สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology


Office of Academic Resources and Information Technology

Feed aggregator

ประกาศรายชื่อนักศึกษาเข้าสอบสมรรถนะพื้นฐานด้านไอที ตามมาตรฐาน IC3 (นักศึกษาสอบไม่ผ่านเกณฑ์) กลุ่ม G4_2566 (ไสใหญ่)

หมายเหตุ :: 1. สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีรายชื่อ เนื่องจากนักศึกษา ไมได้อยู่ในกลุ่มของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังจะ
                     สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2564 เเละปีการศึกษา 2565
                  2. นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วแต่ไม่มีรายชื่อ (นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา
                      ปีการศึกษา 2564-2565) ให้ติดต่อสำนักวิทยบริการฯ ผ่านทางช่องทาง Inbox facebook :: RMUTSV.ARIT เอกสารแนบไฟล์:  AttachmentSize PDF icon ประกาศรายชื่อนักศึกษาเข้าสอบสมรรถนะพื้นฐานด้านไอที ตามมาตรฐาน IC3 (นักศึกษาสอบไม่ผ่านเกณฑ์) กลุ่ม G4_2566 (ไสใหญ่)94.84 KB ประจำปีการศึกษา: 2565

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มทร. - Fri, 17/02/2023 - 13:57

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการระหว่าง อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย
ใจเปี่ยม รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์คำรณ พิทักษ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ (MOA) มุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาความรู้ ภายใต้การถ่ายทอดความรู้จากสถานการณ์จริงของการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจแก่นักศึกษา ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  











มทร. ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ร่วมกับชุมชนเกาะลิบง จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science Camp ครั้งที่ 4)

มทร. - Fri, 17/02/2023 - 13:39
มทร. ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ร่วมกับชุมชนเกาะลิบง จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science Camp ครั้งที่ 4) . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ร่วมกับชุมชนเกาะลิบง จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 4 (Marine Science Camp # 4) ให้กับเยาวชนโรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดสุราษฏร์ธานี พังงา กระบี่ และ ตรัง โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 23 คน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) ขององค์การสหประชาชาติด้านเป้าหมายที่ 14 (SDG 14: Life below water) ในระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2566 นายประชุม เจริญฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 ต. เกาะลิบง วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิอัตลักษณ์ และสถานภาพของแหล่งหญ้าทะเล พะยูน และสัตว์น้ำอื่นๆที่พบมากในพื้นที่ตำบลเกาะลิบง อาทิ ปลิงทะเล หอยชักตีน ที่ใช้แหล่งหญ้าทะเลเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งได้สอดแทรกแนวคิดการอนุรักษ์และการใช้ ทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ด้าน ผศ. พรเทพ วิรัชวงศ์ นำทีมอาจารย์ และนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ร่วมให้คำแนะนำเยาวชนในการทำกิจกรรมต่าง เข้าค่ายเกี่ยวกับการศึกษาระบบนิเวศและการฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่ง โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ ยังยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) การบรรยายเกี่ยวกับความสำคัญของระบบนิเวศแหล่งหญ้าทะเล การศึกษาระบบนิเวศปะการังบริเวณเกาะลิบง การศึกษาพฤติกรรมของพะยูนในภาคสนาม และการทำกิจกรรมปลูกหญ้าทะเล เพื่อฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลในภาคสนาม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน และได้ความสนุกสนาน ความประทับใจถึงไมตรีจิตของชุมชนเกาะลิบงที่ได้ต้อนรับและให้ความรู้กับเยาวชนตลอดเวลาที่เข้าร่วมโครงการฯ




มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง งนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรภาคเอกชนในจังหวัดตรัง Trang Unet

มทร. - Fri, 17/02/2023 - 13:34
สถาบันอุดมศึกษาและองค์กรภาคเอกชนในจังหวัดตรัง Trang Unet ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ครั้งที่ 3 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมปัญญาอนุสรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยา เขตตรัง นายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานพิธีเปิดและสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในนามผู้ประสานงานและตัวแทนเครือข่าย ผศ.โกสินทร์ พัฒนมณี รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงานการจัดงานพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาและองค์กรภาคเอกชนในจังหวัดตรัง ครั้งที่ 3 โดยมีผู้บริหารจากสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 8 สถาบัน และองค์กรภาคเอกชน 3 องค์กรในจังหวัดตรังประกอบด้วย 1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง 2.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ตรัง 3.มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง 4.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง 5.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง 6.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง 7.มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง 8.ศูนย์บริการการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (นาบินหลา) จังหวัดตรัง 9.สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง 10.หอการค้าจังหวัดตรัง และ11. สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานอุดมศึกษา ดังนี้ 1. ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตบัณฑิต การจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยระหว่างสถาบันและองค์กรภาคเอกชน 2. ร่วมกันทำงานวิจัยระหว่างสถาบันและองค์กรภาคเอกชนให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับนานาชาติ 3. จัดกิจกรรมการให้บริการวิชาการแก่สังคมที่ทันสมัย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนสู่สังคม 4. ร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งร่วมกันระหว่างสถาบัน 5. ส่งเสริม สนับสนุน เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งระยะเวลาของบันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 16 กุมภาพันธ์ 2569














Progressive migration to Drupal 9 for Ed-Tech Startup, Edredo

test - Thu, 16/02/2023 - 22:34
Completed Drupal site or project URL: https://www.edredo.com

Edredo is a social platform that links 90,000+ students and young professionals with industry specialists for career growth and skill-building. With a focus on collaborative learning and teaching, Edredo offers a unique and engaging Ed-tech experience through its innovative approach to experiential learning, gamification, and ease of use.

OpenSense Labs assisted Edredo in migrating to a Drupal 9 decoupled application through a progressive approach, ensuring a seamless transition with no disruption to the end user experience.