สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology


Office of Academic Resources and Information Technology

Srivijaya WiFi [ตอนที่ 3: มาตรฐาน IEEE 802.11 กับ อุปกรณ์]

Srivijaya WiFi กับอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน
 สำนักวิทยบริการฯ ได้ติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณ ไว้ตามจุดต่างๆทั่วทั้ง มหาวิทยาลัยฯ  และตามวิทยาเขต โดยอุปกรณ์ที่ติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อรองรับการใช้งานตามมารตฐาน  IEEE802.11 โดยจะมีอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ในมาตรฐาน IEEE802.11b/g และ IEEE802.11a/g/n เพื่อตอบสนองการใช้งานดังนี้ 
IEEE802.11b/g                                                              IEEE802.11a/g/n
   
 

 
 
     การสื่อสารไร้สายนั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ ได้ก่อกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่การใช้รหัสมอสส่งข้อมูลระหว่างสองสถานีตั้งแต่ ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยในอดีตเทคโนโลยี ของระบบไร้สายส่วนใหญ่นั้นจะใช้ในทางการทหารซึ่งมี ต้นทุนที่สูงเมื่อจะนำมาใช้โดยทั่วๆ ไป กระทั่งถึงวันนี้ ต้องขอขอบคุณเทคโนโลยีซิลิกอนที่ได้พัฒนาอย่างก้าวหน้า ด้วยการผลิตชิปขนาดเล็ก พลังงานต่ำ ประสิทธิภาพสูง ทำให้ต้นทุนการ ผลิตนั้นลดต่ำลงเรื่อยๆ จึงมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆ ของระบบไร้สายเพื่อนำเสนอแก่ผู้บริโภคเป็นลำดับมา
 
       
 จากรูปแบบการใช้งาน คอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะการใช้บริการอินเตอร์เน็ต การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายจึงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เป็นลำดับ จากที่เคยเชื่อมต่อกันแบบใช้สายโดยมีอีเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้วย การเชื่อมต่อ สาย UTP เพื่อนำสัญญาณข้อมูลผ่านอุปกรณ์อย่างฮับหรือ สวิตซ์แล้วเชื่อมเข้าสู่โลกไซเบอร์ด้วยการหมุนโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์หรือ วงจรดิจิตอลความเร็วสูงอื่นๆ อย่าง ISDN หรือมาตรฐานที่กำลังมาแรงอย่าง ADSL ในขณะนี้
        แต่วิถี ชีวิตทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กลับกลายมาเป็นความต้องการที่หลากหลาย ความต้องการอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก พกพาติดตัวได้สะดวก มีความคล่องตัว มีความยืดหยุ่นสูงและต้องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ระบบอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเวลาตามที่ ต้องการ ระบบเครือข่ายไร้สายจึงเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าของระบบเครือข่าย เดิมๆ จากที่เคยมีมา ด้วยความสามารถที่ตอบสนองความต้องการที่ว่าได้ ไม่ว่าจะ เป็นความยืดหยุ่นต่อการใช้ ความคล่องตัวต่อการติดตั้งใช้งาน ลดข้อยุ่งยากในการเดินสายสัญญาณ การดูแลรักษา ทั้งความสวยงามของสถานที่ใช้งานที่ไม่ต้อง รื้อ เจาะผนังเพื่อเดินสายนำสัญญาณใหม่ เพียงใช้คลื่นสัญญาณวิทยุโดยการใช้เสาอากาศที่ติดตั้งในการรับส่งสัญญาณ ข้อมูลเท่านั้น
ข้อดีของเครือข่ายไร้สาย
        ข้อดีของระบบไร้สาย มีอยู่หลายข้อด้วยกัน ต้องขอขอบคุณกับการพัฒนาเทคนิคทางดิจิตอลทำให้การบีบอัดสัญญาณข้อมูลทำได้ มาก จึงทำให้สามารถจัด ส่งสัญญาณวิทยุในย่านความถี่สูงได้ ดังนั้นระบบเครือข่ายไร้สายจึงตอบสนองความต้องการดังนี้
ความคล่องตัว 
        ปัจจุบันอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีขนาดเล็ก ประสิทธิภาพสูง สามารถพกติดตัวได้สะดวก พร้อมทั้งการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด ผู้ใช้ไม่จำเป็นที่จะต้องนั่งอยู่กับที่ อย่างเช่น ภายในห้องประชุมก็ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ ซึ่งไม่สะดวกในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบใช้สาย และการ ปรับแต่งก็ทำได้ลำบาก ถ้าเปลี่ยนมาใช้ระบบไร้สายก็เพียงแต่ใช้การ์ด PCMCIA เท่านั้น ส่วนจุดเชื่อมต่ออย่าง Access Point ก็นำไปติดตั้งไว้ตามผนังหรือ เพดานห้องก็ทำได้ง่าย โดยอีกด้านใช้เชื่อมต่อกับระบบไร้สายนี้ ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้นก็เชื่อมเข้ากับระบบใช้สายที่ใช้กันอยู่ปกติ
ขยายระบบได้ง่าย 
         ระบบไร้สายไม่ จำเป็น จะต้องเดินสายสัญญาณ จึงไม่ต้องเจาะผนังหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ ถ้าต้องการเพิ่มขยายระบบก็เพียงติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเท่านั้น หรือกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระหว่างอาคาร ก็ทำได้ง่ายกว่า โดยสามารถใช้เสาอากาศในการส่งสัญญาณวิทยุได้ จึงช่วยให้ปรับขนาดองค์กรได้ อย่างเหมาะสมกับความต้องการได้
คุ้มค่าต่อการลงทุน
         อุปกรณ์ของระบบไร้ สายมีแนวโน้มที่ลดลงเรื่อยๆ ทั้งอุปกรณ์ของแต่ละผู้ผลิตก็สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั้งนี้ก็เพราะว่า ระบบไร้สายนั้นจะมีมาตรฐาน กลางที่ใช้ในการอ้างอิงที่ถูกกำหนดขึ้นโดย IEEE นอกจากนั้นแล้วการบริหารจัดการระบบก็ทำได้สะดวกกว่าระบบใช้สายด้วย
 
