สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

บาร์โค้ด, หนังสือ

การพิมพ์บาร์โค้ดติดหนังสือ                          
               
         
การออกเลขบาร์โค้ดหนังสือ ให้กับหนังสือแต่ละเล่ม ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  การทำงานร่วมกันได้ราบรื่นขึ้น เปรียบเหมือนมีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเครื่องชี้บอกถึงความแตกต่างกันของแต่ละคนได้ เลขบาร์โค้ดหนังสือ  ก็เป็นเครื่องชี้บอกถึงความแตกต่างของหนังสือชนิดนั้นๆกับเล่มอื่นๆได้เช่นกัน

บาร์โค้ด คืออะไร

       
บาร์โค้ด (barcode) ภาษาไทยเรียกว่า "รหัสแท่ง" คือ การแทนข้อมูลที่เป็นรหัสเลขฐานสอง (Binary codes) ในรูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้างของแถบที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสง เพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์ ระบบนี้เป็นมาตรฐานสากล  ที่นิยมใช้กันทั่วโลก การนำเข้าข้อมูลจากรหัสแถบของสินค้าเป็นวิธีที่รวดเร็วและความน่าเชื่อถือได้สูงและให้ความสะดวกแก่ ผู้ใช้งานได้ดี
        สำหรับระบบบาร์โค้ด จะใช้ควบคู่กับเครื่องอ่าน ที่เรียกว่า เครื่องยิงบาร์โค้ด (Scanner  )  ซึ่งเป็นตัวอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปรหัสแท่ง เป็นข้อมูลตัวเลข หรือตัวอักษร ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งาน 


ลักษณะสำคัญของเลขบาร์โค้ด    
        บาร์โค้ด จะต้องมีความคมชัดของเส้นแต่ละเส้น ไม่ขาดหาย  ขนาดของบาร์โค้ด  จะมีขนาดมาตรฐานของแต่ละระบบอยู่แล้ว โดยสามารถย่อลงได้มากสุด 20%  สำหรับสีที่เลือกใช้ โดยทั่วไปสีดีที่สุดคือตัวบาร์โค้ดสีดำบนพื้นที่สีขาว ซึ่งทำให้อ่านง่าย เนื่องจากเครื่องอ่านอาศัยหลักการสะท้อนแสงของเส้นทึบและพื้นสว่าง ถ้าใช้คู่สีผิดอาจทำให้อ่านไม่ออก ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีสะท้อนแสงในการพิมพ์แท่งรหัสสินค้าและพื้นที่ว่างด้านหลังแท่งรหัส เพราะสีสะท้อนแสงจะสะท้อนแสงใส่เครื่องอ่านทำให้อ่านยากหรืออ่านไม่ได้เลย    
 

รหัสแท่งมหัศจรรย์        
        รหัสแท่ง ๆ เป็นลายเส้นตรง ๆ มีตัวเลขกำกับอยู่ด้านล่าง ที่มักปรากฎบนปกหนังสือ หรือสินค้าแทบทุกชนิด หรือที่เรียกกันว่า "บาร์โค้ด" (barcode) ซึ่งเจ้าสัญลักษณ์คุ้นตาที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างน่ามหัศจรรย์นี้ ได้มีการออกสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม (พ.ศ.2495) หรือวันนี้ เมื่อ 57 ปีก่อน


ประโยชน์ของเลขบาร์โค้ด มีดังนี้
                    ปัจจุบันนี้เราคงเคยเห็นบาร์โค้ดกันตามสินค้าต่างๆ หรือที่เห็นบ่อยที่สุดก็น่าจะที่โทรศัพท์มือถือ    เมื่อเล่น Line , whatapp หรือ Application ต่างๆบนมือถือ ซึ่งจะเป็นบาร์โค้ดที่เป็นแบบ QR code การนำเลขบาร์โค้ดมาใช้ในงานวิทยบริการและสารสนเทศ จะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ
                   1. ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาต่อการยืม-คืนหนังสือแต่ละครั้ง จะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
                   2.ป้องกันข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลข หรือข้อมูลอื่นๆ
                   3.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการข้อมูลจากระบบ จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจ วางแผน และบริหารงานด้านการให้บริการ การจัดซื้อ ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                  4.สะดวกและแม่นยำ ลักษณะการทำงานของบาร์โค้ด จะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์ บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรง ทำให้มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
                  5. ลดความซ้ำซ้อนของงาน
 

ลำดับขั้นตอนการพิมพ์บาร์โค้ด
 


















11.กลับไปเริ่มสร้าง บาร์โค้ด  ตามลำดับที่ 3 – 10 ต่อไปเรื่อยๆ 
       
ห้ามลืม จดบาร์โค้ดตัวสุดท้าย ที่พิมพ์แต่ละครั้งด้วย

 
ประเภทบทความ: