สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology


Office of Academic Resources and Information Technology

Feed aggregator

มทร.ศรีวิชัย ร่วมกับ อบต.แก้วแสน ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร สู้ภัยโควิด-19 และสร้างรายได้สู่ชมชน

มทร. - Thu, 16/09/2021 - 11:36

          คณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ร่วมกับ อบต.แก้วแสน อ.นาบอน  จ.นครศรีธรรมราช มอบต้นสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจำนวน 4,999 ต้น ในพื้นที่ตำบลแก้วแสน อ.นาบอน  จ.นครศรีธรรมราช เพื่อปลูกเป็นสมุนไพรต้านไวรัสโควิด-19 และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

          ผศ.สมคิด ชัยเพชร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช  กล่าวว่า ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ประชาชนได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการ สร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรน่า 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ที่เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์พันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

          ผศ.ธรรมศักดิ์ พุทธกาล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร (ฟ้าทะลายโจร) สู้ภัยโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการปลูกฟ้าทะลายโจร ให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประชาชน จะเป็นโอกาสให้กับประชาชนตำบล แก้วแสน ในการต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตนเอง และเป็นการรักษาเสถียรภาพด้านปริมาณ และราคาให้เกิดความสมดุล และเพิ่มการใช้พืชสมุนไพรไทย เป็นทางเลือกในการบำบัด ควบคุม และรักษาโรคเพิ่มขึ้น ซึ่ง มทร.ศรีวิชัย มีนโยบายขับเคลื่อนการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นยาต้านไวรัสโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า ฟ้าทลายโจรมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ ฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ มีโอกาสที่จะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล และการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

         นอกจากนี้ คณะเกษตรศาสตร์ จะดำเนินการต่อยอดในการบูรณาการโครงการ ต่างๆระหว่างชุมชนหรือตำบลในพื้นที่ ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรโครงการ ร่วมกัน การแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกัน โดยการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือร่วมทั้งภูมิปัญญาอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน โดยดำเนินการสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้วยหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการวิเคราะห์ และออกแบบ ตอบสนองความต้องการของชุมชน







มทร.ศรีวิชัย ร่วมกับ อบต.แก้วแสน ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร สู้ภัยโควิด-19 และสร้างรายได้สู่ชมชน

มทร. - Thu, 16/09/2021 - 11:36

          คณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) ร่วมกับ อบต.แก้วแสน อ.นาบอน  จ.นครศรีธรรมราช มอบต้นสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจำนวน 4,999 ต้น ในพื้นที่ตำบลแก้วแสน อ.นาบอน  จ.นครศรีธรรมราช เพื่อปลูกเป็นสมุนไพรต้านไวรัสโควิด-19 และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

          ผศ.สมคิด ชัยเพชร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช  กล่าวว่า ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ประชาชนได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา นโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการ สร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรน่า 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ที่เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์พันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

          ผศ.ธรรมศักดิ์ พุทธกาล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร (ฟ้าทะลายโจร) สู้ภัยโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการปลูกฟ้าทะลายโจร ให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประชาชน จะเป็นโอกาสให้กับประชาชนตำบล แก้วแสน ในการต่อยอดสร้างรายได้ให้กับตนเอง และเป็นการรักษาเสถียรภาพด้านปริมาณ และราคาให้เกิดความสมดุล และเพิ่มการใช้พืชสมุนไพรไทย เป็นทางเลือกในการบำบัด ควบคุม และรักษาโรคเพิ่มขึ้น ซึ่ง มทร.ศรีวิชัย มีนโยบายขับเคลื่อนการปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นยาต้านไวรัสโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า ฟ้าทลายโจรมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ ฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ มีโอกาสที่จะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล และการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

         นอกจากนี้ คณะเกษตรศาสตร์ จะดำเนินการต่อยอดในการบูรณาการโครงการ ต่างๆระหว่างชุมชนหรือตำบลในพื้นที่ ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรโครงการ ร่วมกัน การแบ่งปันองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกัน โดยการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือร่วมทั้งภูมิปัญญาอาชีพที่เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน โดยดำเนินการสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ด้วยหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการวิเคราะห์ และออกแบบ ตอบสนองความต้องการของชุมชน







สำรวจความคิดเห็นของบุคลากรและนักศึกษา

Language Thai

ขอความร่วมมือสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากรและนักศึกษา เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติการปฏิบัติงานผู้บริหารระดับ สำนัก ประจำปีการศึกษา 2563

สำรวจความคิดเห็นของบุคลากรและนักศึกษา

Language Thai

ขอความร่วมมือสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากรและนักศึกษา เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติการปฏิบัติงานผู้บริหารระดับ สำนัก ประจำปีการศึกษา 2563

มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ต้อนรับ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช

มทร. - Fri, 10/09/2021 - 18:38

 

มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ โดย ผศ.สุธรรม ชุมพร้อมญาติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร นำทีม U2Tคลองเส โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ร่วมจัดบูธนิทรรศการกิจกรรมของ U2T คลองเส และประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 ในโอกาสตรวจราชการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมหลังวิกฤตโควิด-19 ของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ วัดถ้ำทอง   อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในบรรยากาศของการควบคุมสถานการณ์โรคโควิด-19      ที่ทุกฝ่ายได้ดำเนินการเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค ด้านการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างรายได้และเม็ดเงินให้สะพัดในพื้นที่ ได้มีการเดินหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดเมืองเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อสถานการณ์ของ โรคโควิด-19 คลี่คลายจะได้พร้อมสำหรับการพลิกฟื้นยกระดับการท่องเที่ยว โดยจะหาจุดเด่นในแต่ละพื้นที่ ดึงสิ่งที่เป็นของดีที่สุดในแต่ละด้าน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา ใครมีดีกว่าก็จะดึงนักท่องเที่ยวได้มากกว่า และจะเดินหน้าผลักดันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและศาสนา โดยจะเร่งยกระดับการท่องเที่ยวทุกด้าน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว และสานต่อโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล ฝั่งอ่าวไทยไปจนถึงฝั่งอันดามัน และส่งเสริมของดีชุมชน และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดให้พร้อมจะต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงการเปิดเมือง ที่จะให้ความสำคัญด้านการสร้างความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ

ด้าน มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ได้มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอยู่ ให้มีความทันสมัยตอบโจทย์ตลาดได้มากยิ่งขึ้น เช่น การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟสด@ผึ้งโพรงไทยบ้านด่านช้าง การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงไทย การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตร บ้านสามัคคีธรรม บ้านนาแยะใต้ นอกจากนี้ทางทีม U2T คลองเส ก็ยังมีภารกิจสู้ภัย Covid -19 กับ 3 Step คือ "รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน และให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน COVID -19 รวมถึงรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID -19 เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมสำหรับเปิดเมืองรับการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยทาง มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ได้นำเสนอผลงานการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือชุมชนในอำเภอถ้ำพรรณรา ของทีม U2T คลองเส พร้อมกับมอบของที่ระลึกแด่ท่าน รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกระเป๋าผ้าที่ผลิตจากผ้าไหมและผ้ายกเมืองนคร ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และกระเป๋าผ้าของที่ระลึกก็จะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทาง U2T คลองเส กำลังดำเนินการเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ในโอกาสถัดไป








มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ต้อนรับ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ลงพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช

มทร. - Fri, 10/09/2021 - 18:38

 

มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ โดย ผศ.สุธรรม ชุมพร้อมญาติ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร นำทีม U2Tคลองเส โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ร่วมจัดบูธนิทรรศการกิจกรรมของ U2T คลองเส และประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 ในโอกาสตรวจราชการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมหลังวิกฤตโควิด-19 ของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ วัดถ้ำทอง   อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในบรรยากาศของการควบคุมสถานการณ์โรคโควิด-19      ที่ทุกฝ่ายได้ดำเนินการเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค ด้านการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างรายได้และเม็ดเงินให้สะพัดในพื้นที่ ได้มีการเดินหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดเมืองเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อสถานการณ์ของ โรคโควิด-19 คลี่คลายจะได้พร้อมสำหรับการพลิกฟื้นยกระดับการท่องเที่ยว โดยจะหาจุดเด่นในแต่ละพื้นที่ ดึงสิ่งที่เป็นของดีที่สุดในแต่ละด้าน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา ใครมีดีกว่าก็จะดึงนักท่องเที่ยวได้มากกว่า และจะเดินหน้าผลักดันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและศาสนา โดยจะเร่งยกระดับการท่องเที่ยวทุกด้าน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว และสานต่อโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเล ฝั่งอ่าวไทยไปจนถึงฝั่งอันดามัน และส่งเสริมของดีชุมชน และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดให้พร้อมจะต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงการเปิดเมือง ที่จะให้ความสำคัญด้านการสร้างความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ

ด้าน มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ได้มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอยู่ ให้มีความทันสมัยตอบโจทย์ตลาดได้มากยิ่งขึ้น เช่น การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟสด@ผึ้งโพรงไทยบ้านด่านช้าง การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผึ้งโพรงไทย การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตร บ้านสามัคคีธรรม บ้านนาแยะใต้ นอกจากนี้ทางทีม U2T คลองเส ก็ยังมีภารกิจสู้ภัย Covid -19 กับ 3 Step คือ "รุกคลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน และให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน COVID -19 รวมถึงรณรงค์การฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID -19 เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมสำหรับเปิดเมืองรับการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยทาง มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ ได้นำเสนอผลงานการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือชุมชนในอำเภอถ้ำพรรณรา ของทีม U2T คลองเส พร้อมกับมอบของที่ระลึกแด่ท่าน รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกระเป๋าผ้าที่ผลิตจากผ้าไหมและผ้ายกเมืองนคร ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และกระเป๋าผ้าของที่ระลึกก็จะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทาง U2T คลองเส กำลังดำเนินการเพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ในโอกาสถัดไป








วช. - กอ.รมน. นำผลงาน เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย มทร.ศรีวิชัย เพิ่มมูลค่าสมุนไพรชุมชน จังหวัดสระบุรี

มทร. - Thu, 09/09/2021 - 16:16

 

ผศ.จีระศักดิ์ เพียรเจริญ และ รศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี        ราชมงคลศรีวิชัย เผยนำนวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำและไอน้ำ ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างผลิตภัณฑ์ OTOP เพิ่มมูลค่าสมุนไพรในชุมชน

นวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้น้ำและไอน้ำ ที่มีข้อดี คือ สามารถใช้กับวัตถุดิบได้หลากหลายประเภทกว่าวิธีอื่น และยังมีประสิทธิภาพสูง ใช้เทคนิคที่ไม่มีความซับซ้อน โดยเกษตรกรหรือชุมชนสามารถใช้งานได้เอง เตรียมนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดให้กับศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี สกัดพืชสมุนไพรที่มีอยู่แล้วในชุมชน อาทิ ใบมะกรูด ผลมะกรูด และตะไคร้หอม ช่วยให้ชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง สร้างความตระหนักด้านสมุนไพรไทยให้เป็นที่นิยม

เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย ภายในถังต้มหรือหม้อกลั่น จะมีตะแกรงสำหรับใส่วัตถุดิบสมุนไพรปริมาณครั้งละ 5 กิโลกรัม ไว้เหนือระดับน้ำ จากนั้นจึงปิดฝาและล็อคให้สนิท ทำการเติมน้ำสะอาดปริมาณ 20-25 ลิตร เข้าไปในถัง โดยการใส่ให้เหนือระดับฮีตเตอร์เพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ให้ความร้อน ด้วยกำลังไฟ 3,500 วัตต์ เมื่อน้ำเดือดจนกลายเป็นไอน้ำที่อิ่มตัวหรือไอเปียก ใช้เวลา 40 นาที ไอน้ำจะลอยไปสัมผัสกับวัตถุดิบซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำร้อน ไอน้ำจะไปละลายสารเคมี และน้ำมันที่อยู่ที่วัตถุดิบ จนลอยไปปะปนกับไอน้ำ และเข้าไปยังถังคอนเดน ไอน้ำภายในท่อจะสัมผัสกับน้ำหล่อเย็น ที่มีการควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ที่ ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิปกติ ทำให้ไอน้ำเปลี่ยนสภาพกลายเป็นของเหลว ซึ่งมีน้ำและน้ำมันปะปนมาด้วย การกลั่นใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง จนได้เป็นน้ำกลั่น หรือ น้ำที่มีการแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำมันจากสมุนไพรที่ลอยอยู่ด้านบน และน้ำจากการกลั่นที่อยู่ด้านใต้ ได้ปริมาณน้ำมัน 30-50 cc โดยสามารถนำน้ำทั้ง 2 ส่วน มาแยกออกจากกันด้วยวิธีการค่อย ๆ เทออกมานั่นเอง ทั้งนี้ปริมาณน้ำมันจากการสกัดจากพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดสมุนไพร และอุณหภูมิน้ำที่มีการควบคุมไว้ การกลั่นโดยวิธีนี้พืชที่กลั่นจะไม่สัมผัสกับความร้อนโดยตรง ทำให้น้ำมันหอมระเหยมีคุณภาพสูง

อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมดังกล่าวได้นำไปติดตั้งให้กับชุมชนจังหวัดสระบุรีเรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ ทีมนักวิจัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อยู่ในช่วงการพัฒนาด้านมาตรฐานน้ำมันหอมระเหย และเรียนรู้การสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากแพทย์แผนไทย เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น สเปรย์ฉีดกันยุง สเปรย์ปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ลดกลิ่นอับ หรือแม้แต่ สเปรย์ที่สามารถหยดลงไปในอาหารได้ เพื่อเตรียมนำไปถ่ายทอดให้กับชุมชน หวังจะพัฒนาเป็นสินค้าOTOP สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

 







วช. - กอ.รมน. นำผลงาน เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย มทร.ศรีวิชัย เพิ่มมูลค่าสมุนไพรชุมชน จังหวัดสระบุรี

มทร. - Thu, 09/09/2021 - 16:16

 

ผศ.จีระศักดิ์ เพียรเจริญ และ รศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี        ราชมงคลศรีวิชัย เผยนำนวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยน้ำและไอน้ำ ลงพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างผลิตภัณฑ์ OTOP เพิ่มมูลค่าสมุนไพรในชุมชน

นวัตกรรมเครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้น้ำและไอน้ำ ที่มีข้อดี คือ สามารถใช้กับวัตถุดิบได้หลากหลายประเภทกว่าวิธีอื่น และยังมีประสิทธิภาพสูง ใช้เทคนิคที่ไม่มีความซับซ้อน โดยเกษตรกรหรือชุมชนสามารถใช้งานได้เอง เตรียมนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดให้กับศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี สกัดพืชสมุนไพรที่มีอยู่แล้วในชุมชน อาทิ ใบมะกรูด ผลมะกรูด และตะไคร้หอม ช่วยให้ชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง สร้างความตระหนักด้านสมุนไพรไทยให้เป็นที่นิยม

เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหย ภายในถังต้มหรือหม้อกลั่น จะมีตะแกรงสำหรับใส่วัตถุดิบสมุนไพรปริมาณครั้งละ 5 กิโลกรัม ไว้เหนือระดับน้ำ จากนั้นจึงปิดฝาและล็อคให้สนิท ทำการเติมน้ำสะอาดปริมาณ 20-25 ลิตร เข้าไปในถัง โดยการใส่ให้เหนือระดับฮีตเตอร์เพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน ให้ความร้อน ด้วยกำลังไฟ 3,500 วัตต์ เมื่อน้ำเดือดจนกลายเป็นไอน้ำที่อิ่มตัวหรือไอเปียก ใช้เวลา 40 นาที ไอน้ำจะลอยไปสัมผัสกับวัตถุดิบซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำร้อน ไอน้ำจะไปละลายสารเคมี และน้ำมันที่อยู่ที่วัตถุดิบ จนลอยไปปะปนกับไอน้ำ และเข้าไปยังถังคอนเดน ไอน้ำภายในท่อจะสัมผัสกับน้ำหล่อเย็น ที่มีการควบคุมอุณหภูมิน้ำให้อยู่ที่ ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิปกติ ทำให้ไอน้ำเปลี่ยนสภาพกลายเป็นของเหลว ซึ่งมีน้ำและน้ำมันปะปนมาด้วย การกลั่นใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง จนได้เป็นน้ำกลั่น หรือ น้ำที่มีการแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำมันจากสมุนไพรที่ลอยอยู่ด้านบน และน้ำจากการกลั่นที่อยู่ด้านใต้ ได้ปริมาณน้ำมัน 30-50 cc โดยสามารถนำน้ำทั้ง 2 ส่วน มาแยกออกจากกันด้วยวิธีการค่อย ๆ เทออกมานั่นเอง ทั้งนี้ปริมาณน้ำมันจากการสกัดจากพืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดสมุนไพร และอุณหภูมิน้ำที่มีการควบคุมไว้ การกลั่นโดยวิธีนี้พืชที่กลั่นจะไม่สัมผัสกับความร้อนโดยตรง ทำให้น้ำมันหอมระเหยมีคุณภาพสูง

อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมดังกล่าวได้นำไปติดตั้งให้กับชุมชนจังหวัดสระบุรีเรียบร้อยแล้ว โดยขณะนี้ ทีมนักวิจัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อยู่ในช่วงการพัฒนาด้านมาตรฐานน้ำมันหอมระเหย และเรียนรู้การสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากแพทย์แผนไทย เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น สเปรย์ฉีดกันยุง สเปรย์ปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ลดกลิ่นอับ หรือแม้แต่ สเปรย์ที่สามารถหยดลงไปในอาหารได้ เพื่อเตรียมนำไปถ่ายทอดให้กับชุมชน หวังจะพัฒนาเป็นสินค้าOTOP สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

 







มทร.ศรีวิชัย ร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 7

มทร. - Thu, 02/09/2021 - 15:31

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564  ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  เข้าร่วมประชุม วิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 7 The 7 th Engagement Thailand Annual Conference: Innovation - Engaged Societyสังคมผูกพัน สร้างสรรค์นวัตกรรม   ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และด้วยมีมติเห็นชอบคัดเลือกให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8ในปี 2565  ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส  อธิการบดีมทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า  ในฐานะตัวแทนมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและโดดเด่นตามอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน สังคม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำหรับเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของภูมิภาคและประเทศซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสร่วมทำงานกับสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม เริ่มต้นรวมตัวมหาวิทยาลัยที่ทำงานด้านบริการวิชาการแก่สังคม เป็นเครือข่าย Engag Thailand และได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand  ในปี 2565  ด้วยพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ร่วมคิด ร่วมทำด้วยการรวมพลังมหาวิทยาลัยในภูมิภาคภาคใต้ ร่วมขับเคลื่อน "พันกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม :พลังปัญญาแดนใต้กับการพัฒนาที่ยั่งยืน"












































