สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology


Office of Academic Resources and Information Technology

4G ประเทศไทย อยู่อีกไกล หรือใกล้แค่เอื้อม

Cover_4G.jpg
 
4Gประเทศไทย อยู่อีกไกล หรือใกล้แค่เอื้อม
เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาได้เกิดปรากฏการณ์ฮือฮาขึ้นในแวดวงการสื่อสาร เมื่อผู้ให้บริการโครงข่ายรายใหญ่อย่าง AIS ได้ประกาศนำเอาเทคโนโลยี 4G LTE เข้ามาทดสอบใช้งานอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ที่ทราบข่าวเกิดความความคาดหวังถึงอนาคตการสื่อสารที่ สะดวกรวดเร็วมากขึ้นแล้ว ยังมาพร้อมกับคำถามและข้อสงสัยที่หลากหลายแก่ผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความคลางแคลงใจอันเนื่องมาจากความล่าช้าของเทคโนโลยี 3G ที่ผ่านมา รวมไปถึงคำถามด้านความพร้อมของประเทศไทยในการก้าวไปสู่ยุคแห่งการสื่อสาร ความเร็วสูง
4G_tec.jpg
ข้อมูลจาก Global Mobile Suppliers Association (GSA)
ทำ 4G แทน 3G ไปเลยดีไหม?
ถือ เป็นหนึ่งคำถามสำคัญที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเริ่มมีการทดสอบ 4G ในขณะที่เทคโนโลยี 3G ที่แม้จะมีให้บริการในเชิงพาณิยช์แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการได้เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากคลื่นความถี่ 900Mhz กับ 850Mhz เดิมไม่สามารถรองรับผู้ใช้บริการดาต้าที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดได้ อีกทั้งการจัดสรรคลื่นความถี่ 2100Mhz ที่จะช่วยเสริมให้สามารถใช้งาน 3G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพก็มีความล่าช้า หลายคนจึงสงสัยว่าเป็นไปได้ไหมที่จะมีการนำเอาเทคโนโลยี 4G LTE มาใช้งานทดแทน 3G อย่างเต็มรูปแบบไปเลยในอนาคตอันใกล้?
4G_Somprasong.jpg
สมประสงค์ บุญยะชัย รองกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือ AIS
โดย สมประสงค์ บุญยะชัย รองกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ได้ ให้ความเห็นในประเด็นนี้ว่า มีความเป็นไปได้แต่ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาจังหวะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้งาน เทคโนโลยี เนื้อหา รวมถึงขีดความสามารถของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถใช้งานเครือข่ายความเร็วสูงระดับ 100 MBได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            “ผม ได้ไปดูงานมาจากต่างประเทศ พบว่ากลุ่มผู้ใช้งานของประเทศที่มี 4G แล้วนั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม หนึ่งคือกลุ่มนักวิจัยภาควิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน ที่มีความจำเป็นในการดาวน์โหลดข้อมูลปริมาณมหาศาล อีกกลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มผู้ใช้งานด้านความบันเทิง ที่มีความต้องการรับชมภาพหรือวิดีโอในระดับความคมชัดสูงมากผ่านอุปกรณ์ระดับ FullHD แต่นอกเหนือจากสองกลุ่มนี้ แม้กระทั่งในประเทศแถบยุโรปก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าใครต้องการใช้ 4G อย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้นผมคิดว่าการเกิดขึ้นของ 4G ก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีการให้บริการ 3G ควบคู่กันไปในระยะยาวต่อไปด้วย"
4G_Chaiyos.jpg
ชัยยศ จิรบวรกุล ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มธุรกิจ โพสต์เพด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC
ทั้งนี้ ชัยยศ จิรบวรกุล ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มธุรกิจโพสต์เพด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ยัง กล่าวเสริมในประเด็นของการผสมผสานเทคโนโลยีการสื่อสารทุกระบบเพื่อการให้ บริการเอาไว้ว่า4G ไม่ใช่เทคโนโลยีที่จะเข้ามาทดแทนของเก่าอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากต้องมีการคาดคะเนความต้องการใช้งานและพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละ พื้นที่ให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะมีการลงทุนติดตั้งโครงข่าย
 “ทาง เราเคยทำวิจัยและพบว่า พฤติกรรมของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ซึ่งมีประชากรหนาแน่นมีความต้องการใช้งานด้านข้อมูลข่าวสารในระดับสูงมาก ซึ่งเหมาะสำหรับเทคโนโลยี 4Gแต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่ชานเมืองที่ไม่ได้มีจำนวนผู้ใช้งานมากนัก ก็สามารถให้บริการแบบ 3G ได้อย่างครอบคลุมในคลื่นความถี่ที่รองรับ 850 MHz,900 MHz หรือ 2100 Mhz ที่เราคาดหวังกันว่าจะมีการให้บริการในอนาคต และในส่วนที่เป็นพื้นที่กันดารห่างไกลจริงๆ โลกของ 2G หรือการส่งผ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Edge ก็สามารถให้บริการได้ ครอบคลุมแทบทุกตารางนิ้วในประเทศไทย เรียกว่าทุกเทคโนโลยีต้องมีการใช้งานผสมผสานกันให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด"   