 
มาตรฐานระบบไร้สายที่ใช้กันอยู่
        ในปัจจุบันระบบไร้ สายมีมาตรฐานให้ได้เลือกใช้ 4 มาตรฐานหลักๆ ด้วยกัน อันได้แก่ มาตรฐาน IEEE 802.11b ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ภายใน องค์กรธุรกิจและ การใช้งานโดยทั่วไป เนื่องจากมีระยะทางในการให้บริการเป็นบริเวณกว้างกว่า, มาตรฐาน IEEE 802.11a เป็นมาตรฐานที่ให้แบนด์วิดท์กว้าง แต่ก็มีระยะ ทางในการให้บริการที่ใกล้กว่าแบบแรก, มาตรฐาน Bluetooth ถูก พัฒนามาใช้ในระยะทางใกล้ๆ สำหรับสร้าง เครือข่ายขนาดเล็กๆ โดยเข้ามาแทนเทคโนโลย ีอินฟราเรดเดิม ตัวอย่างการใช้งานก็เช่น ภายในห้องประชุม ห้องเรียนและภายในบ้าน และเทคโนโลยีสุดท้ายก็คือ IEEE 802.11g ซึ่งรวมข้อดีของ IEEE 802.11b และ IEEE 802.11a เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีความสามารถในการถ่ายเทข้อมูลมากเหมือนกับ IEEE 802.11a คือ 54Mbps ทั้งมีรัศมีของสัญญาณ ไปได้ไกลเท่ากับ IEEE 802.11b นอกจากนั้นยังใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ตามมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้อีกด้วย ซึ่งสามารถดูการเปรียบเทียบเทคโนโลยีทั้ง 4 ได้ดังตาราง
 
Standard
Throughput
Range
Frequency
Hot-spot access
Power drain
Interference
risk
Cost
IEEE802.11a
22Mbps
100 feet
2.4GHz
Poor
High
Low
High
IEEE802.11b
5Mbps
150 feet
2.4GHz
Excellent
Moderate
High
Low
IEEE802.11g
20Mbps
150 feet
5GHz
Excellent
Moderate
High
Moderate
Dual band
22Mbps
150 feet
2.4GHz/5GHz
Excellent
Moderate
Low
High
Bluetooth
500Kbps
30 feet
5GHz
Poor
Low
High
Moderate
 