มทร.ศรีวิชัย ร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 7

มทร. - Thu, 02/09/2021 - 15:31

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564  ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  เข้าร่วมประชุม วิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 7 The 7 th Engagement Thailand Annual Conference: Innovation - Engaged Societyสังคมผูกพัน สร้างสรรค์นวัตกรรม   ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และด้วยมีมติเห็นชอบคัดเลือกให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand ครั้งที่ 8ในปี 2565  ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส  อธิการบดีมทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า  ในฐานะตัวแทนมหาวิทยาลัยกลุ่มภาคใต้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและโดดเด่นตามอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน สังคม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำหรับเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของภูมิภาคและประเทศซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสร่วมทำงานกับสมาคมพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม เริ่มต้นรวมตัวมหาวิทยาลัยที่ทำงานด้านบริการวิชาการแก่สังคม เป็นเครือข่าย Engag Thailand และได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ Engagement Thailand  ในปี 2565  ด้วยพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม ร่วมคิด ร่วมทำด้วยการรวมพลังมหาวิทยาลัยในภูมิภาคภาคใต้ ร่วมขับเคลื่อน "พันกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม :พลังปัญญาแดนใต้กับการพัฒนาที่ยั่งยืน"












































มทร.ศรีวิชัย ขนอม ร่วมกับ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ภาคีเครือข่ายอำเภอขนอม MOUผ่านระบบออนไลน์ #จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming)

มทร. - Fri, 27/08/2021 - 22:06

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ ร่วมกับ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายอำเภอขนอม #ร่วมลงนามเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือผ่านระบบออนไลน์ #จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming)

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขวัญหทัย ใจเปี่ยม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย โดยนายสมนึก

แพงวาปี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), นายอนุชา สวัสดิรัตน์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท้องเนียน, นายกิตติ์ณพงศ์ วงศ์เกลี้ยง เกษตรอำเภอขนอม กรมส่งเสริมการเกษตร, นางสาวอภิรมย์ มนัส ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอขนอม และ นายจิโรจน์ สำแดง นายอำเภอขนอม ร่วมลงนามเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่โคโรน่า 2019 (COVID-19) เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming) บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ เลขที่ 99 หมู่ 4 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม กล่าวว่า “นับเป็นนิมิตหมายที่ดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ได้เลือกพื้นที่ของวิทยาลัยฯ ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมัยใหม่ (Smart farming) และเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เสริมสร้างทักษะให้เป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง เตรียมพร้อมสู่การพัฒนาแห่งอนาคตภายใต้แนวคิดผลิตได้ ขายเป็น”

นายสมนึก แพงวาปี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ขอบคุณภาคีเครือข่ายที่ร่วมผลักดันโครงการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Smart farming ถือเป็นโครงการที่ทาง ปตท. สนับสนุนให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ชุมชน โดย มทร.ศรีวิชัย พื้นที่ขนอม เป็นพื้นที่มีความพร้อมในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming) อย่างเป็นรูปธรรม เราคาดหวังว่าจะได้มีการแบ่งปันองค์ความรู้ที่เรามีให้กับคนในพื้นที่ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในประกอบอาชีพได้ และ ปตท. ยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน"

โดยเป้าหมายของความร่วมมือ คือ 1) เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนและผู้สนใจ ได้มีพื้นที่ทำกิน สร้างงาน สร้างรายได้ ในการเข้าร่วมกิจกรรมทำเกษตรสมัยใหม่ ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2) มุ่งหวังในการสร้างองค์ความรู้ให้ชุมชน เพื่อสามารถนำไปสร้างอาชีพของตัวเองที่มั่นคงและยั่งยืน  3) เพื่อร่วมกันพัฒนาการเกษตรให้เป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการแบบระบบ IoT  4) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงาน โดยส่งเสริมการทำงานในรูปแบบการสร้างภาคีเครือข่าย ให้เป็นพลังร่วมที่มีความเข้มแข็งในการช่วยเหลือดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และ 5) มุ่งหวังให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ และแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพร อันจะเกิดประโยชน์ในทางการแพทย์ ต่อชุมชนและประชาชน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ถือเป็นความช่วยเหลือ และพัฒนาชุมชนโดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ ทางกฎหมาย






มทร.ศรีวิชัย ขนอม ร่วมกับ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ภาคีเครือข่ายอำเภอขนอม MOUผ่านระบบออนไลน์ #จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming)

มทร. - Fri, 27/08/2021 - 22:06

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ ร่วมกับ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายอำเภอขนอม #ร่วมลงนามเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือผ่านระบบออนไลน์ #จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming)

วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขวัญหทัย ใจเปี่ยม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย โดยนายสมนึก

