สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

30 เทคนิคออกแบบภาพ Print Ads อย่างสร้างสรรค์

01. เรียบง่ายเข้าว่า
แนวความคิดที่เรียบง่ายบางครั้งก็ทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ ลองดูตัวอย่างงานของ Lego นี้สิครับ ที่เล่นกับจินตนาการของการต่อเลโก้ ซึ่งมันเรียบง่ายทั้งไอเดียและภาพ ไม่มีก็อปปี้ ไม่มีคำโฆษณาเยิ่นเย้อ มีเพียงภาพๆเดียวที่เรียบง่ายแต่เราก็เข้าใจสิ่งที่เลโก้อยากบอกใช่ไหมล่ะ

1_simple
Image: Lego by Blattner Brunner
 


02. กระตุ้นให้คนคิดหรือทำบางอย่าง ( Call to Action )
เราควรจะใช้ข้อความหรือกราฟฟิกที่มีข้อความกระตุ้นให้คนรู้สึกนึกคิดหรือทำอะไรซักอย่างเมื่อได้เห็นโฆษณา ซึ่งเราสามารถวางมันใว้ในจุดที่เมื่อเข้าใจภาพแล้ว สิ่งนี้ ( ที่มักเรียกกันว่า Call to Action ) จะกระตุ้นหรือตอกย้ำความเข้าใจจนสร้างการกระทำบางอย่างต่อไป
ตัวอย่างนี้โชว์ให้เราเห็นภาพทางม้าลายปกติกับอันที่ดูถี่และแคบกว่าปกติ ซึ่งเราอาจจะงงว่ามันคืออะไร แต่พอเราไล่สายตามมาถึงคำเชิญชวนให้มาดูลูกม้าลายเกิดใหม่ที่สวนสัตว์ ก็คงจะร้องอ๋อกันขึ้นมาทันทีเลยใช่มั้ยครับ

2_CTA
Image: Monarto Zoo by Showpony Advertising

 

03. เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
มีเพียงไม่กี่ผลิตภัณฑ์หรอกที่จะถูกใช้งานจากทุกๆคนบนโลก แล้วยิ่งถ้าเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มที่เล็กลงไปอีก การทำโฆษณาออกมาซักชิ้นนึงก็ควรจะสื่อสารกับคนเหล่านั้นโดยตรงเลยไม่อ้อมค้อม ซึ่งอาจจะออกมาในรูปลักษณ์เท่ๆแบบนี้ก็ได้ มีดกวนหนวดสำหรับคนมีหนวดมีเครามีสไตล์แตกต่างกันแค่ไหน มีดโกนหนวดนี้ก็รับใช้ได้สบายๆ

3_niche-662x309

Image: Wilkinson Sword by JWT, London, United Kingdom

04. การอุปมาอุปมัย
นี่คงเป็นรูปแบบที่เราเห็นบ่อยที่สุดในงานโฆษณา เพราะมันช่างช่วยให้เห็นภาพชัดเจนและสร้างความรู้สึกได้มากมายมหาศาล จากเทคนิคการนำสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเอามาทำให้เรื่องเดียวกันอย่างชาญฉลาด พอคนเข้าใจมันจะดูเจ๋งขึ้นมาทันที  ตัวอย่างนี้คือการรณรงค์ให้ทำความสะอาดผักผลไม้ก่อนกิน เพราะถ้าไม่ล้างก่อนมันจะเสี่ยงที่จะติดโรคต่างๆเจ็บป่วยถึงชีวิตได้เลย แน่นอนว่าระเบิดคร่าชีวิตได้ไม่ต่างกับผลไม้ที่ไม่ได้ล้างนั่นเอง! แต่ข้อควรระวังคือ 2 สิ่งที่หยิบมาเปรียบเทียบ ต้องชัดเจนและคนส่วนใหญ่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน…

4_metaphorImage: Elter Drugs by AW Nazca Saatchi & Saatchi, Caracas, Venezuela

05. เชื่อมโยงความหมาย
เทคนิคนี้จะคล้ายๆกับการอุปมาอุปมัยแต่จะมีความลึกซึ้งซับซ้อนกว่า เพราะมันคือการหาความหมายที่เชื่อมโยงหลายๆสิ่งเข้าด้วยกันผ่านสถานการณ์หรือบริบทบางอย่าง มันคือการเปรียบเทียบจากสิ่งที่คนเข้าใจอยู่แล้ว 2-3 อย่างมารวมเป็นเนื้อหาใหม่ที่ต้องการสื่อ จากตัวอย่างจะเห็นว่าเว็บไซต์หาคู่ออนไลน์ parship.com ใช้ลักษณะของซิบโดยแทนตัวซี่ด้วยสัญลักษณ์ที่เข้าใจกันทั่วโลกว่าเป็นชายหญิง นำมารูดรวมกันสลับฟันปลาเลียนแบบการทำงานของซิบ เทียบได้กับการทำงานของเว็บไซต์ที่นำพาชาย-หญิงมาเจอกันนั่นเอง

5_hiddenvisualImage: Parship by Euro Rscg Vienna

06. ใช้คนดังเป็นคนแสดง
ข้อดีของการนำคนมีชื่อเสียงทั้งในอดีตและปัจจุบันมาอ้างอิง คือถ้าคนคนนั้นเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างมากทั้งทัศนคติและผลงานหรือการแสดงออกต่างๆของเขาที่ฝากใว้บนโลกมันโดดเด่นขนาดที่คนส่วนใหญ่รับรู้ได้ คนทั่วๆไปจะเข้าใจแนวคิดเราได้ง่ายขึ้นและน่าสนใจ หากเรานำมาปรับใช้กับแนวคิดเราได้อย่างฉลาดๆ อย่างเช่นโฆษณา SAMSUNG ชิ้นนี้ที่กำลังจะบอกคุณสมบัติของกล้องถ่ายรูปที่ถ่าย selfie ได้ง่ายและเนียนมากขนาดศิลปินดังอย่าง van gogh ยังต้องใช้อันเป็นที่มาของภาพ self portrait อันโด่งดัง

6_UseIconicFiguresImage: Samsung by Leo Burnett Switzerland

07. เล่นกับขนาด
เป็นเทคนิคที่ทรงพลังมากอันนึงเลยเรื่องสัดส่วนที่ต่างกันแบบสุดขั้ว ด้วยภาพที่ดูแปลกตามันส่งผลต่อความรู้สึกได้มหาศาล เพราะความผิดปกติมักจะกระตุ้นความสนใจให้มนุษย์ตื่นตัว แต่นี่ไม่ใช่ภัยคุกคามมันเป็นเพียงงานโฆษณาดีๆชิ้นนึงของ Staedtler  ที่นำดินสอมาเหลาอย่างละเอียดปราณีต สละสลวยสวยเป็นปราสาทอลังการอย่างไม่น่าเป็นไปได้ มันเลยดูเจ๋งมากๆเลย

7_scale
Staedtler by Leo Burnett

08. จินตนาการเหนือจริง
การพูดเกินจริงคือสิ่งที่งานโฆษณามักทำเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ต้องเกินจริงไปแบบเยอะๆเลยนะครับ อย่ายืนบนเส้นแบ่งที่คลุมเครือเพราะนอกจากจะผิดกฏหมายแล้วยังอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดจนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาได้ ถ้าจะโม้ต้องโม้ให้สุด อย่างเช่นสเปรย์ฉีดยุงที่มองว่าตัวโน๊ตดนตรีคลาสสิคคือยุงแสนน่ารำคาญ มันเลยฉีดซะตายเหี้ยนเหลือใว้แต่เส้นเปล่าๆ นอกจากจะบอกอานุภาพของสเปรย์แล้วยัง แอบแซะดนตรีคลาสสิคเล็กๆแต่ก็ขำดี…

8_exaggerate
Image: Raid by Draft FCB

09. เซอร์เรียลนิดๆกำลังดี
ก็น่าสนุกดีกับภาพแนวๆลวงตา ที่ดูเผินๆก็เหมือนธรรมดาแต่เมื่อตั้งใจดูจะเห็นว่ามีความผิดเพี้ยนบางอย่าง ซึ่งความผิดเพี้ยนที่ว่านี้เปิดช่องให้จินตนาการได้หลายอย่างตามแต่คุณจะพาผู้ชมไป จากตัวอย่าง IKEA เอาแรงบัลดาลใจจาก Penrose triangle ( สัญลักษณ์สามเหลี่ยมใขว้ไปมาแบบที่เป็นไปไม่ได้ ) มาดัดแปลงเป็นเก้าอี้ที่ขาใขว้ไปมางงๆ เพื่อจะบอกว่าหากการประกอบเฟอร์นิเจอร์สำหรับคุณแล้วมันจะยุ่งยากซับซ้อนเป็นไปไม่ได้ขนาดนี้เรามีบริการประกอบให้ เท่านั้นเอง…

9_surreal-662x992
Image: Ikea by DDB Tribal

10. สื่อสารด้วยภาพที่เย้ายวน
มันคือการแสดงความหมายที่เราซ่อนใว้ผ่านการทำงานของภาพ ที่สื่อสารทั้งอารมณ์ความรู้สึกและจุดมุ่งหมายออกมาโดยที่ไม่ต้องมีตัวหนังสือบอกเลยมันคือการปล่อยให้ภาพเล่าเรื่องทั้งหมด แน่นอนว่า Visual ที่ออกมาก็ต้องน่าสนใจ สวยสดกระแทกอารมณ์คนดูได้ด้วย ตัวอย่างที่ยกมาคือชา ยี่ห้อ Curtis  ที่จะบอกรสชาติของชาที่มีรสส้มและช็อคโกแลตแค่ภาพก็เข้าใจแล้ว แล้วมันยังน่ากินด้วยการทำภาพที่ละเอียดสวยและสมจริงมากเลย

