Feed aggregator
สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัล Cultural Textile Awards 2021
สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัล Cultural Textile Awards 2021
สงขลาเมืองเก่า มนต์เสน่ห์แห่งพหุวัฒนธรรม ไทย จีน มุสลิม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ เข้าร่วมการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2021) โดยมี อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นเป็นประธานในงาน ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รัชดา
สำหรับการประกวดในครั้งนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถคว้ารับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าฝ้าย Cultural Textile Awards 2021 ระดับประเทศ ผลงานของ อาจารย์นภท์ชนก ขวัญสง่า อาจารย์ณัฐชนา นวลยัง นายประพนธ์ ชนะพล และคว้ารับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าไหม Cultural Textile Awards 2021 ระดับประเทศ ได้แก่ อาจารย์ชไมพร มิตินันท์วงศ์ อาจารย์ณัฐชนา นวลยัง นายประพนธ์ ชนะพล โดยมี ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ ผู้ให้คำปรึกษาการประกวด
การถ่ายทอดผลงานดังกล่าวเกิดมาจาก วิถีชีวิตในอดีตของเมืองสงขลาที่ยังปรากฏให้ได้ศึกษา เรียนรู้และถ่ายทอดจนมาถึงทุกวันนี้ทั้งการเก็บรักษาข้าวของเครื่องใช้ ภายใต้การดูแลของสถาบันทักษิณคดีศึกษาและการจัดการภูมิทัศน์เมืองเก่าที่ยังคงมีการรักษาอาคารสิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมและการตกแต่งให้คงสภาพและซ่อมแซมให้มีความเหมือนเดิมในอดีตศิลปวัฒนธรรมสงขลายังมีครบทุกด้ายลวดลายงานสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอาคารสถานที่ อาหารและการแต่งกายที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลของการเป็นเมืองท่า ที่เชื่อมโยงจากคาบสมุทรมลายู วัฒนธรรมบางอย่างจึงได้รับอิทธิพลเข้ามา เช่นการแต่งกายด้วย ผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก
สงขลา เป็นเมืองที่มีสมบูรณ์และมีเรื่องราวจนทำให้รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสสงขลาราว 8 ครั้ง พร้อมได้ทั้งนำวัฒนธรรม ธรรมเนียม อาหาร เข้ามาในเมืองสงขลาโดยเฉพาะการทำขนมทองเอก และขนมสัมปันนี ซึ่งถือว่าเป็นขนมในย่านเก่าแก่ในย่านเมืองเก่าด้วย การพบหลักฐาน คือ แม่พิมพ์ไม้สำหรับทำขนมทองเอกและขนมสัมปันนีจำนวกมากซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ สถาบันทักษิณคดี ความสมบูรณ์และวิถีชีวิตคนเมืองท่าริมน้ำ มีทั้งน้ำเค็มและน้ำกร่อยมีดินทรายและดินโคลน ทำให้สงขลาเป็นแหล่งผลิตกระเบื้องว่าวดินเผาที่มีชื่อเสียงในอดีต ในย่านเมืองเก่ามีถนนสามวัฒนธรรม เป้นที่ตั้งของคน 3 เชื้อ 3 สาย ไทย จีน และพุทธ และมีสถานที่สำคัญในย่านถนนนี้ ได้แก่มัสยิดบ้านบลนศาลเจ้าจีน (ศาลหลักเมือง)และวัดยางทอง จากเรื่องราวเหล่านี้จึงได้นำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบลวดลายผ้าปาเต๊ะ ที่มีคุณค่าเรื่องราวและอัตลักษณ์ตามวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ลวดลายและสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สีธรรมชาติจากพืชในพื้นที่สงขลานั้นเอง
ติดต่อสอบถามรายละเอียด การออกแบบลวดลายผ้า หรือการเรียนการสอน การตัดเย็บได้ที่ คณะ สถาปัตยกรรม มทร.ศรีวิชัย โทร 074-317100
สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัล Cultural Textile Awards 2021
สถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัล Cultural Textile Awards 2021
สงขลาเมืองเก่า มนต์เสน่ห์แห่งพหุวัฒนธรรม ไทย จีน มุสลิม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ เข้าร่วมการประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากลเพื่อการต่อยอดและพัฒนา (Cultural Textile Awards 2021) โดยมี อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นเป็นประธานในงาน ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รัชดา
สำหรับการประกวดในครั้งนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถคว้ารับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าฝ้าย Cultural Textile Awards 2021 ระดับประเทศ ผลงานของ อาจารย์นภท์ชนก ขวัญสง่า อาจารย์ณัฐชนา นวลยัง นายประพนธ์ ชนะพล และคว้ารับรางวัลชมเชย ประเภทผ้าไหม Cultural Textile Awards 2021 ระดับประเทศ ได้แก่ อาจารย์ชไมพร มิตินันท์วงศ์ อาจารย์ณัฐชนา นวลยัง นายประพนธ์ ชนะพล โดยมี ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ ผู้ให้คำปรึกษาการประกวด
การถ่ายทอดผลงานดังกล่าวเกิดมาจาก วิถีชีวิตในอดีตของเมืองสงขลาที่ยังปรากฏให้ได้ศึกษา เรียนรู้และถ่ายทอดจนมาถึงทุกวันนี้ทั้งการเก็บรักษาข้าวของเครื่องใช้ ภายใต้การดูแลของสถาบันทักษิณคดีศึกษาและการจัดการภูมิทัศน์เมืองเก่าที่ยังคงมีการรักษาอาคารสิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมและการตกแต่งให้คงสภาพและซ่อมแซมให้มีความเหมือนเดิมในอดีตศิลปวัฒนธรรมสงขลายังมีครบทุกด้ายลวดลายงานสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอาคารสถานที่ อาหารและการแต่งกายที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลของการเป็นเมืองท่า ที่เชื่อมโยงจากคาบสมุทรมลายู วัฒนธรรมบางอย่างจึงได้รับอิทธิพลเข้ามา เช่นการแต่งกายด้วย ผ้าปาเต๊ะหรือผ้าบาติก
สงขลา เป็นเมืองที่มีสมบูรณ์และมีเรื่องราวจนทำให้รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสสงขลาราว 8 ครั้ง พร้อมได้ทั้งนำวัฒนธรรม ธรรมเนียม อาหาร เข้ามาในเมืองสงขลาโดยเฉพาะการทำขนมทองเอก และขนมสัมปันนี ซึ่งถือว่าเป็นขนมในย่านเก่าแก่ในย่านเมืองเก่าด้วย การพบหลักฐาน คือ แม่พิมพ์ไม้สำหรับทำขนมทองเอกและขนมสัมปันนีจำนวกมากซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ สถาบันทักษิณคดี ความสมบูรณ์และวิถีชีวิตคนเมืองท่าริมน้ำ มีทั้งน้ำเค็มและน้ำกร่อยมีดินทรายและดินโคลน ทำให้สงขลาเป็นแหล่งผลิตกระเบื้องว่าวดินเผาที่มีชื่อเสียงในอดีต ในย่านเมืองเก่ามีถนนสามวัฒนธรรม เป้นที่ตั้งของคน 3 เชื้อ 3 สาย ไทย จีน และพุทธ และมีสถานที่สำคัญในย่านถนนนี้ ได้แก่มัสยิดบ้านบลนศาลเจ้าจีน (ศาลหลักเมือง)และวัดยางทอง จากเรื่องราวเหล่านี้จึงได้นำมาเป็นแนวคิดในการออกแบบลวดลายผ้าปาเต๊ะ ที่มีคุณค่าเรื่องราวและอัตลักษณ์ตามวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ลวดลายและสีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้สีธรรมชาติจากพืชในพื้นที่สงขลานั้นเอง
ติดต่อสอบถามรายละเอียด การออกแบบลวดลายผ้า หรือการเรียนการสอน การตัดเย็บได้ที่ คณะ สถาปัตยกรรม มทร.ศรีวิชัย โทร 074-317100
ร่วมต้อนร่วมต้อนรับ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนน ลงพื้นที่ตรวจติดตามพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ศ.ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมต้อนรับนายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และนายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในโอกาสเดินทางลงพื้นที่ตรวจติดตามพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) โคก หนอง นา โมเดล จังหวัดนครศรีธรมราช ในโอกาสนี้ได้นำเสนอผลการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กับหน่วยงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านการพัฒนาอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อยกเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และได้หารือความร่วมมือด้านวิชาการที่จะดำเนินการร่วมกันในอนาคต ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราชป
ร่วมต้อนร่วมต้อนรับ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนน ลงพื้นที่ตรวจติดตามพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ศ.ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมต้อนรับนายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และนายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ในโอกาสเดินทางลงพื้นที่ตรวจติดตามพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) โคก หนอง นา โมเดล จังหวัดนครศรีธรมราช ในโอกาสนี้ได้นำเสนอผลการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กับหน่วยงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ ด้านการพัฒนาอาชีพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อยกเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และได้หารือความร่วมมือด้านวิชาการที่จะดำเนินการร่วมกันในอนาคต ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราชป
ห้องสมุดเปิดให้บริการแล้ว

ห้องสมุดเปิดให้บริการแล้วจ้าาาาาา
เข้าใช้บริการภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
เข้ามาค้นหาหนังสือด้วยตนเองและสามารถเข้ามาใช้บริการ Print งานได้ด้วย
และยังยืมออนไลน์ ก็ได้นะคะ
สอบถามข้อมูลการยืมเพิ่มเติม
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
งานวิทยบริการและสารสนเทศ (หอสมุด)
โทรศัพท์ 0-74-317-100 ต่อ 1164
ห้องสมุดเปิดให้บริการแล้ว

ห้องสมุดเปิดให้บริการแล้วจ้าาาาาา
เข้าใช้บริการภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
เข้ามาค้นหาหนังสือด้วยตนเองและสามารถเข้ามาใช้บริการ Print งานได้ด้วย
และยังยืมออนไลน์ ก็ได้นะคะ
สอบถามข้อมูลการยืมเพิ่มเติม
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
งานวิทยบริการและสารสนเทศ (หอสมุด)
โทรศัพท์ 0-74-317-100 ต่อ 1164
มทร.ศรีวิชัย ร่วมใจ “ร้อยบาทร้อยดวงใจ ช่วยภัยโควิด-19 ”
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธรรม ชุมพร้อมญาติ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ร่วมบริจาคน้ำดื่ม และผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภายใต้โครงการ “ร้อยบาทร้อยดวงใจ ช่วยภัยโควิด-19 ” ให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลบางขัน โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ โรงพยาบาลท่าศาลา และกิ่งกาชาดอำเภอทุ่งสง ในโครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบุคลากร และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาค เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ซึ่งดำเนินการผลิตโดยสาขาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพที่สร้างสรรค์สังคม โดยมีเรือนศรีวิชัย คลินิกการแพทย์แผนไทย ที่รองรับให้นักศึกษามีการปฏิบัติจริงตามหลักสูตรที่ได้มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการนวดไทย ด้านเภสัชกรรมไทย ด้านผดุงครรภ์ไทย และด้านเวชกรรมไทย และสำหรับท่านใดที่สนใจทางคลินิกการแพทย์แผนไทยยังมีบริการต่าง ๆ โดยสามารถเข้าติดตาม สอบถาม หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ หรือ แนวทางการศึกษาต่อ ได้ทางเพจ : แนะแนวการแพทย์แผนไทย มทร.ศรีวิชัย
มทร.ศรีวิชัย ร่วมใจ “ร้อยบาทร้อยดวงใจ ช่วยภัยโควิด-19 ”
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธรรม ชุมพร้อมญาติ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ร่วมบริจาคน้ำดื่ม และผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภายใต้โครงการ “ร้อยบาทร้อยดวงใจ ช่วยภัยโควิด-19 ” ให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลบางขัน โรงพยาบาลทุ่งใหญ่ โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ โรงพยาบาลท่าศาลา และกิ่งกาชาดอำเภอทุ่งสง ในโครงการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบุคลากร และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาค เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ซึ่งดำเนินการผลิตโดยสาขาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพที่สร้างสรรค์สังคม โดยมีเรือนศรีวิชัย คลินิกการแพทย์แผนไทย ที่รองรับให้นักศึกษามีการปฏิบัติจริงตามหลักสูตรที่ได้มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการนวดไทย ด้านเภสัชกรรมไทย ด้านผดุงครรภ์ไทย และด้านเวชกรรมไทย และสำหรับท่านใดที่สนใจทางคลินิกการแพทย์แผนไทยยังมีบริการต่าง ๆ โดยสามารถเข้าติดตาม สอบถาม หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ หรือ แนวทางการศึกษาต่อ ได้ทางเพจ : แนะแนวการแพทย์แผนไทย มทร.ศรีวิชัย