แพงวาปี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), นายอนุชา สวัสดิรัตน์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท้องเนียน, นายกิตติ์ณพงศ์ วงศ์เกลี้ยง เกษตรอำเภอขนอม กรมส่งเสริมการเกษตร, นางสาวอภิรมย์ มนัส ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอขนอม และ นายจิโรจน์ สำแดง นายอำเภอขนอม ร่วมลงนามเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่โคโรน่า 2019 (COVID-19) เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming) บนเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ เลขที่ 99 หมู่ 4 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม กล่าวว่า “นับเป็นนิมิตหมายที่ดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม ได้เลือกพื้นที่ของวิทยาลัยฯ ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมัยใหม่ (Smart farming) และเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เสริมสร้างทักษะให้เป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง เตรียมพร้อมสู่การพัฒนาแห่งอนาคตภายใต้แนวคิดผลิตได้ ขายเป็น”

นายสมนึก แพงวาปี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ขอบคุณภาคีเครือข่ายที่ร่วมผลักดันโครงการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Smart farming ถือเป็นโครงการที่ทาง ปตท. สนับสนุนให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ชุมชน โดย มทร.ศรีวิชัย พื้นที่ขนอม เป็นพื้นที่มีความพร้อมในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ (Smart farming) อย่างเป็นรูปธรรม เราคาดหวังว่าจะได้มีการแบ่งปันองค์ความรู้ที่เรามีให้กับคนในพื้นที่ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในประกอบอาชีพได้ และ ปตท. ยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน"

โดยเป้าหมายของความร่วมมือ คือ 1) เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนและผู้สนใจ ได้มีพื้นที่ทำกิน สร้างงาน สร้างรายได้ ในการเข้าร่วมกิจกรรมทำเกษตรสมัยใหม่ ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 2) มุ่งหวังในการสร้างองค์ความรู้ให้ชุมชน เพื่อสามารถนำไปสร้างอาชีพของตัวเองที่มั่นคงและยั่งยืน  3) เพื่อร่วมกันพัฒนาการเกษตรให้เป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการแบบระบบ IoT  4) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงาน โดยส่งเสริมการทำงานในรูปแบบการสร้างภาคีเครือข่าย ให้เป็นพลังร่วมที่มีความเข้มแข็งในการช่วยเหลือดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และ 5) มุ่งหวังให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ และแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพร อันจะเกิดประโยชน์ในทางการแพทย์ ต่อชุมชนและประชาชน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ถือเป็นความช่วยเหลือ และพัฒนาชุมชนโดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ ทางกฎหมาย






4 ขั้นตอน การยืมหนังสือ ช่วงสถานการณ์โควิด-19

Language Thai

4 ขั้นตอน การยืมหนังสือ ช่วงสถานการณ์โควิด-19
สำหรับอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และสมาชิกงานวิทยบริการและสารสนเทศ

โครงการการพัฒนาอาชีพชุมชนประมงพื้นที่รอบแหล่งพะยูนและหญ้าทะเล

มทร. - Thu, 26/08/2021 - 15:57

ผศ. โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ได้มอบหมายนโยบายการสนับสนุนกิจกรรม ถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้และอาชีพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสัตว์น้ำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ภายใต้ “โครงการพัฒนาอาชีพชุมชนประมงพื้นที่รอบแหล่งพะยูนและหญ้าทะเล จังหวัดตรัง” โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดตรัง

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ดร.นัฏฐา คเชนทร์ภักดี อาจารย์ประจำสาขาอุสาหกรรมอาหาร หัวหน้าโครงการ  พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษา สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้สาธิตการแปรรูปอาหารทะเลผ่านระบบออนไลน์  ให้กับกลุ่มเครือข่าย ชุมชนประมงในพื้นที่ อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง เนื่องจากแต่ละชุมชนมีความแตกต่าง ด้านผลิตภัณฑ์ประมงที่แตกต่างกัน จึงได้มีการแบ่งการสาธิตแปรรูปอาหารทะเลออกเป็นเมนูต่างๆ ตามวัตถุดิบที่หาได้ในชุมชนนั้นๆ กอบด้วยการการสาธิตการทำ แฮกึ้น ลูกชิ้นปลา ปอเปี๊ยะทะเล ให้กับชุมชนบ้านปากคลอง  การสาธิตการทำลูกชิ้นปลา น้ำพริกปูคั่วกลิ้ง ให้กับชุมชนบ้านแหลมไทร  การสาธิตการ ลูกชิ้นปลา น้ำพริกปูคั่วกลิ้ง ปอเปี๊ยะทะเล ให้กับชุมชนตำบลเกาะลิบง และการสาธิตการทำ ลูกชิ้นปลา ข้าวเกรียบปลา ให้กับชุมชนบ้านแหลมขาม พร้อมทั้งการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ และสร้างรายได้สู่ครัวเรือน โดยได้ดำเนินกิจกรรมใน ระหว่างวันที่ 20 ก.ค.-20 ส.ค. 2564  ในรูปแบบออนไลน์ ด้วยระบบ  Zoom meeting เพื่อเป็นไปตามมาตรการป้องกัน COVID -19










