
6. ส่วนแสดงความคิดเห็น(Comments)
ส่วนความคิดเห็น เป็นบริเวณที่มีการถกกันเกี่ยวกับบทความจากผู้อ่าน/ผู้เยี่ยมชม หน้าที่ของผู้ออกแบบ จะต้องออกแบบให้บริเวณนี้ดูเป็นการสนทนากัน ด้วยการแยกแต่ละความคิดเห็นออกจากกัน อาจจะด้วยการกำหนดหมายเลขให้แต่ละความคิดเห็น วิธีนี้ยังช่วยให้ง่ายต่อการอ้างอิงความคิดเห็นต่าง ๆ อีกประการ คือแยกความคิดเห็นของเจ้าของบทความ ให้ต่างจากความคิดเห็นทั่วไป เพื่อเอาไว้คั่นว่าได้ตอบความเห็นของผู้อ่านถึงไหนแล้ว หรือ ดูว่ามีความเห็นเพิ่มมาอีกหรือป่าว
ตัวอย่างส่วนแสดงความคิดเห็นที่ดี
Chris’ ออกแบบแบบเรียบง่าย อ่านง่าย แยกชื่อผู้ออกความคิดเห็น ออกจาก ความคิดเห็นอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
2. Darkmotion
แยกส่วนชื่อผู้ออกความเห็น กับ ความคิดเห็น และดูแล้วได้อารมณ์มาก เหมือนการคุยกัน
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง มีตัวเลขบอกลำดับความคิดเห็น และเน้นชื่อผู้ออกความคิดเห็นด้วยกล่องสีฟ้า ทำให้แยกออกจากส่วนของความคิดเห็น
วิธีทำให้การออกแบบส่วนแสดงความคิดเห็นออกมาดูดี
- แยกแต่ละความคิดเห็นออกจากกัน วิธีที่ง่ายที่สุด ทำได้ด้วยการใช้สี และอีกวิธีคือ วางไว้คนละที่กันอาจจะใช้กรอบครอบแต่ละส่วน หรือใช้เส้นคั่นก็ได้
- ใช้สี และ การออกแบบ ให้ชื่อความคิดเห็นของเจ้าของบท ความเด่นกว่าความคิดเห็นของผู้เยี่ยมชมคนอื่น ๆ เล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรแตกต่างกันแบบสุดโต่ง
- แยกข้อมูลอื่น ๆ (ชื่อ วันที่ หมายเลขลำดับการโพสความคิดเห็น) ออกมาจากส่วนของความคิดเห็นเพื่อให้มองเห็นได้ง่าย
7. ส่วนท้ายของบทความ(Post’s Footer)
ส่วนท้ายของบทความจะอยู่ระหว่างด้านล่างบทความ บรรทัดสุดท้ายกับส่วนแสดงความคิดเห็น บ่อยครั้งที่เราจะไม่ค่อยให้ความสนใจกับส่วนนี้สักเท่าไหร่ และคิดว่าไม่สำคัญ แต่ส่วนท้ายของบทความก็มีค่ามากเหมือนกัน เพราะมันเป็นส่วนที่ชักจูงผู้เยี่ยมชม/ผู้อ่าน ไปยังบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือ บทความที่สำคัญ
ตัวอย่างส่วนท้ายของบทความที่ดี
การออกแบบบล็อกแบบ Collis มาก ให้ความรู้สึกเรียบร้อย สะอาด ดึงดูดความสนใจ
ในตัวอย่างนี้เขาทำได้ดีทีเดียว แยกส่วนเนื้อหาออกจากส่วนเพิ่มเติ่มพิเศษในส่วนท้ายบทความได้ชัดเจน
2. PSDTuts
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบบล็อกแบบ Collis ดึงความสนใจผู้อ่านมาสู่ส่วนที่มีการโหวต และ ทำบุคมาร์คบทความ เขายังแยกส่วนนี้กับส่วนถัดไปออกจากกันด้วยสีพื้นหลัง
ส่วนท้ายบทความของ Standards of Life ให้ความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย การสลับสี similar posts(เนื้อเรื่องที่คล้ายกัน) ดูแล้วสบายตา
วิธีทำให้การออกแบบส่วนท้ายบทความออกมาดูดี
- ทำให้ส่วนท้ายบทความแตกต่างจากส่วนเนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่าทั้งสองส่วนนี้ไม่ไม่ใช่ส่วนเดียวกัน และยังช่วยให้ส่วนท้ายบทความเด่นขึ้น เทคนิคนนี้ทำได้โดยใช้สีพื้นหลังที่ต่างกัน
- ตัดสินใจให้ได้ก่อนว่าจะเอาอะไรมาใส่ไว้ในส่วนท้ายบทความนี้บ้าง จะได้ไม่ต้องมาทำแล้วลบทิ้งและทำใหม่ ภายหลัง เป็นเหตุให้เสียเวลา
- เนื้อหาที่จะนำมาใส่ในส่วนนี้นั้น น่าจะต้องมี บทความที่คล้ายกัน (related posts) เพื่อช่วยให้ผู้อ่านไปยังเรื่องที่น่าสนใจคล้ายกับเรื่องนี้ได้
8. ส่วนท้ายของบล็อก(Footer)
ส่วนท้ายของบล็อกเป็นส่วนที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมัน อย่างเต็มที่ (ใช้แค่ใส่ copyright ) แต่ส่วนนี้สามารถนำเมนูรองมาใส่ไว้ได้เพื่อลดความแออัดของลิงค์ ในเมนูรองในด้านข้างบล็อก
เมื่อผู้อ่านมาพบกับส่วนท้ายของบล็อกจะเป็นเวลาที่ผู้อ่าน อ่านเนื้อหาจบแล้ว หรือ อ่านส่วนแสดงความคิดเห็นเสร็จแล้ว นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่คุณจะได้นำเสนอ บทความอื่น ๆ ในบล็อก ด้วยการวางเมนูรองไว้ในส่วนท้ายบล็อกนี้
ลิงค์ที่น่าจะนำมาใส่ควรเป็น บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุด บทความแนะนำ คุณอาจจะใส่ลิงค์ เกี่ยวกับเรา และ การติดต่อไปด้วย ถ้าหากเป้าหมายของคุณคือ ผู้เยี่ยมชมบล็อกติดต่อคุณ
ตัวอย่างส่วนท้ายของบล็อกที่ดี
1. Designshack
Designshack ใช้ส่วนท้ายของบล็อกเป็นที่วางเมนูรองทั้งหมด โดยด้านข้างบล็อกจะไม่มีเมนูรองเลย
ความตั้งใจของเจ้าของบล็อก เขาให้ความสำคัญกับส่วนนี้พอ ๆ กับส่วนหัวเลย ผลจึงออกมาดูงดงามยิ่งนัก
เป็นส่วนท้ายบล็อกที่สะอาด เรียบง่าย มาก ๆ สื่ออกมาได้อย่างชัดเจนว่าต้องการอะไร
วิธีทำให้การออกแบบส่วนท้ายของบล็อกออกมาดูดี
- ออกแบบให้ส่วนท้ายบล็อกตัดกับส่วนของเนื้อหาบล็อก เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่า ณ ตอนนี้เขาได้อยู่ที่ส่วนท้ายของบล็อกแล้ว
- ใส่ลิงค์เท่าที่คุณคิดว่าผู้เยี่ยมชมต้องการใช้ ไม่ควรใส่เรื่อยเปื่อย จับใส่จนรก ทำให้ผู้ใช้หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ สิ่งที่ไม่ควรนำมาใส่เช่น ความคิดเห็นล่าสุด
- ออกแบบอย่างเรียบง่ายไม่ต้องฉูดฉาดเกินไป เน้นที่การใช้ประโยชน์
9. โฆษณา(Advertisements)
