สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

ขนาดภาพในการถ่ายวีดีโอ

      ขนาดภาพ ในการถ่ายทำวีดีโอ การกำหนดขนาดภาพในการถ่ายทำวีดีโอ ภาพยนตร์ สื่อวีดีทัศน์  ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะขนาดภาพจะสื่อความหมายของภาพ ช่างภาพวีดีโอต้องมีประสบการณ์ และอาศัย ช่วงจังหวะที่ดี อาจเรียกเป็นภาษาฝรั่งได้ว่า Golden Moment เลยที่เดียว เพราะการถ่ายวีดีโอ แตกต่างจากการถ่ายทำ หนัง หรือโฆษณา อย่างสิ้นเชิง
 การถ่ายทำภาพยนตร์ นั้น มีการ Block การเข้าออกที่ชัดเจน ส่วนในการถ่ายวีดีโอ เป็นการถ่าย แบบRealtime ช่างภาพต้องมีประสบการณ์ ช่างภาพที่ดีควรศึกษารายระเอียดของงาน และควรมาก่อนเวลา เพื่อดูสถานที่ สามารถเลือกใช้ขนาดและมุมภาพ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
 
          โดยทั่วไป การกำหนดขนาดภาพนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ในหลักปฏิบัติแล้ว มักใช้ 3 ขนาด คือ ขนาดภาพระยะไกล ระยะปานกลาง และระยะใกล้  ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นขนาดที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการแบ่งขนาดอย่างกว้าง อย่างไรก็ตาม เราสามารถแบ่งย่อยขนาดของภาพได้อีกและมีชื่อที่เรียกได้ชัดเจนดังนี้
 
1.ภาพระยะไกลมากหรือระยะไกลสุด (Extreame Long Shot/ELS)
         ภาพประเภทนี้เหมาะสำหรับการถ่ายสถานที่โล่งแจ้ง มักเน้นพื้นที่กว้างใหญ่ และเปรียบเทียบกับสัดส่วนของคน เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ ภาพ EIS ส่วนใหญ่ใช้ในการเปิดฉาก เพื่อบอกเวลา เช่นเมื่อไปถ่ายภาพแต่งงาน อาจเปิดฉากด้วยการถ่าย บริเวณโดย รอบ ประตู หรือแม้แต่ ประตู ป้าย แต่ในหลายครั้ง อาจใช้ภาพในระยะใกล้ (cu) เพื่อเปิดฉากไว้ดึงดูดอารมณ์คนดู ให้สูงขึ้น หรือหักมุมให้เกิดความประทับใจ
 
2.ภาพระยะไกล (Long Shot/LS)
          ภาพระยะไกล เป็นภาพที่ค่อนข้างสับสนและไม่มีขนาดที่แน่นอน บางครั้งอาจเรียกว่า ภาพ กว้าง หรือภาพมุมกว้าง (Wide Shot) เวลาใช้อาจกินพื้นที่ตั้งแต่ภาพระยะไกลมาก (ELS) ถึงภาพระยะไกล (LS) ซึ่งเป็นภาพกว้าง แต่สามารถเห็นรายละเอียดของฉากหลังและผู้แสดงมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับภาพระยะไกลมาก หรือ เรียกว่า  Full Shot เป็นภาพกว้างเต็มตัว ตั้งแต่ศีรษะจนถึงส่วนเท้า
          ภาพระยะไกล(LS) บางครั้งนำไปใช้เพื่อเปรียบเทียบ เหมือนกับขนาดภาพระหว่างคนดู กับ ภาพที่ต้องการให้มอง เห็นเท่ากันพอดี คือสามารถมองเห็นอากัปกิริยา ของคนในภาพได้ชัดเจน และเต็มตัว
3.ภาพระยะไกลปานกลาง (Medium Long Shot)
          เป็นภาพที่เห็นรายละเอียดของคนในภาพมากขึ้นตั้งแต่ศีรษะจนถึงขา หรือหัวเข่า บางครั้งเรียกว่า Knee Shot   
 
4.ภาพระยะปานกลาง (Mediun Shot)
         ภาพระยะปานกลาง เป็นขนาดที่มีความหลากหลายและมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ แต่โดยปกติจะมีขนาดประมาณตั้งแต่หนึ่งในสี่ถึงสามในสี่ส่วนของร่างกาย บางครั้งอาจเรียกว่า Mid Short หรือ Waist Shot ก็ได้ เป็นช็อตที่ใช้กันมากในการถ่ายทำภาพยนตร์ เรียกว่า ภาพครึ่งตัว
         ภาพระยะนี้มักใช้เชื่อมต่อภาพระยะไกล(Ls) กับภาพระยะใกล้(Cu)
 
5.ภาพระยะใกล้ปานกลาง (Medium Closed-up/MCU)
         เป็นภาพแคบ คลอบคลุม บริเวณตั้งแต่ศีรษะถึงไหล่ของผู้แสดง ใช้สำหรับ สื่ออารมณ์ความรู้สึกที่ใบหน้า ถ้าเป็นการภาพงานแต่งงาน จะถ่ายให้เห็นท่าทางดีใจ หรือสะท้อนอารมณ์ ของคู่บ่าวสาว เน้นให้รู้สึกเด่นขึ้นมาในเฟรม บางครั้งอาจเรียกว่า Bust Shot มีขนาดเทากับรูปปั้นครึ่งตัว

6.ภาพระยะใกล้(Close-up/CU)
         เป็นภาพที่เห็นบริเวณศีรษะและบริเวณใบหน้า เน้นรายระเอียดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นริ้วรอย อารมณ์ ครอบน้ำตาส่วนใหญ่เน้นความรู้สึกที่สายตา แววตา เป็นการนำกล้องไปสำรวจอย่างใกล้ชิด
 
7.ภาพระยะใกล้มาก (Extreame Close-up/ECU หรือ XCU)
          เป็นภาพที่เน้นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น มือ เท้า ปาก หรือตา เป็นต้น ภาพจะถูกขยายใหญ่บนจอจะเห็นรายละเอียดมากยิ่งขึ้น