Feed aggregator
สถาบันวิจัยพัฒนา มทร.ศรีวิชัย ขับเคลื่อน “การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP
หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และคณะทำงาน ภายใต้ชุดโครงการ “การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของภาคใต้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขัน” ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในโปรแกรมที่ ๑๓ นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการ การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของภาคใต้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขัน
ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และรศ.ดร. ชุตินุช สุจริต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย ได้จัดกิจกรรมส่งมอบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาทะเลโดยชุมชนสัญจร เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากการหนุนเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของภาคใต้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขันแก่หน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ และ OTOP trader .ในพื้นที่จังหวัดตรัง ได้ร่วมหารือแนวทางขับเคลื่อนผลงานวิจัยในด้านต่างๆเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ภายใต้ วิสัยทัศน์ (Vision) มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาคอย่างมั่นคง โดยมี นายสริห์ หอมหวน พัฒนาการจังหวัดตรัง, นายวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัด, นางสาววาสนา วิโนทัย ผอ. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ,นางสาวสุภากิตติ์ เกลี้ยงสงค์ พาณิชย์จังหวัดตรัง และ OTOP TRADER ทั้งนี้ทุกหน่วยงานมีความยินดีให้คำแนะนำพร้อมสนับสนุนเพื่อให้มีการต่อยอดและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
สถาบันวิจัยพัฒนา มทร.ศรีวิชัย ขับเคลื่อน “การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP
หน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ สถาบันวิจัยพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และคณะทำงาน ภายใต้ชุดโครงการ “การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของภาคใต้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขัน” ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในโปรแกรมที่ ๑๓ นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการ การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของภาคใต้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขัน
ผศ.ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และรศ.ดร. ชุตินุช สุจริต รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย ได้จัดกิจกรรมส่งมอบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาทะเลโดยชุมชนสัญจร เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากการหนุนเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของภาคใต้บนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นสู่ตลาดการแข่งขันแก่หน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ และ OTOP trader .ในพื้นที่จังหวัดตรัง ได้ร่วมหารือแนวทางขับเคลื่อนผลงานวิจัยในด้านต่างๆเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ภายใต้ วิสัยทัศน์ (Vision) มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิภาคอย่างมั่นคง โดยมี นายสริห์ หอมหวน พัฒนาการจังหวัดตรัง, นายวสันต์ สุขสุวรรณ เกษตรจังหวัด, นางสาววาสนา วิโนทัย ผอ. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ,นางสาวสุภากิตติ์ เกลี้ยงสงค์ พาณิชย์จังหวัดตรัง และ OTOP TRADER ทั้งนี้ทุกหน่วยงานมีความยินดีให้คำแนะนำพร้อมสนับสนุนเพื่อให้มีการต่อยอดและพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ห้องสมุดจะกลับมาเปิดบริการพื้นที่นั่งงานหนังสือ (เร็วๆๆๆๆนี้)

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดสงขลา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น เพื่อสุขภาพที่ดีของบุคลากรและนักศึกษาทุกท่าน งานวิทยบริการและสารสนเทศ จึงเปิดให้บริการยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศ แบบ Online และของดให้บริการนั่งอ่านหนังสือภานในพื้นที่งานวิทยบริการและสารสนเทศ เพื่อลดการสะสมและแพร่กระจายของเชื้อภายในตัวอาคาร จึงขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน และขออภัยในความไม่สะดวกในครั้งนี้
อว. หนุน ฉีดวัคซีน AstraZeneca ให้แก่บุคลากร มทรศรีวิชัย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการ อว. มีนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อให้บริการฉีดวัคซีนแก่บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง มทร.ศรีวิชัย ได้ขานรับนโยบายดังกล่าว โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้รับการจัดสรรวัคซีน AstraZeneca ให้กับบุคลากร และนักศึกษา จำนวน 720 โดส ซึ่งมทร.ศรีวิชัยได้เข้ารับการฉีดวัคซีน ณ โรงยิม เนเซี่ยม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มทร. ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช เข้ารับการฉีดวัคซีน ณ ศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เข้ารับการฉีดวัคซีน ณ โรงพยาบาลตรัง และ สถานีวิจัยและฝึกอบรมชุมพร เข้ารับการฉีดวัคซีน โรงพยาบาลชุมพร
ทั้งนี้การที่ บุคลากร และนักศึกษา มทร.ศรีวิชัย เข้ารับวัคซีน เป็นการช่วยควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับบุคลากรและ นักศึกษา ที่สำคัญมหาวิทยาลัยจะได้กลับมาจัดการเรียน การสอนแบบ on site ได้อย่างเร็วที่สุด การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโรคหากมีการติดเชื้อขึ้น มทร.ศรีวิชัย ขอเชิญชวนมาร่วมกันฉีดวัคซีนกัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ลดการสูญเสีย และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ได้โดยเร็วที่สุด
อว.สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ระดับองค์กร มอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ให้กับสถาบันอุดมศึกษา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดสรรโควต้าวัคซีน AstraZeneca ให้หน่วยงานอุดมศึกษาสำหรับฉีดให้กับบุคลากรและนิสิต โดยทำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19 (COVID-19) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ระดับองค์กร เป็นการควบคุมและป้องกันการระบาด รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยให้กับบุคลากรของสถาบันการศึกษา
ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เมื่อวันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564 คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มทร.ศรีวิชัย สงขลา และวิทยาลัยรัตภูมิ ได้รับการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด Covid-19 ) AstraZeneca รอบที่ 1 เข็มที่ 1 จาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
วช. มอบนวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศแบบผลิตออกซิเจน บวก-ลบ" แก่ อว. เพื่อรับมือการแพร่ระบาดโควิด-19
รมว. อว. เสนอรัฐบาลอนุมัติทำ “ศูนย์ปฎิบัติการความปลอดภัยสูงสุดระดับ 4”สู้สงครามเชื้อโรค พร้อมทำ“ห้องไอซียูสัญจร” รักษาผู้ป่วยทั่วไทย และมอบนวัตกรรม “PAPR – ชุดกาวน์กันน้ำ” 5 พันชุดแก่ สธ.