ในปัจจุบันหลาย ๆ บล็อก ได้นำโฆษณามาแปะไว้ในบล็อก จึงทำให้ส่วนนี้มีความสำคัญมากขึ้น ต้องการการออกแบบอย่างพิถีพิถัน เพื่อไม่ให้บล็อกดูน่าเกียจเกินไปหรือ เพื่อไม่ให้โฆษณษมาบดบังความสำคัญของเนื้อหา
ถ้าหากผู้เยี่ยมชมได้พบเจอกับโฆษณาที่จัดวางไม่ถูกที่ ดูน่าเกียจ อาจจะทำให้ผู้เยี่ยมชมเอือมระอาบล็อกของคุณ แทนที่คุณจะได้เงินจากการคลิกโฆษณา เขาจะไม่กลับมาบล็อกคุณอีกเลย คุณจึงควรให้ความสำคัญกับเนื้อหามากกว่าโฆษณา หากคุณออกแบบและวางโฆษณาไว้อย่างถูกหลัก เงินจากค่าโฆษณามันก็ไม่หนีไปไหนหรอก
ตัวอย่างโฆษณาที่ดี
1. Copyblogger
Copyblogger ใช้โฆษณาที่มีขนาดมาตรฐานทั่วไป (125 x 125) ไว้ด้านบนของบล็อก โดยการระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่านี่คือผู้สนับสนุน แต่ก่อนที่คุณจะเห็นโฆษณาคุณจะได้พบกับ tagline ของเขาก่อน ทำให้เห็นว่าเขาให้ความสำคัญกับเนื้อหาบล็อกมากกว่าโฆษณา
Webdesignerwall ไม่ได้มีเพียงแค่โฆษณาขนาดมาตรฐาน แต่ยังมีโฆษณาอยู่ตรงกลางเนื้อหาด้วย และ ด้วยการออกแบบของเขาทำให้ผู้เยี่ยมชมทราบได้ว่านี่เป็นโฆษณา
3. Problogger
Problogger วางโฆษณาไว้ถัดจากโลโก้ของบล็อก แต่มันไม่ได้บดบังความน่าสนใจของโลโก้และเนื้อหาบล็อกเลย
วิธีทำให้การออกแบบโฆษณาออกมาดูดี
- ถ้าคุณตั้งใจไว้ว่าจะเอาโฆษณามาแปะไว้ในบล็อก ในระหว่างการออกแบบบล็อกคุณจะต้องให้ความสำคัญกับมันด้วย เพื่อให้โฆษณาที่เอามาแปะ เข้ากับบล็อกได้อย่างลงตัว
- โฆษณาที่เป็นที่นิยมมาก คือ google’s adsense และโฆษณาขนาด 125 x 125 Google’s adsense เป็นโฆษณาที่ยืดหยุ่นอย่างมาก คุณสามารถเลือกขนาดได้ หรือ รูปแบบการแสดงผลได้ตามที่คุณต้องการ แต่โฆษณาขนาด 125 x 125 จะไม่ค่อยยืดหยุ่นสักเท่าไหร่ โฆษณาประเภทนี้มักจะนำไปใส่ไว้ด้านข้างบล็อก
- หลังจากที่ได้ตัดสินใจคร่าว ๆ ไว้แล้วว่าจะใช้โฆษณาแบบไหนก็ให้คุณหาตัวอยางโฆษณาแบบนั้น แล้วคัดลอกมาแปะไว้ในบล็อกคุณ แปะหลอก ๆ ไว้ก่อน เพื่อที่การออกแบบส่วนอื่น ๆ จะได้เข้ากับบล็อกของคุณได้อย่างลงตัว
- อย่าลืมออกแบบบล็อกให้สังเกตเห็นโฆษณาได้ง่าย แต่จะต้องไม่บดบังความสำคัญของเนื้อหา ด้านข้างของบล็อกเป็นส่วนที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำโฆษณาไปแปะและ ส่วนที่แย่ที่สุดคือการนำโฆษณาไปไว้ในที่ ๆ ผู้เยี่ยมชมจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเมนูของบล็อก
Google มีโฆษณาที่เป็นชุดของลิงค์จำนวนหนึ่ง และ ผมมักจะสับสนคิดว่ามันคือเมนูของบล็อก ดังนั้น การระบุว่านี่คือโฆษณาจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
ข้อมูลจาก http://www.divland.com/blog/2008/06/12/how-to-blog-design/