

ภาพ © Chase Jarvis
ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปประเภทใดหรือวัตถุหลักชนิดใด ปัญหาใหญ่ที่สุดในการถ่ายภาพใน
บริเวณที่มีแสงน้อยหรือตอนกลางคืนคือ การขาดองค์ประกอบสำคัญที่กล้องทุกตัวจำเป็นต้องใช้
ในการสร้างภาพถ่าย นั้นก็คือแสงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เพราะไม่มีแสงสว่างนี่เอง ทำให้เรา
สามารถให้แสงแก่วัตถุและถ่ายภาพวัตถุนั้นให้มีลักษณะพิเศษซึ่งอาจไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย
ตาของมนุษย์ ช่างภาพมีวิธีทดลองและใช้เทคนิคมากมายในการสร้างภาพถ่ายให้ออกมาน่า
สนใจหรือสวยงาม
การถ่ายภาพกลางคืนแสงน้อย : วางกล้องให้มั่นคง

เราแนะนำให้คุณใช้ขาตั้งกล้องเมื่อต้องถ่ายภาพในบริเวณที่มีแสงน้อยและใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพถ่ายที่ออกมาพร่ามัวจากการเคลื่อนไหวของกล้อง

ในกรณีที่ไม่มีขาตั้งกล้อง วิธีที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้คือจัดท่าทางจับกล้องให้เหมาะสมเพื่อลดการสั่นไหวของมือ โดยเก็บแขนทั้งสองข้างชิดกับร่างกาย หลังจากนั้น ผ่อนลมหายใจออกครึ่งหนึ่ง กลั้นหายใจไว้และกดปุ่มชัตเตอร์ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ใช้ได้ดีกับการถ่ายภาพที่ความไวชัตเตอร์ 1/15 วินาทีเท่านั้น หากตั้งค่าความไวชัตเตอร์ไว้ต่ำกว่านี้ คุณจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องหรือใช้เทคนิคพยุงกล้อง

หากในบริเวณที่คุณถ่ายภาพตอนกลางคืนหรือในบริเวณที่มีแสงน้อยนั้นมีเสาหรือที่คุณสามารถใช้ได้ ให้ทาบกล้องของคุณเข้ากับเสาเพื่อป้องกันไม่ให้กล้องเคลื่อนที่ระหว่างที่เปิดรับแสงเป็นเวลานาน

หากบริเวณที่คุณจะถ่ายภาพในตอนกลางคืนหรือในบริเวณที่มีแสงน้อยมีโต๊ะหรือวัตถุที่คุณสามารถใช้วางกล้องได้ สามารถใช้โต๊ะหรือวัตถุนั้นเป็นฐานที่มั่นคงสำหรับวางกล้องระหว่างที่กล้องเปิดรับแสงเป็นเวลานานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรระวังไม่ให้กล้องถ่ายติดภาพโต๊ะหรือวัตถุที่คุณวางกล้อง
ปัญหาหลักในการถ่ายภาพในบริเวณที่มีแสงน้อยหรือการถ่ายภาพตอนกลางคืนก็คือ การไม่มีแสงสว่างที่เพียงพอ ซึ่งทำให้ช่างภาพจำเป็นต้องใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำเพื่อให้ภาพถ่ายได้รับแสงอย่างเหมาะสม ในการถ่ายภาพโดยใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำ กล้องจะต้องนิ่งสนิทระหว่างที่มีการเปิดรับแสง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการพร่ามัวขึ้นในภาพถ่าย ฉะนั้น หากต้องการถ่ายภาพชนิดนี้คุณจำเป็นต้องถ่ายภาพโดยวางกล้องบนขาตั้งกล้อง ใช้เทคนิคการจับกล้องหรือการพยุงกล้อง
การถ่ายภาพกลางคืนแสงน้อย : หาวัตถุหลักที่ดี

ภาพถ่ายที่สวยงามภาพนี้คือภาพของฟ้าผ่าระหว่างที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองในเมืองฟีนิกซ์ รัฐอาริโซนา นี่คือผลงานที่เกิดจากความอดทน ทักษะ และโชคอีกเล็กน้อยของช่างภาพจากการพบเห็นฟ้าผ่าได้ค่อนข้างบ่อยจากตำแหน่งเดิมๆ ช่างภาพคนนี้จึงถ่ายภาพอย่างต่อเนื่องโดยใช้ความไวชัตเตอร์ที่ 5 วินาที เพื่อให้กล้องถ่ายภาพอาคารที่อยู่ทางซ้ายของพื้นหน้าในรูปถ่ายให้ได้รับแสงอย่างเหมาะสมในขณะเดียวกันก็จับภาพของฟ้าฝ่าในตำแหน่งที่ฟ้าผ่าลงมาพอดี หลังจากการถ่ายภาพ 30 ครั้งในที่สุดเขาก็ได้ภาพถ่ายที่มีการจัดองค์ประกอบและได้รับแสงสมบูรณ์แบบ

ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของสะพานบรู๊คลินในกรุงนิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 2008 เมื่อมีการติดตั้งน้ำตกจำลองที่เสาต้นหนึ่งขอสะพาน และมีการให้แสงอย่างสวยงาม ทำให้สะพานบรู๊คลินเป็นวัตถุที่มีแสงน้อยที่ดึงดูดสายตาและน่าสนใจต้องใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำในการถ่ายภาพ
เมื่ออยู่ในบริเวณที่มีแสงน้อยหรือในตอนกลางคืน ให้มองหาวัตถุที่มีแสงน้อยที่คาดว่าน่าจะถ่ายภาพออกมาให้สวยงามได้ ซึ่งรวมถึงวัตถุที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- แสงเคลื่อนที่สวยงามดึงดูดใจ
- โครงสร้างของวัตถุได้รับแสงพอเหมาะ
- มีแสงไฟสวยงาม

ผืนพรมจากแสงไฟนี้ไม่เพียงแต่เป็นองค์ประกอบของพื้นหน้าที่ดูดึงดูดสายตาเท่านั้น แต่ยังมีรูปร่างเป็น "เส้น" โค้งที่โดดเด่น ดึงดูดสายตาของผู้ชมภาพไปยังอาคารสไตล์เกาหลีดั้งเดิมซึ่งเป็นวัตถุหลัก

ถนนที่ตัดกันเป็นเส้นทแยงมุมและมีแสงไฟส่องสว่างสวยงาม รวมถึงซุ้มโค้งของสะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์บริดจ์ เป็นแนวเส้นที่หนักแน่น นำสายตาผู้ชมภาพไปยังส่วนที่ลึกกว่าในรูปถ่ายนอกจากนี้ ตัวสะพานยังเป็นกรอบภาพให้แก่เส้นขอบฟ้าของเมืองซิดนีย์ที่อยู่ด้านล่างได้เป็นอย่างดี

ช่างภาพที่ถ่ายภาพสะพานบรู๊คลิน ต้องการสร้างเส้นทแยงจากแสงของรถยนต์ที่แล่นอยู่บนถนน โดยให้มีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดที่โดดเด่น เขาค้นพบว่า ความไวชัตเตอร์ที่ 1.3 วินาที นั้นเหมาะสมที่สุด และเลือกชดเชยแสงโดยการเพิ่มค่าความไวแสง (ISO) ไปที่ 200 ในขณะเดียวกันก็ใช้ขนาดรูรับแสงที่สัมพันธ์กันเพื่อสร้างระยะชัดลึกของภาพ
ถึงแม้ว่าคุณจะหาวัตถุแสงน้อยที่เหมาะกับการถ่ายภาพได้แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพและปรับให้ภาพที่ออกมาดีที่สุด เคล็ดลับในการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับวัตถุที่ได้รับแสงสว่างในตอนกลางคืน ได้แก่
- ใช้แสงไฟเป็นเส้นนำสายตาที่นำทางสายตาของผู้ชมภาพไปยังส่วนอื่นๆ ของภาพ
- ใช้แสงไฟเป็นองค์ประกอบเสริมในพื้นหน้าหรือพื้นหลังของภาพ
- สร้างเส้นแสงจากแสงที่กำลังเคลื่อนไหวด้วยความไวชัตเตอร์ต่ำ

ภาพเงาของสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงเหล่านี้มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก ดังนั้น คุณจึงบอกได้ทันทีว่านี่คือภาพของโอเปราเฮาส์ในซิดนีย์และสะพานฮาร์เบอร์ ช่างภาพตั้งค่ากล้องให้ถ่ายภาพของท้องฟ้าเหนือสะพานเพื่อให้ได้ภาพนี้

บรรดานักวอลเลย์บอลถูกจับภาพขณะที่ลอยตัวอยู่กลางอากาศท่ามกลางบรรยากาศยามโพล้เพล้ของเกาะภูเก็ต ประเทศไทย เมื่อคุณนำเทคนิคนี้มาใช้อย่างถูกต้อง คุณจะสามารถถ่ายภาพเงาได้อย่างง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง เพราะในการถ่ายภาพเงามักต้องใช้ความไวชัตเตอร์ที่สูงมากจากการคุณต้องตั้งค่ากล้องให้เปิดรับแสงจากส่วนที่สว่างจ้าในภาพนั่นเอง
คุณจะสามารถถ่ายภาพเงาที่น่าสนใจและมีสีตัดกับพื้นหลังสว่างจ้าให้ออกมาดูมีอารมณ์ความรู้สึกได้
อย่างง่ายดายจนน่าประหลาดใจ หากคุณปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้
- ออกไปเดินเล่นในตอนเย็นหรือตอนโพล้เพล้ และมองหาวัตถุที่มีเค้าโครงหรือรูปร่างที่น่าสนใจ
- เปิดใช้งานโหมดปรับรูรับแสง ตั้งรูรับแสงแคบ (ค่า F-stop สูง) ระหว่าง F7 - F16 ขึ้นอยู่กับสภาพแสง
- ตั้งค่ากล้องของคุณให้เปิดใช้โหมดวัดแสงเฉพาะจุด เพื่อให้กล้องเปิดรับแสงเฉพาะจุดที่สว่างใน
ภาพเท่านั้น - ทำการโฟกัสนำ (กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง) ไปยังส่วนของท้องฟ้าที่มีสีโทนกลางๆ (ห้ามไม่ให้โฟกัสที่ดวงอาทิตย์หรือแหล่งกำเนิดแสง)
- จัดองค์ประกอบภาพใหม่โดยให้นิ้วของคุณยังกดปุ่มชัตเตอร์ไว้ครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม จากนั้น
ทำการถ่ายภาพ