มาตรฐาน IEEE 802.11b 
        IEEE 802.11b เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้ กันมากที่สุดในปัจจุบันนี้และมีอุปกรณ์ที่รองรับอย่างมากมายทีเดียว ระบบไร้สายประเภทนี้ใช้การส่งคลื่น สัญญาณวิทยุในย่านความถี่ 2.4GHz และสามารถส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11Mbps ภายในรัศมี 300 เมตร ด้วยความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แบนด์วิทด์ที่ได้รับและระยะทางที่เชื่อมโยงได้ไกลจึงทำให้เป็นมาตรฐานที่ นิยมใช้งานภายในองค์กรโดยทั่วไป ทั้งยังรองรับการใช้งานได้หลากหลายไม่ว่า จะทำงานภายในบ้านโดยไม่ต้องเข้าสำนักงานหรือในชีวิตการ ทำงาน แต่ข้อเสียของมาตรฐานนี้ก็คือ ใช้ย่านความถี่ในระยะของย่านความถี่ที่โทรศัพท์ใช้และ อุปกรณ์ Bluetooth จึงทำให้ส่งผลต่อความปลอดภัย ในการใช้ข้อมูล เนื่องจากข้อมูลจะมีโอเวอร์เฮดที่สูง ถ้าพื้นที่ใช้งานมีสิ่งกีดขวาง และสัญญาณไฟฟ้า รบกวน ก็จะทำให้คุณภาพของสัญญาณลดต่ำลง จึงทำให้ความสามารถในการนำพาข้อมูลจริงๆ นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 5 Mbps
มาตรฐาน IEEE 802.11a
        IEEE 802.11a มีข้อดีกว่า IEEE 802.11b อยู่ 2 ประการ คือ ใช้ย่านความถี่เฉพาะต่างหาก ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่สูง อยู่ในระหว่าง 5.15GHz ถึง 5.35GHz และให้แบนด์วิดท์ที่สูงกว่า โดยในทางทฤษฎีสูงสุด 54Mbps แต่ในการใช้งานจริงแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 22Mbps มาตรฐานนี้จึงเหมาะที่จะนำมา ใช้ในการจัดส่งข้อมูลเสียงและภาพกราฟิก แต่ข้อเสียหลักๆ ก็คือ มีรัศมีทำการอยู่แค่ 75 ฟุต ดังนั้นถ้าต้องการระยะทางที่ไกล ขึ้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ติดตั้งอุปกรณ์ Access Point เพิ่มขึ้นมาก นอกจากนั้นแล้วอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐานนี้ในปัจจุบันก็ยังมีราคาแพงเมื่อ เทียบกับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากว่าทั้งสองมาตรฐานนี้ใช้ย่านความถี่ ต่างกัน จึงทำให้อุปกรณ์ของทั้งสองประเภทนั้น ไม่สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ แต่อย่างไรก็ตามก็มีผู้ผลิตออก ผลิตภัณฑ์แบบ Dual band ที่ใช้ได้ทั้งสองย่านความถี่ จึงเหมาะกับองค์กรที่มีการใช้งานทั้งสองมาตรฐานแล้วต้องการให้อุปกรณ์ใช้งาน ร่วมกันได้ แต่เมื่อ เปรียบเทียบในแง่ของประสิทธิภาพของระบบแล้วดูจะไม่มากเท่ากับการใช้มาตรฐาน ใดมาตรฐานหนึ่งโดยเฉพาะ นอกจากนั้นก็ยังมีราคาแพงเพิ่มขึ้นไปอีกเช่น เดียวกัน
ย้ายระบบไปสู่มาตรฐาน IEEE802.11g
IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานที่จะเข้า มาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากมีค่า Throughput อยู่ที่ 22 Mbps ทั้งยังสามารถ ที่จะใช้งานร่วมกันกับอุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน IEEE 802.11b จึงทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน แปลงโครงสร้างพื้นฐานของระบบไร้สายที่ใช้กันอยู่เดิมอย่าง IEEE 802.11b ก็เพียงแต่อัพเกรดเฟิร์มแวร์เท่านั้นหรือใช้งานกับ Access Point เลยก็ทำได้เช่นเดียวกัน โดย IEEE 802.11g ใช้เทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลได้ทั้งแบบ CKK ตามมาตรฐาน IEEE 802.11b หรือจะใช้ OFDM ตามมาตรฐาน IEEE 802.11a ก็ได้
 