บรรยายพิเศษ The Great Remake: สร้างคนสู่โลกใหม่ โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย
ตามที่ประชุมนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปนอ.มทร.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ได้เรียนเชิญ ดร.สันติธาร เสถียรไทย นำเสนอ แนวทางการปรับแผนยุทธศาสตร์ Post Covid ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง จากกรณีศึกษา “The Great Remake สู่โลกใหม่” เพื่อให้นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี และหัวหน้าหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ได้นำแนวคิดของ ดร.สันติธาร เสถียรไทย ใช้เป็นแนวทางการปรับยุทธศาสตร์ Post Covid ของมหาวิทยาลัย
Embedded video for บรรยายพิเศษ The Great Remake: สร้างคนสู่โลกใหม่ โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย
บรรยายพิเศษ The Great Remake: สร้างคนสู่โลกใหม่ โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย
ตามที่ประชุมนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปนอ.มทร.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ได้เรียนเชิญ ดร.สันติธาร เสถียรไทย นำเสนอ คลิปการบรรยายพิเศษ แนวทางการปรับแผนยุทธศาสตร์ Post Covid ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง จากกรณีศึกษา “The Great Remake สู่โลกใหม่” เพื่อให้นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี และหัวหน้าหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง ได้นำแนวคิดของ ดร.สันติธาร เสถียรไทย ใช้เป็นแนวทางการปรับยุทธศาสตร์ Post Covid ของมหาวิทยาลัย
Embedded video for บรรยายพิเศษ The Great Remake: สร้างคนสู่โลกใหม่ โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย
พิธีพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564
มทร.ศรีวิชัย จัดพิธีพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564 โดยมี ศ.ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมพิธี ซึ่งในปีนี้ มทร. ศรีวิชัย สงขลามีผู้เกษียณอายุราชการอายุราชการ จำนวน 12 ท่าน มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง มีผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน 3 ท่าน มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน 16ท่าน ซึ่งได้มีการมอบของที่ระลึกให้กับผู้เกษียณ ร่วมพูดคุย และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ในบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง
พิธีพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564
มทร.ศรีวิชัย จัดพิธีพิธีแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564 โดยมี ศ.ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้าร่วมพิธี ซึ่งในปีนี้ มทร. ศรีวิชัย สงขลามีผู้เกษียณอายุราชการอายุราชการ จำนวน 12 ท่าน มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง มีผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน 3 ท่าน มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน 16ท่าน ซึ่งได้มีการมอบของที่ระลึกให้กับผู้เกษียณ ร่วมพูดคุย และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ในบรรยากาศอบอุ่นและเป็นกันเอง
คณะสถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ การประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ SACIT Award 2021
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดี กับคณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ สาขาศิลปกรรมและออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากโครงการการประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ SACIT Award 2021 “ผ้าไทยใส่ได้ทุก Gen โดยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ได้แก่ ประเภท บุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ภาคใต้ ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ Generation Y ได้แก่ นางสาวซูมัยยะห์ ตอรี นายประพนธ์ ชนะพล และ นางสาว ณัฐชนา นวลยัง เจ้าของผลงาน มนต์เสน่ห์เมืองใต้ (การออกแบบผ้าทอผ้าบาติก เก๋บาติก จ.ยะลา) โดยมี ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ และ อ.ณัฐชนา นวลยัง ผู้ควบคุมและให้คำปรึกษา
