1. Domain Name :
ความจริงแล้วถ้าเราต้องการทำ Blogger เพื่อการเผยแพร่ (ไม่ได้เก็บไว้อ่านเอง) การตั้งชื่อบล็อกของคุณก็ควรจะนำ Keyword มาตั้งชื่อ Blog ของคุณด้วย หรือ การจดโดเมนก็ควรจะแทรก Keyword เข้าไปในชื่อโดนเมนด้วย
► ยกตัวอย่าง: ต้องการสร้างบล็อกจากเกี่ยวกับเกมส์ อาจจะตั้งชื่อว่า thaigamer.blogspot.com หรือ gamerzone.blogspot.com เป็นต้น
แต่ถ้าหากคุณมั่นใจว่าคุณสามารถสร้าง แบรนด์ จากเนื้อหาที่เขียนได้โดยไม่ต้องพึ่งพา Keyword มาช่วย ก็ตั้งชื่อโดเมนได้ตามใจชอบครับ
2. Keyword in Title Tag :
ในกรณีที่ Domain Name ของคุณไม่ได้ใช้ Keyword มาช่วย หรือจดโดเมนไปแล้วและแก้ไขอะไรตอนนี้ไม่ได้ คุณก็สามารถใช้ Title Tag เข้ามาช่วยได้โดยวิธีปรับแต่ง Title Tag บน Blogger ตามสูตรของผม (รับรองว่าไม่ซ้ำกับที่อื่น) ทำได้ดังนี้ครับ
Log in Blogger เข้าไปที่ >> ไปที่แผงควบคุม >> รูปแบบ >> แก้ไข HTML
ค้นหาโค้ด
<title><data:blog.pageTitle/></title>จากนั้นแทนที่ด้วยโค้ด
<b:if cond='data:blog.pageType == "item"'>
<title><data:blog.pageName/></title>
<b:else/>
<title>ใส่ title ของบล็อกที่นี่</title></b:if>
หมายเหตุ
2.1 โค้ด <title>ใส่ title ของบล็อกที่นี่</title> เป็น Tltle ที่จะแสดงในหน้าแรก หน้า label และหน้า Blogarchive คุณสามารถพิมพ์ข้อความได้โดยตรง หรืออาจจะแทนด้วยโค้ด
<title><data:blog.pageTitle/></title>ก็ได้ และถ้าคุณต้องการแทรก keyword ลงไปใน title ก็ใช้โค้ด
<title><data:blog.pageTitle/> | keyword 1 | keyword 2</title>หรือ
<title> keyword 1 | keyword 2 | <data:blog.pageTitle/></title>2.2 โค้ด <title><data:blog.pageName/></title> เป็นชื่อของแต่ละบทความใน Blogger และจะแสดงผลที่ Title barเมื่อเราเปิดหน้านั้น ๆ และนอกจากนี้ยังเป็น ข้อความที่แสดงผลใน Search Result ด้วย
หากคุณไม่ชอบที่ผมได้นำเสนอไว้ อาจจะปรับแต่งใหม่โดยแทนด้วยโค้ด
<title><data:blog.pageName/> | <data:blog.pageTitle/></title>ซึ่งการแสดงผลก็จะมี Title ของบล็อกประกอบอยู่ด้วย
3. Keyword in Description Meta Tag และ Keyword in Keyword Meta Tag :
เพื่อความเป็นมิตรกับ Serach Engine คุณควรแทรก Description และ Keyword ลงไปใน Template ด้วย Meta tag เพื่อเป็นการบอกกับ Serach Engine ว่าบล็อกของคุณมีเนื่อหาเรื่องใด เกี่ยวข้องกับเรื่องใด แต่ไม่ได้มีผลต่อการติด Index มากนัก และในปัจจุบันถือว่ามีผลน้อยมาก ดังนั้นเราควรสร้าง Description และ Keyword เท่าที่จำเป็นเท่านั้นและห้าม Spam เด็ดขาด
ในที่นี้จะไม่ได้เน้นถึง การคิดหรือสร้าง Description และ Keyword สำหรับบล็อกของคุณ แต่จะขยายความการสร้าง Meta tag ที่ถูกต้องสำหรับ Blogger
ปกติโค้ดสำหรับ Description Meta Tag และ Keyword Meta Tag คือ