 
มาตรฐาน Bluetooth 
        Bluetooth เป็นมาตรฐานที่แตกต่างจากข้อกำหนดของมาตรฐานชุด IEEE 802.11 โดยเป้าหมายในการพัฒนาก็เพื่อความยืดหยุ่น ในการใช้งานและใช้ กับระบบเครือข่ายขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า PAN (Personal Area Network) ซึ่งขนาดของ Throughput เท่ากับ 500Kbps และมีรัศมีการส่งสัญญาณที่ 10 เมตร อุปกรณ์ที่รองรับ มาตรฐานนี้จึงเชื่อมโยงการทำงานทั้งบริเวณสนามบิน ตามร้านคอฟฟี่ช๊อปต่างๆ เพื่อที่จะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์พกพา จำ พวกโน้ตบุ๊ก พีดีเอ อุปกรณ์ที่รองรับเทคโนโลยีในปัจจุบันนิยมนำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือและ อุปกรณ์พกพาต่างๆ นอกจากนั้นก็ยังจะขยายไปถึงอุปกรณ์เครื่อง ใช้ไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทีวี เครื่องเสียง เครื่อง เล่นวิทยุ ซึ่งเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีอินฟราเรดเดิมนั่นเอง
อุปกรณ์ในระบบไร้สาย
        อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบเครือข่ายไร้สายนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบเห็นกันโดยทั่วๆ ไปก็มีดังนี้
Access Point
        เป็นอุปกรณ์กระจาย สัญญาณไปยัง อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณในเครือข่าย โดยที่ตัว Access Point ทำหน้าที่เหมือนกับฮับหรือสวิตซ์ในระบบเครือข่ายใช้ สาย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์บางรุ่นที่ทำหน้าที่เป็น Switch ให้กับระบบเครือข่าย ใช้สายปกติ โดยจะมี Port RJ-45 รวมอยู่ด้วย 4-8 Port นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความ สามารถในการเป็น Print Server หรือ Router ที่เชื่อมโยง เข้ากับโมเด็มความเร็วสูงแล้วกระจายการใช้งาน อินเตอร์เน็ตไปให้เครื่องอื่นๆ หรือรองรับคุณสม บัติ DHCP เพื่อแจกจ่ายไอพีแอดเดรสให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่
 
 
PCI Card 
        เป็นการ์ดระบบ เครือข่ายไร้สายที่ใช้กับคอมพิวเตอร์พีซีโดยเฉพาะ มีอินเตอร์เฟสแบบ PCI ที่สามารถจะเสียบเข้ากับสล็อตแบบ PCI ที่ยังว่างอยู่ได้ มี ลักษณะเช่นเดียวกับการ์ดแลน แต่ส่งสัญญาณผ่านเสาอากาศที่ติดตั้งมาด้วย แทนการส่งสัญญาณผ่านสายนำสัญญาณอย่าง UTP
 
 
PC Card หรือ PCMCIA Card 
        เป็นการ์ดระบบ เครือข่ายไร้สายที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กหรือพีดีเอ โดยใช้กับอินเตอร์เฟสแบบPCMCIA มีเสาอากาศอยู่ภายในจึงดูไม่เกะกะรกตา สามารถเชื่อมต่อรับสัญญาณจาก Access Point หรืออุปกรณ์ไร้สายอื่น ๆ ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับ LAN Card แบบ PCMCIA ทั่วไป
 
 
USB Card 
        ใช้ติดตั้งกับพอร์ต USB ใช้เชื่อมต่อได้ทั้งคอมพิวเตอร์พีซี หรือเครื่องโน้ตบุ๊กที่มีพอร์ต USB ทำงานในลักษณะเดียวกับการ์ดแลน แต่ส่งสัญญาณผ่าน เสาอากาศที่ติดตั้งมาด้วย แทนการส่งสัญญาณผ่านสายนำสัญญาณแบบ UTP
 
