สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

มาทำความรู้จักกับโปรแกรม Affer Effects

After Effect เป็นโปรแกรมที่ใส่ Effect ให้กับ ภาพยนตร์ ในขั้นตอนการตัดต่อ ไฟล์ที่นำเข้ามาใช้ในโปรแกรมนี้ได้เกือบทุกชนิดได้ทั้งภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ไฟล์เสียง ยิ่งถ้าเป็นการทำมาจากโปรแกรม 3d แล้วมาทำต่อที่ After Effect จะทำให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยที่สามารถจะนำไฟล์ทั้งหลายเหล่านี้มาใช้งานร่วมกัน  เพื่อให้ได้งานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวชิ้นใหม่ออกมาจากโปรแกรม  After  Effects อย่างสมบูรณ์

หนังสือเล่มนี้เหมาะสมสำหรับผู้ที่สร้างงาน ด้วยโปรแกรม  After  Effects  เช่น   วิธีการลงโปรแกรม   เครื่องมือพื้นฐาน   ขั้นตอนการทำงาน    ทำ Title ให้ค่อยๆโผล่เหมือนเรากำลังวาด   การทำตัวหนังสือให้อยู่ในกรอบ     การทำ  effect  ระเบิดบึ้ม       การทำดาบสตาเวอ  ซึ่งเนื้อหาจะอธิบายในรูปแบบ Workshop เป็นหลักเพื่อนำเสนอในการสร้างชิ้นงาน และสามารถนำไปใช้ได้จริง

สุดท้ายนี้หวังว่าหนังสือเล่มนี้มีส่วนช่วยใน การพัฒนาความรู้และทักษะในการสร้างชิ้นงาน ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ไปใช้ในการฝึกฝนเพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างงาน Effect ระดับมืออาชีพ

Chapter 1

      โปรแกรม After Effect เป็นโปรแกรมสำหรับงานทางด้าน Video Compost  หรืองานซ้อนภาพวีดีโอ รวมถึงงานทางด้านการตกแต่ง หรือเพิ่มเติม Effect พิเศษให้กับภาพ โปรแกรม After Effect  ก็คือ โปรแกรม Photoshop  เพียงแต่เปลี่ยนจากการทำงานภาพนิ่งมาเป็นภาพเคลื่อนไหว ผู้ที่มีพื้นทางด้านการใช้งานโปรแกรม Photoshop  มาก่อน  ก็จะสามารถใช้งานโปรแกรม After Effect ได้ง่ายมากขึ้น  โดยใช้โปรแกรม Adobe After Effect ซึ่งเป็นโปรแกรมยอดนิยมทางด้าน Motion Graphic ใช้ในธุรกิจการตัดต่อภาพยนตร์ งานโทรทัศน์ การสร้าง Project การใช้ Transition , Effect และ Plug in ต่างๆ ในการทำงาน การตัดต่องาน Motion Graphic เช่น การบันทึกเสียง , การทำเสียงพากย์ , การใส่ดนตรีประกอบ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคพิเศษต่างๆ เช่น การทำตัวอักษรให้เคลื่อนไหว , การซ้อนภาพ ร่วมกับโปรแกรมยอดนิยมต่างๆ และการทำ Mastering , การบันทึกผลงานลงเทป DV , VHS และการแปลงไฟล์เพื่อทำ VCD , DVD

    

       After Effect เป็นโปรแกรมที่ใส่ Effect ให้กับ ภาพยนตร์ ในขั้นตอนการตัดต่อ ไฟล์ที่นำเข้ามาใช้ในโปรแกรมนี้ได้เกือบทุกชนิดได้ทั้งภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ไฟล์เสียง ยิ่งถ้าเป็นการทำมาจากโปรแกรม 3d แล้วมาทำต่อที่ After Effect จะทำให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยที่สามารถจะนำไฟล์ทั้งหลายเหล่านี้มาใช้งานร่วมกัน  เพื่อให้ได้งานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวชิ้นใหม่ออกมาจากโปรแกรม  After  Effects

การทำภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม  After  Effects

       