โครงการการพัฒนาอาชีพชุมชนประมงพื้นที่รอบแหล่งพะยูนและหญ้าทะเล

มทร. - Thu, 26/08/2021 - 15:57

ผศ. โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ได้มอบหมายนโยบายการสนับสนุนกิจกรรม ถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้และอาชีพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสัตว์น้ำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ภายใต้ “โครงการพัฒนาอาชีพชุมชนประมงพื้นที่รอบแหล่งพะยูนและหญ้าทะเล จังหวัดตรัง” โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดตรัง

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ดร.นัฏฐา คเชนทร์ภักดี อาจารย์ประจำสาขาอุสาหกรรมอาหาร หัวหน้าโครงการ  พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษา สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้สาธิตการแปรรูปอาหารทะเลผ่านระบบออนไลน์  ให้กับกลุ่มเครือข่าย ชุมชนประมงในพื้นที่ อำเภอสิเกา และอำเภอกันตัง เนื่องจากแต่ละชุมชนมีความแตกต่าง ด้านผลิตภัณฑ์ประมงที่แตกต่างกัน จึงได้มีการแบ่งการสาธิตแปรรูปอาหารทะเลออกเป็นเมนูต่างๆ ตามวัตถุดิบที่หาได้ในชุมชนนั้นๆ กอบด้วยการการสาธิตการทำ แฮกึ้น ลูกชิ้นปลา ปอเปี๊ยะทะเล ให้กับชุมชนบ้านปากคลอง  การสาธิตการทำลูกชิ้นปลา น้ำพริกปูคั่วกลิ้ง ให้กับชุมชนบ้านแหลมไทร  การสาธิตการ ลูกชิ้นปลา น้ำพริกปูคั่วกลิ้ง ปอเปี๊ยะทะเล ให้กับชุมชนตำบลเกาะลิบง และการสาธิตการทำ ลูกชิ้นปลา ข้าวเกรียบปลา ให้กับชุมชนบ้านแหลมขาม พร้อมทั้งการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ และสร้างรายได้สู่ครัวเรือน โดยได้ดำเนินกิจกรรมใน ระหว่างวันที่ 20 ก.ค.-20 ส.ค. 2564  ในรูปแบบออนไลน์ ด้วยระบบ  Zoom meeting เพื่อเป็นไปตามมาตรการป้องกัน COVID -19










วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย สามารถคว้ารางวัล Smart Agro-Machinery DIProm 2021

มทร. - Thu, 26/08/2021 - 15:52

ขอแสดงความยินดี กับ วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย ส่ง “ระบบผสมและพาสเจอร์ไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มแบบอัตโนมัติ”ผลงงานของ อาจารย์ทศพิธ  วิสมิตนันท์   อาจารย์สุห์ดี  นิเซ็ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร อาริษา โสภาจารย์  ดร.ภานุมาศ สุยบางดำ  และอาจารย์ นันทพงษ์ พงษ์พิริยะเดชะ เข้าร่วมประกวดรางวัลส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ระดับชาติ ประจำปี 2564” Smart Agro-Machinery DIProm 2021 จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน่วยงานส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ทั้งสิ้น 115 ทีม วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย สามารถคว้ารางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 1.” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้มอบรางวัลและโล่เกียรติยศ ผ่านทาง Facebook Live www.facebook.com/dipromindustry เมื่อที่ 25 สิงหาคม 2564  ที่ผ่านมา








วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย สามารถคว้ารางวัล Smart Agro-Machinery DIProm 2021

มทร. - Thu, 26/08/2021 - 15:52

ขอแสดงความยินดี กับ วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย ส่ง “ระบบผสมและพาสเจอร์ไรซ์น้ำมะนาวพร้อมดื่มแบบอัตโนมัติ”ผลงงานของ อาจารย์ทศพิธ  วิสมิตนันท์   อาจารย์สุห์ดี  นิเซ็ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร อาริษา โสภาจารย์  ดร.ภานุมาศ สุยบางดำ  และอาจารย์ นันทพงษ์ พงษ์พิริยะเดชะ เข้าร่วมประกวดรางวัลส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ระดับชาติ ประจำปี 2564” Smart Agro-Machinery DIProm 2021 จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน่วยงานส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ทั้งสิ้น 115 ทีม วิทยาลัยรัตภูมิ มทร.ศรีวิชัย สามารถคว้ารางวัล “รองชนะเลิศอันดับ 1.” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้มอบรางวัลและโล่เกียรติยศ ผ่านทาง Facebook Live www.facebook.com/dipromindustry เมื่อที่ 25 สิงหาคม 2564  ที่ผ่านมา








มทร. ศรีวิชัย ตรัง วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยชมรมยุวกาชาด จัดกิจกรรมแบ่งปันน้ำใจสู่สังคม