 
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อ
พื้นที่ที่จะติดตั้ง
        ก่อนที่จะเลือกใช้ ระบบไร้สายนั้นก็ควรสำรวจพื้นที่ที่จะนำมาใช้งานด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่ ในบริเวณที่มีสัญญาณไฟฟ้ารบกวนมากๆ อย่างบริเวณที่มี เครื่องจักรติดตั้ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพ ของสัญญาณลดต่ำลง ระยะทางที่จะใช้อยู่ในรัศมีของคลื่นสัญญาณ ที่จะจัดส่งถึง หรือไม่ ทั้งนี้เพราะถ้าระยะทางไกลก็จำเป็นที่จะต้องจัดซื้ออุปกรณ์ Access Point เพิ่มเติมตามไปด้วยนั่นเอง นอกจากนั้นก็ยังต้องคำนึงถึงความต้องการใช้ งานด้วยว่า มีมากน้อยเพียงใด มีผู้ใช้งานกี่คน เมื่อคำนวณแล้วจึงจะเลือกซื้อได้ถูกต้องนั่นเอง
มาตรฐานไหนดี 
        ปัจจุบันมาตรฐานที่ นิยมใช้กันอยู่นั้นคือ IEEE 802.11b แต่มาตรฐานที่จะกลายมาเป็นมาตรฐานโดยทั่วไปของระบบเครือข่าย ไร้สายในระยะใกล้นี้ก็เห็น จะเป็นมาตรฐาน IEEE 802.11g เห็นได้จากผู้ผลิตส่วนใหญ่เริ่มที่จะส่งผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้ออกมามากมาย แล้ว ด้วยข้อดีของมาตรฐานนี้ก็คือรองรับการ ทำงานของอุปกรณ์ ไร้สาย IEEE 802.11b เดิมจึงทำให้ไม่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน เมื่อต้องการเปลี่ยนจากมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็เพียงแต่ ทำการ อัพเกรดเฟิร์มแวร์ให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11g เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ดังนั้นสำหรับท่านที่กำลังจะหันมาใช้ระบบไร้สาย การซื้ออุปกรณ์ที่รองรับ มาตรฐาน IEEE 802.11g ดูจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า แต่สำหรับท่านที่เคยใช้มาตรฐานอย่าง IEEE 802.11a หรือระบบที่ มีการผสมผสานกันทางเลือก ที่จะทำให้สามารถใช้ได้ทั้งสองระบบก็คือ การเลือก Access Point ที่เป็นแบบ Dual Band ที่ราคาจะแพงกว่าปกติแต่ ก็ทำให้ท่านไม่ต้องลงทุนจัดซื้อ อุปกรณ์เครือข่าย ใหม่ทั้งหมด
ระบบอินเทอร์เฟซที่ใช้
        ระบบอินเทอร์เฟซ นั้นใช่ว่าจะควรละเลยไป เพราะการใช้งานที่ง่ายนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับการคอนฟิกค่าการทำงานต่างๆ นั่นเอง ควรเลือกที่สามารถคอนฟิก ค่าผ่านเว็บบราวเซอร์ได้ หรือมีโปรแกรมจัดการการทำงานที่ทำได้สะดวกที่สุด
คำนึงถึงความปลอดภัย
        สิ่งที่ควรคำนึงถึง ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ระบบไร้สายอีกประการหนึ่ง ก็คือการสื่อสารแบบไร้สายนั้นจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่วิทยุ ในการส่งสัญญาณข้อมูล แทนการใช้สายนำสัญญาณ จึงต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเข้ารหัสข้อมูล และความปลอดภัยในการส่งข้อมูล ทั้งนี้ก็เพราะว่าระบบไร้สายนั้นจะกระจาย คลื่น ไปทั่ว ถ้ามีผู้ดักจับข้อมูลในบริเวณรัศมีก็สามารถที่ทำได้ ดังนั้นความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย การเลือกการ์ดและ Access Point นั้นจึงต้อง คำนึงถึงเทคนิคในการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งเทคนิคพื้นฐานในตอนนี้ก็คือ WEP-Wireless Encryption Protocol 64/128 บิต ซึ่งเท่านี้ ก็คงจะเพียงพอ สำหรับท่านที่ใช้ระบบไร้สาย เป็นเครือข่ายส่วนตัวภายในบ้าน แต่สำหรับในระดับองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูงนั้นดูจะไม่เหมาะสมเท่าไร นัก จึงต้อง พิจารณาคุณสมบัติเพิ่มเติม สามารถที่จะทำการกำหนดหมายเลข ไอพีหรือหมายเลข MAC ในการใช้งานเครือข่าย ไร้สายได้ หรือต้องการคุณสมบัติเพิ่มเติม ขึ้นไปอีกก็คือ คุณสมบัติที่เรียกว่า IPSec VPN ซึ่ง ใช้งานเป็นเครือข่ายส่วนตัวได้ นอกจากนั้นสำหรับ ท่านที่ต้องการใช้งานระบบไร้สาย กับระบบใช้สายเดิม ร่วมกันนั้นก็ควรจะเลือกอุปกรณ์ Access Point ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อกับระบบใช้สายเดิม เท่านี้ทั้งระบบไร้สายและระบบใช้สายของท่านก็พร้อมที่จะให้ท่านใช้ ได้ทั้งสองระบบแล้ว
สรุป 
        Mobile (Life) Generation จะกลายเป็นยุคแห่งเครื่องอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย มีขนาดเล็ก ประสิทธิภาพสูง คล่องตัว พกพา สะดวก เชื่อมโยงกันเป็นระบบ เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ได้ทุกที่ ทุกเวลา ดูเหมือน Wireless LAN จะเป็นเทคโนโลยีที่ตอบสนองสิ่งเหล่านี้ได้อย่างลงตัวทีเดียว