สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

เรื่องน่ารู้ของเทคโนโลยีล่าสุด Wireless-N

สัดส่วนการเข้ารหัส (Coding Rate) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้ใช้งานไม่สามารถเลือกกำหนดเป็นค่าใดๆ ก็ได้ตามใจชอบ หากแต่มาตรฐาน Wireless-N มีการกำหนดรูปแบบการมอดูเลตและเข้ารหัสข้อมูลไว้เป็นค่าตายตัว ฉบับนี้กล่าวถึงการแทนค่า MCS ตามรายละเอียดที่แสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 การแทนค่า MCS เพื่อหาความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ใช้ในการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุของมาตรฐาน Wireless-N


สมมติว่าในการสื่อสารผ่านเครือข่าย Wireless-N ในช่วงขณะหนึ่งๆ มีการกำหนดค่า MCS = 11 ซึ่งหมายถึงการใช้สายอากาศสื่อสาร 2 ชุด มีการมอดูเลตสัญญาณข้อมูลเป็นแบบ 16-QAM ชนิดที่ใช้สัดส่วนการเข้ารหัสเท่ากับ 1/2 หากกำหนดให้ช่องความถี่วิทยุที่ใช้ในการสื่อสารมีแบนด์วิทกว้าง 40 เมกะเฮิรตซ์ต่อช่อง พร้อมกำหนดค่า GI = 400 นาโนวินาที (ns) ก็สามารถกล่าวได้ว่า การสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุในขณะนั้นเป็นไปด้วยอัตราเร็ว 120 เมกะบิตต่อวินาที
รูปที่ 5 อธิบายความหมายของสัดส่วนการเข้ารหัสและค่า GI โดยสัดส่วนการเข้ารหัสจะหมายถึงสัดส่วนภายในก้อนข้อมูลแต่ละก้อนที่มีการส่งผ่านคลื่นวิทยุระหว่างอุปกรณ์ Access Point กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะเป็นในทิศทางใดก็ตาม) ว่าภายในก้อนข้อมูลนั้นๆ มีเนื้อหาสาระที่แท้จริง (Content) อยู่เป็นกี่ส่วนเมื่อเทียบกับเนื้อที่จำนวนบิตทั้งหมด ข้อมูลส่วนที่เหลือก็จะนับว่าเป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่ถูกอุปกรณ์สื่อสารใส่เพิ่ม เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและแก้ไขความผิดพลาดกับข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการส่งผ่านคลื่นความถี่วิทยุ ดังนั้นสัดส่วนการเข้ารหัส 1/2 จึงหมายถึง การกำหนดให้ก้อนข้อมูลที่ถูกส่งผ่านคลื่นวิทยุมีเนื้อที่สำหรับบรรจุเนื้อหาที่แท้จริงเพียงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งไว้ใช้บรรจุข้อมูลส่วนที่ใช้ควบคุมและแก้ไขความผิดพลาด และสัดส่วนการเข้ารหัส 5/6 จะหมายถึง การกำหนดเนื้อที่สำหรับบรรจุเนื้อหาที่แท้จริงไว้ถึง 5 ส่วน และอีก 1 ส่วนที่เหลือไว้ใช้บรรจุข้อมูลที่ใช้แก้ไขข้อผิดพลาด หากมั่นใจว่าพื้นที่ที่ติดตั้งอุปกรณ์ Access Point ปลอดจากสัญญาณรบกวน ผู้ใช้งานก็สามารถเลือกกำหนด MCS ที่ใช้สัดส่วนการเข้ารหัสสูงๆ ได้ เพราะโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลในส่วนที่ใช้แก้ไขข้อผิดพลาดจะมีน้อย
สำหรับค่า Guard internal หรือ GI จะหมายถึงช่วงเวลาที่ทั้งอุปกรณ์ Access Point และเครื่องคอมพิวเตอร์จะเว้นระยะ ก่อนที่จะส่งก้อนข้อมูลถัดไปติดตามก้อนข้อมูลก่อนหน้า
 ทั้งนี้ผู้ใช้งานมีตัวเลือกสำหรับกำหนดค่า GI ไว้สองค่า คือ 400 นาโนวินาทีและ 800 นาโนวินาที หากเลือกค่า GI = 400ns ก็ย่อมจะมีผลทำให้ก้อนข้อมูลถูกส่งถี่ขึ้น แต่ก็จะมีผลทำให้เกิดการสร้างภาระการทำงานให้ทั้งกับอุปกรณ์ Access Point และเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องแน่ใจว่าระบบการสื่อสารทั้งหมดจะไม่เกิดปัญหาเนื่องจากภาวะ overload ได้
 
ข้อมูลอ้างอิง http://www.raspberry.co.th/webboard/index.php?topic=37.0