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติและสถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมขับเคลื่อนโครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่”
ทำแบบประเมินความพึ่งพอใจงานวิทยบริการและสารสนเทศ

แจ้งผู้ใช้บริการยืม - คืนหนังสืองานวิทยบริการและสารสนเทศ กรุณาทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานวิทยบริการและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผลการประเมินและข้อเสนอแนะที่ได้จากแบบสอบถามนี้จะถูกนำไปประมวลผลในภาพรวม และนำผลไปใช้ในการปรับปรุงให้บริการของงานวิทยบริการและสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้นต่อไปหรือคลิกที่ลิงค์ >>>>>https://url.rmutsv.ac.th/mrgyj
วช. มอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรและชีววิทยา โคลนนิ่งสัตว์สำเร็จ
อว. จับมือ กห. ลงนามความร่วมมือ ผลักดันงานวิจัยเพื่อความมั่นคง
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิทดสอบสมรรถนะด้านสารสนเทศแบบออนไลน์ ( กลุ่มสอบ G8_2564)
สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2563
2. นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วแต่ไม่มีรายชื่อ (นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา
ปีการศึกษา 2563) ให้ติดต่อสำนักวิทยบริการฯ ผ่ายทางช่องทาง Inbox facebook :: RMUTSV.ARIT เอกสารแนบไฟล์: AttachmentSize

งดบริการพิ้นที่ให้บริการ งานวิทยบริการและสารสนเทศ

ประกาศสำคัญ
งานวิทยบริการและสารสนเทศ ของดใช้อาคารหอสมุด
ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1-31 กรกฎาคม 2564
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19
โดยสามารถตวรจสอบกำหนดส่งหรือยืมต่อทรัพยากรได้ที่ https://opac.rmutsv.ac.th/member/Login.aspx
หรือหากต้องการคืนทรัพยากรสามารถคืนได้ผ่านตู้คืนหนังสือ (ฺBOOK DPOR) บริเวณด้านหน้าอาคารหอสมุด
หากต้องการยืมหนังสือ
Future Thailand สู่อนาคตที่สร้างได้ ด้วยการวิจัยและนวัตกรรม
มทร.ศรีวิชัย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนเกาะสุกร ผลิตภัณฑ์ปูม้าแปรรูป ส่งเสริมรายได้ สร้างอาชีพ ฝ่าวิกฤต COVID 19
จากการทำงานด้านการส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ปูม้า วันนี้ชาวประมงในชุมชนเกาะสุกร ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่เอื้อต่อการส่งเสริมรายได้ด้านการประมง ซึ่งเป็นรายได้หลักของชุมชนเกาะสุกร โครงธนาคารปูม้า มทร.ศรีวิชัย เลขที่ 179 หมู่ 3 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้บริการวิชาการในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดย สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จัดการฝึกอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปูม้าเป็นสินค้าใหม่ “นักเก็ตปูม้า & ข้าวเกรียบปูม้า” เป็น(โครงการระยะที่ 3) เพื่อการต่อยอดการทำธนาคารปูม้าตามแนวทาง BCG Economy Model โดยการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ปูม้า ทำให้มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ สร้างอาชีพเสริมให้กับ ชุมชนเกาะสุกรได้เป็นอย่างดี โดยก่อนหน้านี้ (4-5 ก.ย.2563) ได้จัดฝึกอบรมผลิภัณฑ์แปรรูปมาจากปูม้า “ฮ่อยจ๊อปูม้า และลูกชิ้นปูม้า”(โครงการระยะที่ 2) และได้มีการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด สร้างรายได้อย่างงดงามและธนาคารปูม้าหาดทรายทอง 2 โดย นางเยาวลักษณ์ ไชยมล ได้รับเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากปูม้า (ฮ่อยจ๊อปูม้า) ระดับคุณภาพชั้น 2 สินค้าคุณภาพมาตรฐานดีตะเพียนเงิน และได้รับการจำหน่ายสินค้าประมงเพื่อการบริโภคผ่านเว็บไซด์ Fisheries shop ของกรมประมง
