ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 2 เล่มที่ 122 ตอนที่ 6 ก ทำให้เกิดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ขึ้นใหม่ 9 แห่ง มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ที่เน้นการปฏิบัติ ทำการเรียนการสอน การวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ในระยะแรกมีการจัดการเรียนการสอน เป็น 7 คณะ และ 2 วิทยาลัย ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว และวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ โดยมีสำนักฯ/สถาบัน/ศูนย์ เป็น 2 สำนัก และ 2 สถาบัน ได้แก่ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสถาบันวิจัยและพัฒนา ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานจัดการศึกษาระดับคณะ จำนวน 15 หน่วยงาน (12 คณะ และ 3 วิทยาลัย) ได้แก่ คณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยี วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ และวิทยาลัยรัตภูมิ โดยมีสำนักใหม่เพิ่มมาอีกหนึ่งสำนักคือ สำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,806 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา และหน่วยบริการแต่ละพื้นที่ดังนี้
- พื้นที่ตรัง หน่วยสารสนเทศ
- พื้นที่นครศรีธรรมราช (ทุ่งใหญ่) แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- พื้นที่นครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) แผนกวิทยบริการ
- พื้นที่นครศรีธรรมราช (ขนอม) งานวิทยบริการ
- พื้นที่สงขลา (รัตภูมิ) งานสารสนเทศ
ต่อมาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ประกาศอนุมัติโดยกฎกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549” และปี พ.ศ. 2549 งบประมาณยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดสงขลา ปี 2549 และ 2552 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 74,180,000 บาท ในการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ศูนย์พัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสาร จังหวัดสงขลา และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาคารเริ่มก่อสร้างเมื่อ มิถุนายน 2549 สร้างเสร็จเมื่อ มิถุนายน 2553