<meta content='ใส่ข้อความอธิบายเนื้อหาของบล็อกและควรมี keyword แทรกลงไปด้วย' name='description'/>โดยวางลงไปให้ต่อเนื่องจากโค้ดในข้อ 2 แต่ การใส่โค้ดข้างต้นลงไปจะทำให้เกิด Dublicate Meta tag หรือเกิดความซ้ำซ้อนกันระหว่างหน้าบทความกับหน้าของบล็อก
<meta content=' keywords ที่ 1,keywords ที่ 2,keywords ที่ 3, ฯลฯ ' name='keywords'/>
ดังนั้นเราควรปรับแต่งโค้ดเป็น
<b:if cond='data:blog.pageType == "index"'>ซึ่ง Meta tag ข้างบนนี้จะแสดงผลในหน้าแรก หน้า Label หน้า BlogArchive และหน้า Search เท่านั้น
<meta content='ใส่ข้อความอธิบายเนื้อหาของบล็อกและควรมี keyword แทรกลงไปด้วย' name='description'/>
<meta content=' keywords ที่ 1,keywords ที่ 2,keywords ที่ 3, ฯลฯ ' name='keywords'/>
</b:if>
ส่วนในหน้าบทความแต่ละบทความสามารถใส่ Meta tag ได้ด้วยซึ่งวิธีทำนั้นให้อ่านต่อในข้อ 4
4. Keyword in URL :
การทำให้ URL ของบทความเป็นมิตรกับ SEO นั้นผมได้เขียนไว้ที่บทความ วิธี ทำให้ URL ของบทความใน Blogger เป็นมิตรกับ SEO
ให้คุณอ่านทำความเข้าใจและทำทุกครั้งที่เขียนบทความ
และนอกจากนี้เรายังสามารถใส่ Description Meta Tag และ Keyword Meta Tag ให้แต่ละ URL ของบทความได้ดังนี้
สมมติเราเขียนบทความชื่อ เรารัก Blogger
<b:if cond='data:blog.url == " ใส่ URL ของบทควาเรารัก Blogger "'>
<meta content=' ใส่ข้อความที่อธิบายถึงบทความ รัก Blogger ' name='description'/>
<META CONTENT=' keywordsของบทความเรารัก Blogger ที่ 1,keywords ที่ 2,keywords ที่ 3, ฯลฯ ' NAME='keywords'/>
</b:if>
5. Keyword in H1, H2 and H3 :
Serach Engine จะให้ความสำคัญกับ Heading (H1, H2, H3, H4, H5) ใน Blogger มากกว่าข้อความปกติ เช่น Title ของบล็อก Post title , Sidebar Header, Label Cloud widget เป็นต้น
ใน Template ของ Blogger ส่วนใหญ่จะมีการตั้งค่าหัวข้อสำคัญ ๆ ให้มีขนาดเป็น H1 หรือ H2 อยู่แล้ว แต่มีส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการติด Index มากซึ่งก็คือ Post Title และควรตั้งค่า Heading ส่วนนี้ให้เป็น H1 ซึ่งทำโดย
Log in Blogger เข้าไปที่ >> ไปที่แผงควบคุม >> รูปแบบ >> แก้ไข HTML >> ขยายแม่แบบเครื่องมือ
5.1 ค้นหาโค้ด
<b:if cond='data:post.title'>ซึ่งคุณจะพบชุดโค้ดต่อไปนี้
<b:if cond='data:post.title'>ซึ่งถ้าโค้ดที่พบยังไม่ใช่ h1 เช่นอาจจะพบเป็น h2 หรือ h3 ก็แก้ให้เป็น h1 ตามโค้ดด้านบน
<h1 class='post-title entry-title'>
<b:if cond='data:post.link'>
<a expr:href='data:post.link'><data:post.title/></a>
<b:else/>
<b:if cond='data:post.url'>
<a expr:href='data:post.url'><data:post.title/></a>
<b:else/>
<data:post.title/>
</b:if>
</b:if>
</h1>
</b:if>
5.2 ต่อเนื่องจาก 5.1 ให้ค้นหาโค้ด ]]></b:skin> แล้ววางโค้ดต่อไปนี้ก่อนหน้าโค้ดดังกล่าว
h1.post-title{ font-size:20px;}คุณสามารถปรับขนาด post-title ได้ตามความเหมาะสมของ Template ของคุณ เช่น ปรับเป็น 22px หรือ 18px เป็นต้น เมื่อทำขั้นนี้เสร็จแล้วก็บันทึกแม่แบบครับ
6. Keyword Density in Body Text :
ในการเขียนแต่ละบทความของคุณควรทำอย่างละเอียดอ่อนโดยให้ใช้หลักการ 4 ข้อดังนี้
6.1 พยายามสอดแทรก keyword ลงไปในบทความของคุณอย่างเป็นธรรมชาติ และบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ Serach Engine เข้าใจว่าบทความของคุณเกี่ยวกับเรื่องใด และถ้าเป็นไปได้พยายามเลือกใช้ keyword หลักของบล็อกของคุณก็จะได้ผลดีกับการ Index มากๆ
6.2 Serach Engine จะให้ความสำคัญกับ Link มากกว่าข้อความปกติ ดังนั้นถ้าในบทความของคุณมีลิงค์เชื่อมโยงควรใช้ข้อความที่สื่อความหมาย เช่น สอนทำบล็อก วิธีทำ blogger สอนแต่ง blogger เป็นต้น ซึ่งจะได้ผลในการ index มากกว่าใช้ข้อความไร้สาระ เช่นใช้คำว่า คลิก , กดเลย, คลิกที่นี่ เป็นต้น
โค้ดที่ใช้ทำ Link ให้กับข้อความคือ
<a title="ใส่ข้อความโต้ตอบ" href="ใส่ Link" target="_blank">ใส่ข้อความที่จะแสดงผล</a>นอกจากนี้ข้อความที่อยู่ใกล้กับ Link ควรจะเป็น keyword เพราะ Serach Engine จะให้ความสำคัญกับข้อความที่อยู่รอบ ๆ กับ Link ด้วย
6.3 หากทำได้ ข้อความใดที่เป็น keyword ก็ควรใส่ ตัวหนา ตัวเอียง หรือ ใส่ Heading Tag ให้กับ keyword นั้นๆ
โค้ดทำตัวหนา
<b>Keyword</b>โค้ดทำตัวเอียง
<i>Keyword</i>โค้ดทำ Heading
<h1>Keyword</h1>หรือ
<h2>Keyword</h2>
6.4 แทรก keyword ลงไป Tag Img : ถ้าในบทความของคุณมีรูปภาพ ควรใส่ alt เข้าไปด้วย เพราะว่า Serach Engine จะไม่รู้จักรูปภาพ และไม่สามารถตีความได้ว่าภาพที่เราใส่ลงไปเกี่ยวกับเรื่องใด ดังนั้นทุกครั้งที่มีภาพในบทความให้เราแทรก alt="ใส่ keyword" ลงไปในโค้ดของรูปภาพด้วยทุกครั้ง เช่น
<a href="http://www.hackublog.com/" target="_blank"><img alt="ใส่ keyword" title="ใส่ข้อความโต้ตอบ" src="http://upic.me/i/kv/keywordforimg.png"></a>
และถ้าเป็นรูปภาพที่อับโหลดขึ้นไปบน blogger โดยตรงก็สามารถแทรก alt="ใส่ keyword" ลงไปใน Tag Img ได้ดังรูป
Tricks : เราสามารถแทรก keyword หลักของบล็อกลงไป Tag Img ได้ด้วยโดยระวังอย่าให้ Keyword ที่แทรกลงไปในบทความเดียวกันซ้ำกันเพราะจะถูกมองว่าเป็น Spam และถูก De-index
ถ้าคุณทำข้อ 6.1-6.4 อย่างสม่ำเสมอประมาณ 1 เดือนคุณจะติดหน้าแรกได้ไม่ยากเลยครับ สำหรับการทำ SEO Onpage ที่ผมขอแนะนำมีเพียงเท่านี้ครับ ถ้ามีเทคนิคดี ๆ เพิ่มเติมก็จะเอามาเล่าให้ฟังในบทความต่อ ๆ ไป
สิ่งที่ขอกล่าวเสริมตอนท้ายนี้ก็คือคุณจะต้องการทำ SEO Offpage ควบคู่กับ Onpage ไปด้วยอย่างสม่ำเสมอ เช่นการSubmit Sitemap การ Submit Article การSubmit Blogdirectory การSubmit Feed การโปรโมทตามเว็บบอร์ด การสร้าง Backlink เป็นต้น
สุดท้ายก็อย่าลืมพัฒนาเนื้อหาของบล็อกให้มีคุณภาพด้วยนะครับ เพราะว่าในระยะยาว Content จะสำคัญที่สุด
อ้างอิงข้อมูล : http://www.hackublog.com/2010/05/blogger-seo-onpage-fullhack.html