4G คืออะไร
เทคโนโลยี สื่อสารไร้สายความเร็วสูง 4G หรือ Long Term Evolution (LTE) ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดของการรับ-ส่งข้อมูลด้วย เทคโนโลยี GSM/ GPRS/ EDGE แบบเดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ให้สามารถในการรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงขึ้นมากในระดับ100 Mbps นอกจากนั้นยังช่วยลดความล่าช้าในการรับ-ส่งข้อมูลระบบโดยรวม (Latency) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะมีการใช้ความถี่ใน 2 ลักษณะคือ
1. Frequency Division Duplex (FDD) เป็น การบริหารการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับเครือข่าย ด้วยความถี่ที่กำหนดมาโดยเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตั้งค่าการส่งผ่านข้อมูลขาขึ้นกับขาลงที่ชัดเจนตามมาตรฐาน Global Standard เหมาะสำหรับการให้บริการ 4G LTE ผ่านระบบบอร์ดแบรนด์ขณะอยู่กับที่
2. Time Division Duplex (TDD) เป็นการบริหารการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับเครือข่าย โดยคำนึงถึงช่วงระยะเวลาที่มีการใช้งานเป็นหลัก เหมาะสำหรับการให้บริการ 4G LTE ขณะกำลังเคลื่อนที่ (Mobility)
ทั้ง นี้ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ที่มีการเปิดให้บริการ 4G ในเชิงพาณิชย์แล้ว มักจะให้บริการ 3G ในพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ครอบคลุมอาณาบริเวณโดยกว้าง (Mass Coverage Area) และให้บริการ 4G ในพื้นที่เฉพาะ (Specific Area) ที่มีความต้องการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง (Broadband Wireless Access, BWA) เช่นแหล่งชุมชนที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง หรือกลุ่มที่ต้องการใช้งานเฉพาะทาง อาทิ นักวิชาการ นักวิเคราะห์ หรือแพทย์ตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่ให้บริการ Telemedicine เป็นต้น
4G_Anudith.jpg
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT
แล้วคนไทย พร้อมใช้ 4G แล้วหรือยัง?
ในส่วนของพฤติกรรมการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ชาวไทยนั้น .อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมณตรีว่าการกระทรวง ICTได้ ให้ความเห็นว่า ความสามารถของผู้ใช้งานในประเทศไทยเริ่มมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายอันดี เนื่องจากผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงประโยชน์ของการเข้าถึงโครงข่ายความเร็ว สูงอย่าง 4G ได้มากขึ้น
            “แม้ อันดับด้านไอที Ranking ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 34 แต่หลังจากประเทศประสบปัญหาทางการเมืองในเหตุการณ์ 19 กันยายนที่ผ่านมา อันดับก็ร่วงลงมา รวมถึงคำวิจารณ์ของต่างประเทศในสิ่งที่เราล้าหลังอยู่ก็คือภาคของ Mobile 2011 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 59 แต่การทดสอบครั้งนี้ ได้ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีการเปิดให้ใบ อนุญาตการให้บริการจริง และเป็นการสร้างประสบการณ์สื่อสารยุคใหม่ ที่มีความทัดเทียมกับต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันคนไทยก็มีพฤติกรรมการใช้งาน และความพร้อมในการเข้าสู่โลกออนไลน์ไม่แพ้ประเทศอื่นเลย” 
โดย สมประสงค์ก็ได้ให้ความเห็นที่สอดคล้องและความเป็นไปได้ในการยกระดับการสื่อ สารของประเทศ เพื่อก้าวเข้าสู่ขอบเขตของ “สมาร์ทไทยแลนด์” ตามนโยบายของรัฐบาลเช่นกัน
          "ประเทศไทยเราได้เริ่มต้นการใช้ดาต้าผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปี และได้พัฒนาความสามารถในการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้ขึ้นมาเป็นอย่างมาก วัดจากอดีตที่ปริมาณรายได้ด้านดาต้าน้อยกว่า 1เปอร์เซ็นต์ ของรายได้รวมทั้งหมด แต่ปัจจุบันนี้ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อความสามารถของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น มันก็ยิ่งส่งผลให้เกิดการใช้อีกระดับ"
นอก จากนั้น สมประสงค์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ 4G จะเริ่มดำเนินการทดสอบแล้ว แต่การผลักดันของรัฐบาลให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz สำหรับการใช้งาน 3G ให้ได้อย่างเต็มที่ในไตรมาสที่สามนี้ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งความจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากผู้ใช้ชาวไทยที่เริ่มพัฒนาตัวเองให้มีความพร้อมในการใช้งานมากขึ้น การพัฒนาโครงข่ายก็จะก้าวไปข้างหน้ามากขึ้น จนสามารถเชื่อมโยงไปยังเทคโนโลยี 4G ได้ในท้ายสุด

            “อาจ จะมีการปรามาสว่าประเทศไทยนั้น ล้าหลังในการวางระบบ 3G แต่ผมเชื่อว่า ก้าวแรกของการนำเอา 4G มาใช้ เราจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคแน่นอน” น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว
4G_Klahan.jpg
กล้าหาญ รสสุคนธ์ หัวหน้าฝ่ายทดลองเครือข่ายบรอดแบนด์และบริการ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย)จำกัด
แล้วเราจะใช้ 4G ทำอะไรกันบ้าง?
เมื่อพฤติกรรมการใช้งานของผู้คนในประเทศเริ่มมีความพร้อมมากขึ้น อีกส่วนที่สำคัญในการผลักดันให้เทคโนโลยี 4G เกิดขึ้นได้เร็วขึ้นก็คือ เนื้อหา (Content) ที่มีคุณภาพ รวมไปถึงประสบการณ์การใช้งานที่ดี และสอดคล้องไปกับวิถีชีวิตที่มีความรวดเร็วไม่หยุดนิ่งมากยิ่งขึ้น ซึ่ง กล้าหาญ รสสุคนธ์ หัวหน้าฝ่ายทดลองเครือข่ายบรอดแบนด์และบริการ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวย้ำถึงประเด็นด้านคุณภาพของการให้บริการ QOS (Quality of Service) โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

            “นอก จากการให้บริการที่ต้องมีคุณภาพมากขึ้นแล้ว ตอนนี้เรามีศัพท์ใหม่ขึ้นมาก็คือ QOE (Quality of Experience) ที่ผู้ประกอบการโครงข่ายจะต้องคำนึงถึงความประทับใจโดยรวมในการใช้งานที่ครบ ทุกแง่มุม คือหากจะเปรียบเทียบเป็นสายการบิน ก็คือประสบการณ์ตั้งแต่เข้าสู่สนามบิน ซื้อตั๋วเครื่องบิน เช็กอิน ไปจนถึงระหว่างการโดยสารบนเครื่อง ฯลฯ หรือถ้าว่ากันตรงๆ ก็คือตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเชื่อมต่อกับเครือข่ายใช้งานและจบการใช้งาน ผู้ใช้จะได้ประสบการณ์การใช้งานอะไรกลับไปบ้าง และจะสามารถใช้ความเร็วจากเทคโนโลยี 4G เพื่อร่นระยะเวลาในชีวิตของผู้ใช้ที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4G_Kajornsak.jpg
ขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

นอกจากนั้น ขจรศักดิ์ สิงหเสนี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)ได้ กล่าวถึงประเด็นเรื่องของการใช้งาน 4G ได้อย่างมีประโยชน์เอาไว้ว่า หนึ่งในปัจจัยหลักที่จะส่งผลให้เกิดความต้องการใช้งานจริง ก็คือการที่ผู้ใช้จำเป็นต้องพึ่งพาแอพพลิเคชั่นเพื่อเสพเนื้อหา (Content) ในรูปแบบต่างๆ ที่มีคุณภาพ โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดด้านความเร็วในการเชื่อมต่อ
            "ทาง CAT เองก็กำลังแสวงหาความเป็นไปได้ในการพัฒนา Content ที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคในประเทศไทยอยู่อีกทางหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากเราคำนึงถึงกระแสของการใช้งานข้อมูลผ่านเครือข่ายที่ Demand ด้านการใช้งาน เริ่มจะมากล้นเกิน Supply ที่ให้บริการอยู่ในขณะนี้ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมันจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ชัดเจนในการอัพเกรดบริการ 3G ในระยะเริ่มต้น ไปสู่ 4G ใน อนาคตอันใกล้ และผมคิดว่าโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการในปัจจุบัน จำเป็นต้องเริ่มเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล เพื่อคำนวณทิศทางการดำเนินงาน สำหรับการนำ 4G เข้ามาเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไปในอนาคต"   
4G_Monchai.jpg
 ดร.มนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ส่วนทางด้าน ดร.มนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ ให้ความเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ในการอัพเกรดเทคโนโลยีของประเทศให้เข้าสู่ยุค 4G ว่า นอกจากจะช่วยพัฒนาด้านการให้บริการในเชิงพาณิชย์แล้ว 4G LTE ยังสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี (Digital Divide) ระหว่างสังคมเมืองและพื้นที่ห่างไกลได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากมีความจุในการรองรับผู้ใช้งาน รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลที่มีเสถียรภาพ (Reliability) มากขึ้นในลักษณะ Bit Per Second ต่อ Square Kilometer
            "เรา จะนำเอา 4G ไปใช้ทำอะไร ผมเองก็ยังตอบไม่ได้แน่ชัด แต่ที่แน่ใจอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเรามีเครื่องมือที่ดี มีช่องทางการติดต่อสื่อสารประสิทธิภาพแล้ว จะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ หรือการเติบโตของ GDP ในภาพรวมที่จะสูงขึ้น รวมถึงดัชนีความสุขของผู้คนในประเทศ นอกจากนั้นยังช่วยลดสถานการณ์ 'รวยกระจุก จนกระจาย' เนื่องจากเทคโนโลยี 4G ที่เป็นไร้สาย ไม่จำเป็นต้องใช้การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับระยะทาง ส่งผลให้เราสามารถกระจายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสู่พื้นที่ๆ ห่างไกลได้มากขึ้น ถือเป็นหนทางลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงข้อมูลของผู้คนในประเทศอีกทาง หนึ่ง" ดร.มนต์ชัยกล่าวทิ้งท้าย
 
 
เดินหน้าทดสอบ ก้าวแรก 4G ประเทศไทย
เมื่อ วันที่ 31 มกราคม  2555 ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้อนุมัติให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ได้เริ่มดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับทดสอบเทคโนโลยี Long Term Evolution (LTE)เชิงเทคนิคชั่วคราวโดยไม่ได้แสวงหากำไร โดยทำการทดสอบการใช้งานใน2 พื้นที่คือ 
1. โครงการ ทดสอบบรอด์แบรนด์ไร้สาย LTE ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เขตมาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงศูนย์ราชการกระทรวงไอซีที และสำนักงานทีโอที แจ้งวัฒนะ เลือกใช้ย่านความถี่ 2300MHz แบบ Time Division Duplex (TDD) ด้วยจำนวนสถานีฐาน 20 แห่ง โดย AIS ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้เทคโนโลยี Real Time Video Interactive ด้วยการให้คนที่เดินผ่านไปมา ได้พูดคุยโต้ตอบกับกูรูช่างออกแบบทรงผมจากร้านชื่อดังในสยามแบบ FullHD โดยจะเปิดให้ทดสอบถึงช่วงเดือนพฤษภาคม 2555
2. โครงการทดสอบระบบโทรศัพท์ 4G LTE ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามผ่านย่านความถี่ 1800 MHz แบบ Frequency Division Duplex (FDD) ใช้สถานีฐาน 8 แห่ง เปิดให้ทดสอบถึงต้นเดือนมีนาคม 2555
โดยผลสรุปจากการทดสอบนั้น ระบบ 4G LTE สามารถส่งผ่านข้อมูลทำงานรวดเร็วกว่า 3G ราวๆ 5-10 เท่า นอกจากนั้นยังมีความเสถียรในการใช้งานขณะเคลื่อนที่ โดยไม่ส่งผลต่อคุณภาพสัญญาณและอัตราการส่งผ่านข้อมูล ส่งผลให้สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์และการทำงานแบบ Mobility ได้อย่างแท้จริง

ผลการทดสอบถึงเดือนมีนาคม 2555 มีดังนี้
ด้านความเร็ว
ระบบ LTE ที่ทดสอบ
สถานที่ทดสอบ
ความเร็วในการ Download
ความเร็วในการ Upload
TDD
พื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร
50-80 Mbps       
5-15 Mbps
FDD       
เขตจังหวัดมหาสารคาม
50-60 Mbps
20-30 Mbps
 
ด้านการส่งผ่านสัญญาณ
            - ระยะทางในการส่งสัญญาณ (Coverage Area) อยู่ที่รัศมี 1 กิโลเมตรจากเครื่องส่ง
            - การใช้งานในขณะเคลื่อนที่ภายใต้เงื่อนไขการส่งผ่านข้อมูลตลอดเวลา อาทิ การใช้งานบนรถยนต์พบว่าสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีปัญหา (เฉพาะการทดสอบที่ จ.มหาสารคาม) 
            - ความสัมพันธ์ของย่านความถี่และช่วงกว้างความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน เทคโนโลยี LTE พบว่า โดยทั้งสองย่านความถี่(ทั้ง 1800MHz และ 2300MHz) สามารถทำงานได้ดี แต่จำเป็นต้องใช้ความกว้างของแถบความถี่มากกว่า 20 MHz หากต้องการความเร็วในการดาวน์โหลดเกินกว่า 100 Mbps
 
 
Referent : http://new.ecommerce-magazine.com/issue/160/April_2012_Special_Report_4G