สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology


Office of Academic Resources and Information Technology

เทคนิค เคล็ดลับในการเลือกซื้อหูฟัง

ประเภทของหูฟังนั้นแบบเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

           1. แบบแยงหู (In-Ear หรือ Ear-Plug)
           2. แบบแปะหูหรือแนบหู
           3. แบบสวมหัว

1

  • 1. แบบแยงหู (In-Ear หรือ Ear-Plug) 

          หูฟังประเภทแยงหูนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการพื้นที่เยอะเก็บง่าย ๆ ไม่เจ็บหูเมื่อฟังนาน ๆ ซึ่งมันสะดวกแก่การพกพาเอามาก ๆ หูฟังประเภทนี้เหมาะกับการนำเอาไปฟังเพลง เพราะเป็นหูฟังที่ให้รายละเอียดเสียงได้ดีมาก เพราะลำโพงของหูฟังประเภทนี้จะอยู่ใกล้กับโซนประสาทที่รับเสียง อีกทั้งยังให้มิติของเสียงดีที่สุดด้วยเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ ด้วยความที่เป็นหูฟังแบบแยงหู จึงทำให้ลดเสียงรบกวนภายนอกได้อย่างดี แต่ข้อเสียก็มี การที่แบบหูฟังแบบแยงหูทำให้เกิดการตัดเสียงรบกวนได้ดี จนไม่สามารถจะได้ยินเสียงในสภาพแวดล้อมได้เลย เพราะฉะนั้นควรใส่ให้ถูกสถานการณ์

 

 

 

2

  • 2. แบบแปะหูหรือแนบหู

          เป็นประเภทที่ได้รับความนิยมน้อยลงไปมาก หูฟังประเภทนี้จะมีข้อดีคือฟังง่ายกว่าแบบแยงหู สามารถเก็บง่าย ลำโพงมีขนาดใหญ่จริง แต่ก็ไม่ได้ให้มิติที่ดีไปกว่าแบบแยงหูเลย เนื่องด้วยการส่วมใส่หูฟังประเภทนี้จะเป็นแค่การแนบใบหูเท่านั้น ทำให้รับเสียงเข้าไปไม่สะดวก เหมือนจะเป็นหูฟังที่เหมาะ แต่ยังไม่ใช่ จุดเด่นคงเป็นเรื่องของการดีไซน์มากกว่าคุณภาพเสียง

 

 

 

3

  • 3. แบบสวมหัว

          ประเภทนี้ถือว่าเป็นประเภทที่ทำออกมาด้วยการคำนึงถึงคุณภาพเสียงเป็นอันดับแรก จากที่บอดี้ของหูฟังนั้นเป็นแบบสวมมีฟองน้ำมากมายรองรับการกระแทกเพราะฉะนั้นหูฟังประเภทนี้ถือว่าเป็นหูฟังที่ใช้แล้วสบายที่สุด ส่วนเรื่องคุณภาพที่ออกมานั้นไม่ต้องห่วงเลย อาจจะตัดเสียงรอบข้างไม่หมดเท่า In-Ear แต่ก็ให้เสียงที่มีมิติมากกว่า In-Ear หลายเท่านั้น เบส กลาง แหลม ทุกอย่างออกมาได้อย่างดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้อด้วย ถ้ารุ่นไม่ดีก็จะด้อยกว่า In-Ear แต่ถ้ารุ่นที่ดี ๆ หน่อย ก็ถือว่าเป็นหูฟังที่เหมาะที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง หูฟังประเภทนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง

 

 

 

4

วิธีการเลือกซื้อ

          แน่นอนว่าคุณควรมองงบในกระเป๋าคุณรวมกับประโยชน์ที่จะนำไปใช้ ถ้าคุณไม่ใช่ดีเจ ไม่ใช่นักดนตรีที่จะต้องทำเพลง ตัดต่อเพลง ก็คงไม่ทุ่มเงินมากมายซื้อหูฟังดี ๆ ใช่ไหมละครับ ถ้าคุณแค่ต้องการหูฟังมาฟังเพลงธรรมดา ๆ ดูหนังทั่ว ๆ ไป มันก็เลือกได้ งบประมาณ 1,000 บาท – 2,000 บาท ก็ได้หูฟังคุณภาพที่ดีแล้ว ส่วนประเภทหูฟังที่จะใช้นั้น ก็แล้วแต่คนชอบ แต่แนะนำว่า อย่าเพิ่งไปซื้อเลยทันที อย่ามองรูปลักษณ์ภายนอกเป็นสำคัญ ให้ทดลองฟังดีกว่า ฟังเยอะ ๆ ชอบเสียงแบบไหน เอาแบบนั้น “และที่สำคัญคุณห้ามมองสเปคของหูฟังนั้น ๆ เด็ดขาด เพราะมันจะไม่บอกคุณเลยในแง่ของคุณภาพ เพราะสเปคเป็นแค่ประสิทธิภาพเท่านั้น” อีกทั้งหูฟังยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการให้เสียงเท่านั้น คุณควรมองมาที่เครื่องเล่นด้วย

 

การทดสอบเสียงให้ดูดังนี้

  •  การแยกซ้าย – ขวาของเสียง
  •  เสียงครบหรือไม่ เครื่องดนตรีในเพลงนั้น ๆ ได้ยินหมดรึป่าว
  • เสียง ทุ้ม กลาง แหลม ชอบไหม
  •  เอาเพลงที่คุณฟังอยู่ทุกวันมาฟังด้วย

 

 

 

5

การนำไปใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Burn in)

          การเบิร์นคือการทำให้หูฟังได้ออกแรงทำงานไปพลาง ๆ ก่อนที่จะทดสอบกันแบบจริง ๆ จัง ๆ หรือพูดง่าย ๆ การเบิร์นคือการวอร์มให้หูฟังส่งประสิทธิภาพสูงสุดออกมาให้เห็นก่อน

 

การเบิร์นทำได้ดังนี้

  •  เปิดด้วยเพลงที่มีย่านเสียงครบ ซึ่งมักจะเจอในเพลงคลาสสิค
  •  ความจริงเพลงอะไรก็ได้ ขอให้บันทึกดีๆๆ หลีกเลี่ยงเพลงผี 128kbps
  •  เปิดทิ้งไว้ โดยกะระยะซัก 200 ชั่วโมง แต่ปิดพักได้เป็นระยะ
  •   อย่าเปิด EQ ในการเบิร์น
  •   อย่าเปิดดังกว่าที่ฟังปกติ

 

 

 

6

ข้อมูลจาก : notebook4game.com