มนต์เสน่ห์เมืองใต้ ได้รับแรงบันดาลใจจากความสวยงามของทรัพยากรทางธรรมชาติของภาคใต้ เทือกเขา Halabala ที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่า และพฤกษานานพรรณ ทั้งผู้ออกแบบนำเสนอ เครื่องแต่งกายที่สอดคล้อง กับไลท์สไตล์ ของกลุ่ม gen y ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการดีไซน์ที่ทันสมัย ตัดเย็บด้วย เนื้อผ้าที่มีคุณภาพดีผู้ออกแบบเลือกใช้/วัตถุดิบจากกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มเก๋บาติก จ.ยะลา ที่แสดงถึงมรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าสู่ อัตลักษณ์อันโดดเด่นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจาก gen y สามารถเป็นกระบอกเสียง สำคัญในการเผยแพร่ภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย ให้เข้าถึงแฟชั่นในปัจจุบัน เพื่อเข้าสู่ระดับสากลต่อไป เทคนิคเขียนบาติกแบบ freehand
รางวัลชนะเลิศ ประเภทนิสิต/นักศึกษาใน Generation Z รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นางสาวสาลินี ไพบูลย์รุ่งโรจน์ และ นางสาวณัฐพร ธีรสุปาณี เจ้าของผลงาน SKATER The New Wave (การออกแบบผ้าทอนาหมื่นศรี จ.ตรัง) ผ้าไทยใส่ได้ทุกGen“Skater The New Wave” The new wave คลื่นลูกใหม่ แรงต้านที่กระทบเข้าหาฝั่งโดยไร้สิ่งใดต้านทาน เปรียบเสมือกับเด็กใน Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมกับความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้โดยไม่หวั่นกลัวต่อสิ่งใด คลื่นลูกใหม่นี้ที่จะพัฒนาโลกของเราให้เดินไปข้างหน้า โดย Concept ในการออกแบบคือ Skater หรือกีฬา Skateboard ตัวแทนของวัยรุ่นในยุคนี้สื่อถึงความกล้า ไม่เกรงกลัวที่จะพัฒนาตัวเอง และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ เปรียบเสมือนกับคลื่นที่กระทบเข้าหาฝั่งอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของเราคือ เด็กรุ่นใหม่ในช่วงอายุตั้งแต่ 9 – 24ปี เหล่าเด็กนักเรียนนักศึกษา ที่ก้าวทันกระแส Social ผู้นำแฟชั่นหรือกระแสที่กำลังนิยมในปัจจุบัน ให้หันมาให้ความสนใจ และสนุกไปกับการสวมใส่ผ้าไทย โดยเทคนิคที่นำมาใช้ในการออกแบบ ได้แก่ การปักทึบ, การเย็บกด และการเย็บแบบ Boro Stitches เป็นต้น ด้านรูปทรงของชุดนั้น ทางผู้ออกแบบต้องการให้มีความคล่องตัวในการสวมใส่ มีความสดใสและเท่ผสมผสานกันอย่างลงตัว และที่สำคัญต้องสวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวัน ทางผู้ออกแบบได้เลือกใช้ ผ้าฝ้ายทอมือ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง มาเป็นวัสดุหลักในการตัดเย็บ ซึ่งลักษณะพิเศษของผ้าทอนาหมื่นศรีอยู่ที่โครงสร้างของผืนผ้า ลวดลาย และสี เนื่องจากผู้ทอเป็นช่างที่มีฝีมือสามารถนำลวดลายต่าง ๆ มารวมไว้ในผืนผ้า เช่น ลายลูกแก้วใหญ่ ลายตาหมากรุก เป็นต้น โดยผ้าที่ผู้ออกแบบเลือกใช้ คือ ผ้าทอลายตาหมากรุก สาเหตุที่เลือกเพราะ ผ้าลายนี้มีความโดดเด่นในเรื่องของสีสันและลวดลายที่ทันสมัยไม่ว่าจะยุคไหน ๆ เข้าถึงได้ง่ายเหมาะกับเด็กใน Gen Z
คณะสถาปัตย์ มทร.ศรีวิชัย คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ การประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ SACIT Award 2021
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดี กับคณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ สาขาศิลปกรรมและออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากโครงการการประกวดผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ SACIT Award 2021 “ผ้าไทยใส่ได้ทุก Gen โดยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ได้แก่ ประเภท บุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ภาคใต้ ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ Generation Y ได้แก่ นางสาวซูมัยยะห์ ตอรี นายประพนธ์ ชนะพล และ นางสาว ณัฐชนา นวลยัง เจ้าของผลงาน มนต์เสน่ห์เมืองใต้ (การออกแบบผ้าทอผ้าบาติก เก๋บาติก จ.ยะลา) โดยมี ดร.นวัทตกร อุมาศิลป์ และ อ.ณัฐชนา นวลยัง ผู้ควบคุมและให้คำปรึกษา