ต่อเนื่องจากโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงการระยะที่ 3 เมื่อวันที่ 28 -29 มิถุนายน 2564 คณะทำงานธนาคารปูม้า นำโดย อาจารย์ ดร วิกิจ ผินรับ หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร. นัฎฐา คเชนภักดี และ อาจารย์ ดร.ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง และคณะทำงาน พร้อมด้วยนางราตรี จิตรหลัง นายก อบต. เกาะสุกร ได้เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ภายใต้การจัดฝึกอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงจากปูม้า “นักเก็ตปูม้าและข้าวเกรียบปูม้า” ให้กับชุมชนเกาะสุกร ณ อาคารเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ภายใต้การดำเนินกิจกรรมได้มีการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากชุมชน มีความสดสะอาด ผ่านขั้นตอนการผลิต และบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงคุณภาพการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน โดยผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าสินค้ามีคุณภาพดี และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID 19 ที่ส่งผลให้ ผู้สนใจไม่สามมารถเดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดตรังได้ แต่สามารถสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ ด้วยการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิที่มีคุณภาพ โดยถึงมือผู้บริโภคได้อย่างมั่นใจ ด้าน อาจารย์ ดร วิกิจ ผินรับ หัวหน้าโครงการ ได้กล่าวชื่นชมผู้เข้าร่วมโครงการ ว่ามีความพร้อมและความตั้งใจเต็มเปี่ยมในการมีส่วนร่วม และพร้อมที่ขับเคลื่อนการทำธนาคารปูม้าแบบยั่งยืน บริการวิชาการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างเสริมอาชีพ สร้างรายได้ สู่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ “นักเก็ตปูม้าและข้าวเกรียบปูม้า” จะเป็นสินค้าสร้างรายได้ให้กับให้กับชุมชนเกาะสุกรได้ไม่แพ้กันสนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารประมง อาทิ ฮ่อยจ๊อปูม้า,ลูกชิ้นปูม้า,นักเก็ตปูม้า และข้าวเกรียบปูม้า ได้ที่ โทร:0867454588 ,0909963655 คุณเยาวลักษณ์ ไชยมล facebook: จ๊อโคตรปู เกาะสุกร โทร: 0865483969 คุณโบ , 0891490279 คุณดา Facebook : Siriwan Bo Armornsiripanya Facebook: Da Inthongmak โทร: 0831686630 คุณแหม่ม Facebook : ครัวรจนา
มทร.ศรีวิชัย ตรัง ส่งต่อความรู้ สู่ชุมชน การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเสม็ดขาว และออกแบบบรรจุภัณฑ์เพิ่มมูลค่า
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ได้เผยแพร่ ความรู้ “การสกัดน้ำมันหอมระเหยเสม็ดขาว และการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์” ผ่านกระบวนการผลิต “เจล หอมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากใบเสม็ดขาว” โดยเจลหอมที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อลดกลิ่นอับในสถานที่ต่างๆ และนอกจากนั้นยังได้มีการสาทิตการทำ ”ธูปหอมสมุนไพรในไล่ยุงกลิ่นเสม็ดขาว” มีคุณสมบัติไล่ยุงและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำไปผลิตเพื่อวางจำหน่าย อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพืชพื้นถิ่นเช่นใบเสม็ดได้เป็นอย่างดี โดย อาจารย์ ดร. ขวัญตา ตันติกำธร เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ และ นายรุ่งโรจน์ นวนศรี นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เป็นผู้ช่วยวิทยากรซึ่งมีผลงานนวัตกรรมนักศึกษาจากการผลิตเจลหอมกลิ่นเสม็ดขาว โดยมีสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรังเป็นเจ้าภาพในการจัดการ
เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดน้ำมันหอมระเหยเสม็ดขาว เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาจารย์ ดร. นัฎฐา คเชนภักดี อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรังได้บรรยายให้ความรู้และแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งควรคำนึงถึงความสะอาดและคุณภาพของสินค้าที่เพื่อให้ได้มาตรฐานที่ดี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิต และขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์สินค้า โดยนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดส่งเสริมสินค้าและผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆได้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของพืชพื้นถิ่นอันจะนำไปสู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไป