังไม่มีการออกอากาศระบบเอชดี เพราะต้องรอกสทช. อนุญาตในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลเสียก่อน

  • ทรูวิชั่นส์ ได้ออกอากาศด้วยระบบ HD อย่างเป็นทางการเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2553 ในระบบดาวเทียม เครือข่ายไทยคม 5 ระบบ Ku-Band ด้วยเทคโนโลยี โทรทัศน์ระบบดิจิทัล DVB-S2 แบบ MPEG-2/HD และในระบบเคเบิลทีวีระบบดิจิทัล DVB-C2 โดยเริ่มแรกที่เปิดให้บริการมี 3 ช่อง HD คือ True Sport HD, HBO HD และ True Reality HD และในปีช่วงกลางปี พ.ศ. 2554 ได้เพิ่มช่อง HD อีก 8 ช่อง คือ True Sport HD2, National Geographic Channel HD, Discovery HD World, Star Movies HD, Fox Family Movies HD, AXN HD, KMTV HD และ I Concerts HD โดยผู้รับต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ที่รองรับระบบ HD
  • ทรีบรอดแบนด์ ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีบริการ 3BB HDTV แบบบอกรับเป็นสมาชิกบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ลูกค้า โดยสามารถต่อ อุปกรณ์ Set Top Box เข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ที่รองรับเพื่อรับชมรายการต่างๆ ซึ่งถือเป็น HDTV ด้วยเทคโนโลยี โทรทัศน์ระบบดิจิทัล ไอพีทีวี
ที่มา
http://www.guycomputer.com/mean/picturefile.htm 
http://www.yupparaj.ac.th/CAI/graphic/type.html 
http://www.ceted.org/cet_media/detail.php?mode=Knowledge&pid=185 
http://forum.thaidvd.net/lofiversion/index.php/t814-1100.html