สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology


Office of Academic Resources and Information Technology

Feed aggregator

ครุศาสตร์ฯ มทร.ศรีวิชัย อบรมการใช้คอนเทนต์และการผลิตสื่อ เชิงรุก เพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับชุมชน

มทร. - Tue, 10/08/2021 - 11:17


 

ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย เปิดอบรมผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meeting เชิงรุกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการกับชุมชน   ต.ปากรอ  ต.คูขุด   ต.บางเขียด   ต.โรง  ต.ปากบาง  ต.เกาะสะบ้า

ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด (Covid – 19 )  ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการหลาย ๆ กลุ่มของชุมชนต้องปิดตัวลงและขาดรายได้ภายในครอบครัว และส่งผลกระทบให้วิถีการดำรงชีวิตเป็นไปด้วยความอยากลำบากมากขึ้น  โดยการอบรมหลั กสูตร Blog และหลักสูตร Bloger เป็นการให้ความรู้และการเสริมสร้างอาชีพใหม่ ๆ   ในชุมชน  Blog เป็นการผลิตสื่อทำบันทึกในด้านต่าง ๆ และ Bloger การเขียนบทความที่ทำให้มีความหน้าสนใจมากยิ่งขึ้นรวมถึงการนำเสนอ ข้อมูลในส่วนเฉพาะด้านนั้น ๆ  เน้นให้เห็นการแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์หรือตัวตนของผู้จัดทำเองออกมาให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรม รู้หลักทฤษฎีถึงเครื่องมือ ในการเขียนบทความออนไลน์ คอนเทนท์ออนไลน์ หรือในการจัดรูปแบบขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเทคนิคต่อยอดสู่อาชีพ ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชน และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมสำหรับยกระดับสินค้าหรือบริการของชุมชน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้หลักการรวมถึงแนวปฏิบัติของการทำสื่อโฆษณา และสามารถนำมาใช้ได้จริง

          คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมดิจิทัล ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาและนักเทคโนโลยีอย่างมืออาชีพ ดังนั้นการให้บริการชุมชนโดยการนำเทคนิคที่ใช้ในการเรียนการสอนไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เติบโต มีอาชีพและมีรายได้   ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม โดยเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด (Covid  -19)


 

         

 

 

 

 






ครุศาสตร์ฯ มทร.ศรีวิชัย อบรมการใช้คอนเทนต์และการผลิตสื่อ เชิงรุก เพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับชุมชน

มทร. - Tue, 10/08/2021 - 11:17


 

ผศ.ปิยะ ประสงค์จันทร์ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย เปิดอบรมผ่านระบบออนไลน์โปรแกรม Zoom Cloud Meeting เชิงรุกให้กับผู้เข้าร่วมโครงการกับชุมชน   ต.ปากรอ  ต.คูขุด   ต.บางเขียด   ต.โรง  ต.ปากบาง  ต.เกาะสะบ้า

ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด (Covid – 19 )  ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการหลาย ๆ กลุ่มของชุมชนต้องปิดตัวลงและขาดรายได้ภายในครอบครัว และส่งผลกระทบให้วิถีการดำรงชีวิตเป็นไปด้วยความอยากลำบากมากขึ้น  โดยการอบรมหลั กสูตร Blog และหลักสูตร Bloger เป็นการให้ความรู้และการเสริมสร้างอาชีพใหม่ ๆ   ในชุมชน  Blog เป็นการผลิตสื่อทำบันทึกในด้านต่าง ๆ และ Bloger การเขียนบทความที่ทำให้มีความหน้าสนใจมากยิ่งขึ้นรวมถึงการนำเสนอ ข้อมูลในส่วนเฉพาะด้านนั้น ๆ  เน้นให้เห็นการแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์หรือตัวตนของผู้จัดทำเองออกมาให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรม รู้หลักทฤษฎีถึงเครื่องมือ ในการเขียนบทความออนไลน์ คอนเทนท์ออนไลน์ หรือในการจัดรูปแบบขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเทคนิคต่อยอดสู่อาชีพ ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในชุมชน และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมสำหรับยกระดับสินค้าหรือบริการของชุมชน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้หลักการรวมถึงแนวปฏิบัติของการทำสื่อโฆษณา และสามารถนำมาใช้ได้จริง

          คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมดิจิทัล ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาและนักเทคโนโลยีอย่างมืออาชีพ ดังนั้นการให้บริการชุมชนโดยการนำเทคนิคที่ใช้ในการเรียนการสอนไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้เติบโต มีอาชีพและมีรายได้   ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ผลงานอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม โดยเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด (Covid  -19)


 

         

 

 

 

 






ภาพบรรยากาศกิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ครั้งที่ 2 ในรูปแบบออนไลน์

Language Thai

วันที่  6  สิงหาคม  2564  งานวิทยบริการและสารสนเทศ  ได้จัดกิจกิรรมห้องสมุดเคลื่อนที่  ผ่านระบบ  Zoom  Cloud  Meeting  มีนักศึกษาหลายคณะเข้าร่วมฟัง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงมทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ส่งมอบถุงน้ำใจช่วยเหลือชาวบ้าน พื้นที่บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง

มทร. - Thu, 05/08/2021 - 10:15

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง พร้อมด้วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา หัวหน้าสำนักงานคณบดี และบุคลากร ร่วมกันบรรจุสิ่งของจำเป็นสำหรับการบริโภคอุปโภค ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล น้ำมันพืช น้ำปลา ปลากระป๋อง หน้ากากอนามัย และเจลล้างมือแอลกอฮอล์ (CAJUPUT HAND SANITIZER GEL) ซึ่งผลิตโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 25 ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีนางสาวกุลดา รัตนตรัง เป็นตัวแทนชาวบ้านรับถุงน้ำใจ ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง และนำไปส่งต่อให้กับชาวบ้านที่กักตัวอยู่ในหมู่บ้าน บ้านโต๊ะบัน หมู่ที่ 8 ตำบลบ่อหิน อำภอสิเกา จังหวัดตรัง







คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงมทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ส่งมอบถุงน้ำใจช่วยเหลือชาวบ้าน พื้นที่บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง

มทร. - Thu, 05/08/2021 - 10:15

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง พร้อมด้วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา หัวหน้าสำนักงานคณบดี และบุคลากร ร่วมกันบรรจุสิ่งของจำเป็นสำหรับการบริโภคอุปโภค ได้แก่ ข้าวสาร น้ำตาล น้ำมันพืช น้ำปลา ปลากระป๋อง หน้ากากอนามัย และเจลล้างมือแอลกอฮอล์ (CAJUPUT HAND SANITIZER GEL) ซึ่งผลิตโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 25 ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีนางสาวกุลดา รัตนตรัง เป็นตัวแทนชาวบ้านรับถุงน้ำใจ ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง และนำไปส่งต่อให้กับชาวบ้านที่กักตัวอยู่ในหมู่บ้าน บ้านโต๊ะบัน หมู่ที่ 8 ตำบลบ่อหิน อำภอสิเกา จังหวัดตรัง







มทร.ศรีวิชัยวิทยาเขตตรัง เร่งช่วยเหลือเกษตรกร เพิ่มผลผลิตการเลี้ยงหอยนางรม ออกจำหน่ายสร้างรายได้สู่ชุมชน

มทร. - Wed, 04/08/2021 - 13:58

หอยนางรมเป็นอาหารทะเลที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมารับประทานกับแบบสดๆ หรือจะนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่างหลากหลายเมนู อีกทั้งเปลือกหอยนางรมยังนำมาใช้ทำปูนขาว ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทั้งในด้านการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม จึงไม่น่าแปลกใจที่หอยนางรมจะเป็นอาหารทะเลอีกชนิดหนึ่งที่มีความต้องการทางตลาดเป็นค่อนข้างสูง ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง มทร.ศรีวิชัย ให้ความสำคัญในบทบาทหน้าที่การให้บริการวิชาการแก่สังคมด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมหรือสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กรอบงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูงเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรังภายใต้แผนงานนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการชุมชนในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา ดร.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว อาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ติดตามผลการดำเนินงาน การพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ลุ่มน้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ด้วยวิธีการเลี้ยงหอยนางรมในรูปแบบการเลี้ยงในตะกร้าและตะแกรงพลาสติก 3 ชั้น เพื่อเพิ่มปริมาณการเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ(กระชัง) ทำให้ได้ ปริมาณหอยนางรมเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 7 เท่า หรือประมาณ 7,200 ตัวต่อ 1 กระชัง จากเดิมที่เลี้ยงหอยนางรมได้จำนวน 1,000 - 2,000 ตัว ต่อกระชัง ด้านนายเลิศ โรยอุตระ และนายสมยศ ณะสม เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนารมชุมชนบ้านแหลม อ.กันตัง จ.ตรัง กล่าวว่าการเลี้ยงหอยนางรมต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง ประมาณ 1-1.5 ปี จะได้หอยนางรมที่จำหน่ายในท้องตลาด ราคาตัวละ 10-20 บาท จากการพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง ทำให้ได้ปริมาณ หอยนางรมเพิ่มมากและมีอัตราการรอดสูง อีกทั้งยังไม่มีสารเคมีตกค้าง สร้างความพึงพอใจให้กับชาวเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนารมบ้านแหลมเป็นอย่างมาก จากผลการดำเนินงานจึงได้มีการวางเป้าหมายเพื่อพัฒนาขยายพื้นที่ ในการเลี้ยงหอยนางรมไปยังชุมชนต่างๆ ซึ่งได้ทำการศึกษาระบบนิเวศและคุณภาพของน้ำ ที่เอื้อต่อการเลี้ยงหอยนางรมเพื่อส่งเสริมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดตรังต่อไป









มทร.ศรีวิชัยวิทยาเขตตรัง เร่งช่วยเหลือเกษตรกร เพิ่มผลผลิตการเลี้ยงหอยนางรม ออกจำหน่ายสร้างรายได้สู่ชุมชน

มทร. - Wed, 04/08/2021 - 13:58

หอยนางรมเป็นอาหารทะเลที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยส่วนใหญ่จะนิยมนำมารับประทานกับแบบสดๆ หรือจะนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่างหลากหลายเมนู อีกทั้งเปลือกหอยนางรมยังนำมาใช้ทำปูนขาว ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทั้งในด้านการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม จึงไม่น่าแปลกใจที่หอยนางรมจะเป็นอาหารทะเลอีกชนิดหนึ่งที่มีความต้องการทางตลาดเป็นค่อนข้างสูง ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง มทร.ศรีวิชัย ให้ความสำคัญในบทบาทหน้าที่การให้บริการวิชาการแก่สังคมด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมหรือสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กรอบงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยการพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูงเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรังภายใต้แผนงานนวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการชุมชนในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา ดร.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว อาจารย์ประจำสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ติดตามผลการดำเนินงาน การพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ลุ่มน้ำปะเหลียน ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ด้วยวิธีการเลี้ยงหอยนางรมในรูปแบบการเลี้ยงในตะกร้าและตะแกรงพลาสติก 3 ชั้น เพื่อเพิ่มปริมาณการเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ(กระชัง) ทำให้ได้ ปริมาณหอยนางรมเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึง 7 เท่า หรือประมาณ 7,200 ตัวต่อ 1 กระชัง จากเดิมที่เลี้ยงหอยนางรมได้จำนวน 1,000 - 2,000 ตัว ต่อกระชัง ด้านนายเลิศ โรยอุตระ และนายสมยศ ณะสม เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนารมชุมชนบ้านแหลม อ.กันตัง จ.ตรัง กล่าวว่าการเลี้ยงหอยนางรมต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง ประมาณ 1-1.5 ปี จะได้หอยนางรมที่จำหน่ายในท้องตลาด ราคาตัวละ 10-20 บาท จากการพัฒนาระบบการเลี้ยงหอยนางรมแบบความหนาแน่นสูง ทำให้ได้ปริมาณ หอยนางรมเพิ่มมากและมีอัตราการรอดสูง อีกทั้งยังไม่มีสารเคมีตกค้าง สร้างความพึงพอใจให้กับชาวเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนารมบ้านแหลมเป็นอย่างมาก จากผลการดำเนินงานจึงได้มีการวางเป้าหมายเพื่อพัฒนาขยายพื้นที่ ในการเลี้ยงหอยนางรมไปยังชุมชนต่างๆ ซึ่งได้ทำการศึกษาระบบนิเวศและคุณภาพของน้ำ ที่เอื้อต่อการเลี้ยงหอยนางรมเพื่อส่งเสริมและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดตรังต่อไป









งดบริการพิ้นที่ให้บริการ งานวิทยบริการและสารสนเทศ

Language Thai

งานวิทยบริการและสารสนเทศ ของดใช้อาคารหอสมุด  ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1-31 สิงหาคม 2564  (จนกว่ามหาวิทยาลัย ฯ  จะมีการเปลี่ยนแปลง)
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19     โดยสามารถตวรจสอบกำหนดส่งหรือยืมต่อทรัพยากรได้ที่ https://opac.rmutsv.ac.th/member/Login.aspx   

มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ เตรียมพร้อมเปิดโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยก่อนส่งตัวกลับบ้าน

มทร. - Fri, 30/07/2021 - 15:52

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ผศ.สมคิด ชัยเพชร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยอาจารย์สมยศ ศรีเพิ่ม ผู้ช่วยอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช ร่วมต้อนรับ นายตระกูล หนูนิล นายอำเภอทุ่งใหญ่ และคณะทำงานทุกท่าน ในการลงพื้นที่สำรวจความพร้อมเพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (Field Hospital) ซึ่งจากการลงพื้นที่จะใช้อาคารกิจกรรมนักศึกษา หรือโรงยิมเนเซียม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ทุ่งใหญ่ ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม(Field Hospital) อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นการรับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการ ไม่พบเชื้อหรือรักษาหายแล้ว มาพักฟื้นเพื่อกักตัวก่อนส่งกลับที่อยู่อาศัยอย่างมั่นใจว่าผู้ป่วยหายแล้ว 100% 

หลังจากการสำรวจความพร้อมของสถานที่จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม นายอำเภอทุ่งใหญ่เดินทางต่อไปที่หอพักนักศึกษาชาย 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ทุ่งใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่กักตัวสำหรับบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ของตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนายอำเภอทุ่งใหญ่และคณะทำงานได้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานที่กักตัวเพื่อรองรับบุคคลที่เดินทางเข้ามาในตำบลทุ่งใหญ่ให้ปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางปฏิบัติอย่างเคร่งครัด







มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ เตรียมพร้อมเปิดโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยก่อนส่งตัวกลับบ้าน

มทร. - Fri, 30/07/2021 - 15:52

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ผศ.สมคิด ชัยเพชร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยอาจารย์สมยศ ศรีเพิ่ม ผู้ช่วยอธิการบดีประจำวิทยาเขตนครศรีธรรมราช ร่วมต้อนรับ นายตระกูล หนูนิล นายอำเภอทุ่งใหญ่ และคณะทำงานทุกท่าน ในการลงพื้นที่สำรวจความพร้อมเพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (Field Hospital) ซึ่งจากการลงพื้นที่จะใช้อาคารกิจกรรมนักศึกษา หรือโรงยิมเนเซียม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ทุ่งใหญ่ ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม(Field Hospital) อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นการรับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการ ไม่พบเชื้อหรือรักษาหายแล้ว มาพักฟื้นเพื่อกักตัวก่อนส่งกลับที่อยู่อาศัยอย่างมั่นใจว่าผู้ป่วยหายแล้ว 100% 

หลังจากการสำรวจความพร้อมของสถานที่จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม นายอำเภอทุ่งใหญ่เดินทางต่อไปที่หอพักนักศึกษาชาย 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ทุ่งใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่กักตัวสำหรับบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ของตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนายอำเภอทุ่งใหญ่และคณะทำงานได้ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานที่กักตัวเพื่อรองรับบุคคลที่เดินทางเข้ามาในตำบลทุ่งใหญ่ให้ปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางปฏิบัติอย่างเคร่งครัด