มทร. - Thu, 26/08/2021 - 15:47

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19  ส่งผลให้จังหวัดตรังมีจำนวนผู้ป่วยสะสมเพิ่มมากขึ้น ชมรมอาสายุวกาชาด วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มทร. ศรีวิชัย ตรัง ภายใต้การบริหารงานโดย ผศ.      ฟ้าพิไล ทวีสินโสภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยวได้สนับสนุนการดำเนินงาน “โครงการอาสาทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์  ปีที่1”

ชมรมอาสายุวกาชาด วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว ได้เปิดรับบริจาค เงินสมทบทุน และสิ่งของอุปโภค บริโภค จากการสำรวจความต้องการสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามของจังหวัดตรัง  อ.จิรัชญา บุญช่วย ที่ปรึกษาชมรม กล่าวว่า จาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคCOVI-19 ในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนจึงได้ทำโครงการ อาสาทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ปีที่1 โดยการดำเนินกิจกรรมจะต้องเป็นไปตามมาตรการป้องกันCOVID -19 จึงจัดทำการประชาสัมพันธ์ เปิดรับบริจาค เงินและสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็น ผ่านระบบออนไลน์ และนำเงินส่วนหนึ่งจากชมรมอาสายุวกาชาดร่วมสมทบทุนเพื่อจัดซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคตามความต้องของโรงพยาบาลสนามในแต่ละพื้นที่ โดยอาจารย์ที่ ปรึกษาชมรม และตัวแทนนักศึกษา จากชมรมอาสายุวกาชาด ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลสนามรักษาผู้ป่วยCOVID-19ในจังหวัดตรังและได้ทำการส่งมอบสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภค ให้กับโรงพยาบาลสนามทั้ง 3 แห่ง ของจังหวัดตรัง ประกอบด้วย โรงพยาบาลสนามแห่งที่ 3 ณ ลานจอดรถชั้น 10  โรงพยาบาลศูนย์ตรังโดย ได้ทำการส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากโรงพยาบาลตรัง ที่ห้องประชุมรวงผึ้ง จากนั้นได้เดินทางไปยัง โรงพยาบาลสนามแห่งที่ 4 ณ อาคารยิมเนเซียมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง และได้ร่วมให้กำลังใจการทำงานของเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลสนามแต่ละพื้นที่อีกด้วย







มทร. ศรีวิชัย ตรัง วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยชมรมยุวกาชาด จัดกิจกรรมแบ่งปันน้ำใจสู่สังคม

มทร. - Thu, 26/08/2021 - 15:47

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19  ส่งผลให้จังหวัดตรังมีจำนวนผู้ป่วยสะสมเพิ่มมากขึ้น ชมรมอาสายุวกาชาด วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มทร. ศรีวิชัย ตรัง ภายใต้การบริหารงานโดย ผศ.      ฟ้าพิไล ทวีสินโสภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยวได้สนับสนุนการดำเนินงาน “โครงการอาสาทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์  ปีที่1”

ชมรมอาสายุวกาชาด วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว ได้เปิดรับบริจาค เงินสมทบทุน และสิ่งของอุปโภค บริโภค จากการสำรวจความต้องการสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามของจังหวัดตรัง  อ.จิรัชญา บุญช่วย ที่ปรึกษาชมรม กล่าวว่า จาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคCOVI-19 ในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนจึงได้ทำโครงการ อาสาทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ปีที่1 โดยการดำเนินกิจกรรมจะต้องเป็นไปตามมาตรการป้องกันCOVID -19 จึงจัดทำการประชาสัมพันธ์ เปิดรับบริจาค เงินและสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็น ผ่านระบบออนไลน์ และนำเงินส่วนหนึ่งจากชมรมอาสายุวกาชาดร่วมสมทบทุนเพื่อจัดซื้อสิ่งของอุปโภคบริโภคตามความต้องของโรงพยาบาลสนามในแต่ละพื้นที่ โดยอาจารย์ที่ ปรึกษาชมรม และตัวแทนนักศึกษา จากชมรมอาสายุวกาชาด ได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลสนามรักษาผู้ป่วยCOVID-19ในจังหวัดตรังและได้ทำการส่งมอบสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภค ให้กับโรงพยาบาลสนามทั้ง 3 แห่ง ของจังหวัดตรัง ประกอบด้วย โรงพยาบาลสนามแห่งที่ 3 ณ ลานจอดรถชั้น 10  โรงพยาบาลศูนย์ตรังโดย ได้ทำการส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากโรงพยาบาลตรัง ที่ห้องประชุมรวงผึ้ง จากนั้นได้เดินทางไปยัง โรงพยาบาลสนามแห่งที่ 4 ณ อาคารยิมเนเซียมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 5 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง และได้ร่วมให้กำลังใจการทำงานของเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลสนามแต่ละพื้นที่อีกด้วย