        โปรแกรม  After  Effects  เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการทำงานด้าน   Motion   graphic และ  Visual – Effect  ที่เหมาะสำหรับนำมาใช้ในงาน  Presentation , Multimedia , งานโฆษณา  และรวมไปถึงการทำ  Special – Effect  ต่าง ๆ ให้กับงานภาพยนตร์ โดยเครื่องมือที่ใช้และลักษณะการใช้งานโดยทั่วไปในโปรแกรมนั้น  ก็จะคล้ายกับโปรแกรมอื่น ๆ ในตระกูล  Adobe  ดังนั้นในการเริ่มต้นใช้งาน  After  Effects  ก็จะง่ายขึ้น  ถ้าผู้ใช้เคยได้ใช้โปรแกรมของ  Adobe  เช่น  Photoshop , Illustrator  หรือ  Premiere  มาก่อน

การทำงานของโปรแกรม  After  Effects

         ในการทำงานของโปรแกรม  After  Effects  นั้น  เปรียบเทียบกับการทำงานภาพยนตร์คือการตัดต่อ  เนื่องจากการทำงานของโปรแกรมจะทำงานในลักษณะที่เป็นการนำไฟล์ที่ทำเอาไว้ เรียบร้อยแล้วจากที่อื่นเข้ามาใช้  โดยไฟล์ที่จะนำมาใช้งานโปรแกรม  After  Effects   สามารถเป็น ไฟล์ใด ๆ ก็ได้แทบทุกชนิด  ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  และไฟล์เสียง  โดยที่สามารถจะนำไฟล์ทั้งหลายเหล่านี้มาใช้งานร่วมกัน  เพื่อให้ได้งานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวชิ้นใหม่ออกมาจากโปรแกรม  After  Effects

การเตรียมไฟล์ที่จะนำมาใช้งาน

เนื่องจากในการทำงานกับโปรแกรม  After Effects  จำเป็นจะต้องมีการนำไฟล์อื่นเข้ามาใช้ร่วมด้วยอยู่เสมอจึงต้องมีการเตรียม ไฟล์ที่จะใช้งานไว้ให้เรียบร้อยก่อน  และจึงนำไฟล์ที่ได้เตรียมไว้แล้วมาใช้เป็นฟุตเทจในการทำงานของโปรแกรม  After  Effects

ระบบดิจิตอลวิดีโอ

        สำหรับระบบ  NTSC  digital  video  ในมาตรฐานของ  CCIR – 601  ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป  คือ  NTSC  D1  จะมีอัตราส่วนเท่ากับ  720  x  486  pixels  และเช่นเดียวกันสำหรับ  PAL  D1  จะมีอัตราส่วนเท่ากับ  720  x  576 โดยอัตราส่วน  720  x  486  ของระบบ  NTSC  D1  จะไม่ได้เป็น  4 : 3   เท่ากับหน้าจอในระบบอื่น ๆ และเนื่องจากว่า  pixels  ของระบบ  D1  ไม่ได้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเหมือน  pixels  ที่ใช้ในระบบอื่น ๆ แต่จะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ด้านกว้างมีขนาดแค่  90  %  ของด้านสูง  จึงทำให้  pixels  ของระบบ  D1  จะมีลักษณะผอมสูง  และผลจากความแตกต่างของรูปร่าง  pixels  ส่งผลให้งานบางชนิดเกิดการผิดพลาดได้เมื่อมีการย้ายจากระบบหนึ่งไปอีกระบบ หนึ่ง

เมื่อนำงานจากระบบ  NTSC  D1  ไปแสดงงานบนหน้าจอคอมพิวเตอร์  ก็จะมีภาพที่มีลักษณะแคบลง เมื่อนำไปใช้งานที่หน้าจอระบบ  NTSC  D1

ส่วนในระบบ  PAL  D1 ก็จะมี  pixelsในทางกลับกันกับระบบ  NTSC   D1  คือ   pixels   ระบบ  PAL  D1 จะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่กว้างเตี้ย  ดังนั้นในการแสดงงานที่หน้าจอจะเป็นในทางกลับกันด้วยเช่นกัน  เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้สิ่งสำคัญที่ควรระวังในการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้อง กับระบบ  D1  คือ  อย่ามองข้ามอัตราส่วนต่าง ๆ ขอ  pixels  เหล่านี้

โปรแกรม  After  Effects   สามารถเลือกที่จะกำหนดการแสดงผลในอัตราส่วนของ pixels ระบบต่าง ๆ ของได้  ด้วยการกำหนดค่าที่หน้าต่าง  Composition  Settings  ในการกำหนดค่าเพื่อสร้างหน่าง  Composition    ขึ้นมา

และในปัจจุบันก็ได้มี  PC  ดิจิตอลวีดิโอรุ่นใหม่ ๆ บางรุ่น  ที่สามารถใช้ได้กับพื้นที่การแสดงงานที่มีขนาด     720 x 480  pixels  โดยระบบนี้ชื่อว่า  ระบบ  DV  ( digital  video )  ซึ่ง  pixel  จะมีอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนของระบบ  D1

Adobe After Effect เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้าง motion graphic งาน Compositeซึ่งรูปแบบการใช้งานค่อนข้างง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น และมีคอนเซ็พท์ของโปรแกรมที่ทำงานในแบบเลเยอร์

ตัวอย่างผลงาน     ด้วยโปรแกรม  After Effects

โทรทัศน์

เห็นได้ประจำทุกวันกับรายการทีวีเกือบทุกรายการ ละคร ข่าว และโฆษณาที่เราได้ดูกันอยู่ทุกวันล้วนแต่มีการใช้ภาพกราฟิกเคลื่อนไหวและ ตกแต่งภาพ Video กันทั้งนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะถูกสร้างด้วยโปรแกรม After  Effects เป็นเสียส่วนใหญ่

ภาพยนตร์

   Special Effects ที่ตระการตาต่างๆ ที่เห็นในหนังภาพยนตร์ ฉากบู๊แอ็คชันระเบิดเถิดเทิงและเหนือจินตนาการสะใจคนดูกับเทคนิคการตกแต่ง ต่างๆ ที่ทำให้ภาพยนตร์นั้นดูสวยงามเสียเหลือเกิน ก็สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยโปรแกรม After  Effects

Internet

ในเว็บไซด์ต่างๆ ที่มีการนำภาพกราฟิกเคลื่อนไหวมาใช้ ถ้าสังเกตดีๆ ก็จะเห็นว่าไอ้ภาพเคลื่อนไหวที่เราเห็นกันนั้นถึงแม้จะสร้างขึ้นมาด้วย โปรแกรม Multimedia ยอดนิยม เป็นโปรแกรม Macromedia Flash เป็นเสียส่วนใหญ่  แต่ก็จะเห็นว่ามีการนำกราฟิกเคลื่อนไหวมาสร้างขึ้นมาจากโปรแกรม flash นั้นมาตกแต่งใส่  Effects ให้กับภาพกราฟิกเคลื่อนไหวนั้นๆ ด้วยโปรแกรม After  Effects ซึ่งทำให้งานที่ดูธรรมดา ในตอนแรกกลับมีชีวิตชีวามีชาติตระกูลและน่าสนใจขึ้นมาทันตา หรือถ้าดูดีอยู่แล้วก็จะยิ่งดูดีเข้าไปใหญ่           

Animation

      งานการ์ตูนแอนิเมชั่นต่างๆ ที่เราเห็นกันในบางฉากหรือบางตอนที่สร้าง Special  Effects งามๆ มันส์ๆ เร้าใจเด็กเล็กจนถึงผู้ใหญ่วัยโจ๋ ก็สามารถทำได้ด้วยโปรแกรม After  Effects เช่นเดียวกับงานภาพยนตร์ นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูน (ในรูปแบบ 2 มิติ) ก็สามารถทำได้เหมือนกัน

งาน Presentation ต่างๆ

     การนำเสนอต่างๆ ที่เราต้องการทำให้ดูมีความสนใจยิ่งขึ้นด้วยเทคนิคของการเร้าความสนใจด้วย ภาพเคลื่อนไหว ก็สามารถทำได้โดยสร้างภาพกราฟิกเคลื่อนไหวสวย และ Effects งามๆ ดึงดูดให้ผู้คนสนใจกับสิ่งที่เราต้องการนำเสนอได้เป็นอย่างดี

ที่มา

http://returnwind.exteen.com/20110713/after-effects