มนต์เสน่ห์เมืองใต้ ได้รับแรงบันดาลใจจากความสวยงามของทรัพยากรทางธรรมชาติของภาคใต้ เทือกเขา Halabala ที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่า และพฤกษานานพรรณ ทั้งผู้ออกแบบนำเสนอ เครื่องแต่งกายที่สอดคล้อง กับไลท์สไตล์ ของกลุ่ม gen y ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการดีไซน์ที่ทันสมัย ตัดเย็บด้วย เนื้อผ้าที่มีคุณภาพดีผู้ออกแบบเลือกใช้/วัตถุดิบจากกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มเก๋บาติก จ.ยะลา ที่แสดงถึงมรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าสู่ อัตลักษณ์อันโดดเด่นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจาก gen y สามารถเป็นกระบอกเสียง สำคัญในการเผยแพร่ภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทย ให้เข้าถึงแฟชั่นในปัจจุบัน เพื่อเข้าสู่ระดับสากลต่อไป เทคนิคเขียนบาติกแบบ freehand
รางวัลชนะเลิศ ประเภทนิสิต/นักศึกษาใน Generation Z รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ได้แก่ นางสาวสาลินี ไพบูลย์รุ่งโรจน์ และ นางสาวณัฐพร ธีรสุปาณี เจ้าของผลงาน SKATER The New Wave (การออกแบบผ้าทอนาหมื่นศรี จ.ตรัง) ผ้าไทยใส่ได้ทุกGen“Skater The New Wave” The new wave คลื่นลูกใหม่ แรงต้านที่กระทบเข้าหาฝั่งโดยไร้สิ่งใดต้านทาน เปรียบเสมือกับเด็กใน Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมกับความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้โดยไม่หวั่นกลัวต่อสิ่งใด คลื่นลูกใหม่นี้ที่จะพัฒนาโลกของเราให้เดินไปข้างหน้า โดย Concept ในการออกแบบคือ Skater หรือกีฬา Skateboard ตัวแทนของวัยรุ่นในยุคนี้สื่อถึงความกล้า ไม่เกรงกลัวที่จะพัฒนาตัวเอง และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ เปรียบเสมือนกับคลื่นที่กระทบเข้าหาฝั่งอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของเราคือ เด็กรุ่นใหม่ในช่วงอายุตั้งแต่ 9 – 24ปี เหล่าเด็กนักเรียนนักศึกษา ที่ก้าวทันกระแส Social ผู้นำแฟชั่นหรือกระแสที่กำลังนิยมในปัจจุบัน ให้หันมาให้ความสนใจ และสนุกไปกับการสวมใส่ผ้าไทย โดยเทคนิคที่นำมาใช้ในการออกแบบ ได้แก่ การปักทึบ, การเย็บกด และการเย็บแบบ Boro Stitches เป็นต้น ด้านรูปทรงของชุดนั้น ทางผู้ออกแบบต้องการให้มีความคล่องตัวในการสวมใส่ มีความสดใสและเท่ผสมผสานกันอย่างลงตัว และที่สำคัญต้องสวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวัน ทางผู้ออกแบบได้เลือกใช้ ผ้าฝ้ายทอมือ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง มาเป็นวัสดุหลักในการตัดเย็บ ซึ่งลักษณะพิเศษของผ้าทอนาหมื่นศรีอยู่ที่โครงสร้างของผืนผ้า ลวดลาย และสี เนื่องจากผู้ทอเป็นช่างที่มีฝีมือสามารถนำลวดลายต่าง ๆ มารวมไว้ในผืนผ้า เช่น ลายลูกแก้วใหญ่ ลายตาหมากรุก เป็นต้น โดยผ้าที่ผู้ออกแบบเลือกใช้ คือ ผ้าทอลายตาหมากรุก สาเหตุที่เลือกเพราะ ผ้าลายนี้มีความโดดเด่นในเรื่องของสีสันและลวดลายที่ทันสมัยไม่ว่าจะยุคไหน ๆ เข้าถึงได้ง่ายเหมาะกับเด็กใน Gen Z
รมต.ว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมพิธี MOU มทร.ศรีวิชัย กับกรมการขนส่งทางราง
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 มทร.ศรีวิชัย ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”ระหว่างกรมการขนส่งทางราง กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รศ.จรูญ เจริญเนตรกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และดร.อาศิส อัยรักษ์ หัวหน้าหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบรางเพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”ระหว่างกรมการขนส่งทางรางกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting โดยมีศาตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นผู้ร่วมลงนามในพิธีฯ ซึ่งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”เป็นการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ของกรมการขนส่งทางราง กับ หน่วยงานทั้ง 6 ฝ่าย โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานในพิธี และร่วมลงนามในฐานะประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ และนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวรายงานในพิธีฯ
รมต.ว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมพิธี MOU มทร.ศรีวิชัย กับกรมการขนส่งทางราง
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 มทร.ศรีวิชัย ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”ระหว่างกรมการขนส่งทางราง กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รศ.จรูญ เจริญเนตรกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และดร.อาศิส อัยรักษ์ หัวหน้าหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบรางเพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”ระหว่างกรมการขนส่งทางรางกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting โดยมีศาตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นผู้ร่วมลงนามในพิธีฯ ซึ่งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบราง”เป็นการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ของกรมการขนส่งทางราง กับ หน่วยงานทั้ง 6 ฝ่าย โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานในพิธี และร่วมลงนามในฐานะประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ และนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวรายงานในพิธีฯ
(สอต.3) เข้าพบและหารือแนวทางการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงฯ
วันอังคารที่ 21 กันยายน 2564 ศ.ดร สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารร่วมหารือ “แนวทางการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านวิชาการ ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรวิชัย กับ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3” (สอต.3)โดย มี ดร.ปรีชา เวชศาสตร์ ผอ.สถาบันนำทีมผู้บริหาร เข้าพบหารือการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ณ ห้องประชุมศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
(สอต.3) เข้าพบและหารือแนวทางการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงฯ
วันอังคารที่ 21 กันยายน 2564 ศ.ดร สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารร่วมหารือ “แนวทางการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านวิชาการ ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรวิชัย กับ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3” (สอต.3)โดย มี ดร.ปรีชา เวชศาสตร์ ผอ.สถาบันนำทีมผู้บริหาร เข้าพบหารือการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ณ ห้องประชุมศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
งดบริการพิ้นที่ให้บริการ งานวิทยบริการและสารสนเทศ

ประกาศสำคัญ
งานวิทยบริการและสารสนเทศ ของดใช้อาคารหอสมุด
ในช่วงตั้งแต่วันที่ 16-30 กันยายน 2564
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19
โดยสามารถตวรจสอบกำหนดส่งหรือยืมต่อทรัพยากรได้ที่ https://opac.rmutsv.ac.th/member/Login.aspx
หรือหากต้องการคืนทรัพยากรสามารถคืนได้ผ่านตู้คืนหนังสือ (ฺBOOK DPOR) บริเวณด้านหน้าอาคารหอสมุด
หากต้องการยืมหนังสือ
งดบริการพิ้นที่ให้บริการ งานวิทยบริการและสารสนเทศ

ประกาศสำคัญ
งานวิทยบริการและสารสนเทศ ของดใช้อาคารหอสมุด
ในช่วงตั้งแต่วันที่ 16-30 กันยายน 2564
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19
โดยสามารถตวรจสอบกำหนดส่งหรือยืมต่อทรัพยากรได้ที่ https://opac.rmutsv.ac.th/member/Login.aspx
หรือหากต้องการคืนทรัพยากรสามารถคืนได้ผ่านตู้คืนหนังสือ (ฺBOOK DPOR) บริเวณด้านหน้าอาคารหอสมุด
หากต้องการยืมหนังสือ