บางครั้งการโฆษณาไม่ต่างอะไรกับการแข่งกันเรียกร้องความสนใจจากผู้คน ยิ่งโดดเด่นมากยิ่งมีโอกาสมากแต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นนักโฆษณาต้องผ่านกระบวนการมากมายก่อนที่ภาพโฆษณาดีๆซักภาพนึงจะออกไปสู่สาธารณะ วันนี้เราจึงขออนุญาตินำบทความจาก Canva Design School มาฝากกัน ซึ่งมันคือการรวบรวมเทคนิคการสร้างสรรค์ภาพในงานโฆษณาเจ๋งๆ 30 แบบ ที่นิยมใช้กัน เอามารวมใว้ที่นี่ที่เดียวพร้อมเคสตัวอย่างให้คุณเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น และถ้าคุณรกำลังคิดไม่ออกว่าจะทำภาพแบบไหนในงานที่ทำอยู่ลองหยิบ 30 เคล็ดลับนี้ไปใช้ร่วมกัน ความเป็นไปได้ในแนวทางสร้างสรรค์ของคุณจะหลากหลายมากเลยทีเดียว

01. เรียบง่ายเข้าว่า
แนวความคิดที่เรียบง่ายบางครั้งก็ทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ ลองดูตัวอย่างงานของ Lego นี้สิครับ ที่เล่นกับจินตนาการของการต่อเลโก้ ซึ่งมันเรียบง่ายทั้งไอเดียและภาพ ไม่มีก็อปปี้ ไม่มีคำโฆษณาเยิ่นเย้อ มีเพียงภาพๆเดียวที่เรียบง่ายแต่เราก็เข้าใจสิ่งที่เลโก้อยากบอกใช่ไหมล่ะ

1_simple
Image: Lego by Blattner Brunner
 


02. กระตุ้นให้คนคิดหรือทำบางอย่าง ( Call to Action )
เราควรจะใช้ข้อความหรือกราฟฟิกที่มีข้อความกระตุ้นให้คนรู้สึกนึกคิดหรือทำอะไรซักอย่างเมื่อได้เห็นโฆษณา ซึ่งเราสามารถวางมันใว้ในจุดที่เมื่อเข้าใจภาพแล้ว สิ่งนี้ ( ที่มักเรียกกันว่า Call to Action ) จะกระตุ้นหรือตอกย้ำความเข้าใจจนสร้างการกระทำบางอย่างต่อไป
ตัวอย่างนี้โชว์ให้เราเห็นภาพทางม้าลายปกติกับอันที่ดูถี่และแคบกว่าปกติ ซึ่งเราอาจจะงงว่ามันคืออะไร แต่พอเราไล่สายตามมาถึงคำเชิญชวนให้มาดูลูกม้าลายเกิดใหม่ที่สวนสัตว์ ก็คงจะร้องอ๋อกันขึ้นมาทันทีเลยใช่มั้ยครับ

2_CTA
Image: Monarto Zoo by Showpony Advertising

 

03. เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย
มีเพียงไม่กี่ผลิตภัณฑ์หรอกที่จะถูกใช้งานจากทุกๆคนบนโลก แล้วยิ่งถ้าเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มที่เล็กลงไปอีก การทำโฆษณาออกมาซักชิ้นนึงก็ควรจะสื่อสารกับคนเหล่านั้นโดยตรงเลยไม่อ้อมค้อม ซึ่งอาจจะออกมาในรูปลักษณ์เท่ๆแบบนี้ก็ได้ มีดกวนหนวดสำหรับคนมีหนวดมีเครามีสไตล์แตกต่างกันแค่ไหน มีดโกนหนวดนี้ก็รับใช้ได้สบายๆ

3_niche-662x309

Image: Wilkinson Sword by JWT, London, United Kingdom

04. การอุปมาอุปมัย
นี่คงเป็นรูปแบบที่เราเห็นบ่อยที่สุดในงานโฆษณา เพราะมันช่างช่วยให้เห็นภาพชัดเจนและสร้างความรู้สึกได้มากมายมหาศาล จากเทคนิคการนำสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเอามาทำให้เรื่องเดียวกันอย่างชาญฉลาด พอคนเข้าใจมันจะดูเจ๋งขึ้นมาทันที  ตัวอย่างนี้คือการรณรงค์ให้ทำความสะอาดผักผลไม้ก่อนกิน เพราะถ้าไม่ล้างก่อนมันจะเสี่ยงที่จะติดโรคต่างๆเจ็บป่วยถึงชีวิตได้เลย แน่นอนว่าระเบิดคร่าชีวิตได้ไม่ต่างกับผลไม้ที่ไม่ได้ล้างนั่นเอง! แต่ข้อควรระวังคือ 2 สิ่งที่หยิบมาเปรียบเทียบ ต้องชัดเจนและคนส่วนใหญ่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน…

4_metaphorImage: Elter Drugs by AW Nazca Saatchi & Saatchi, Caracas, Venezuela

05. เชื่อมโยงความหมาย
เทคนิคนี้จะคล้ายๆกับการอุปมาอุปมัยแต่จะมีความลึกซึ้งซับซ้อนกว่า เพราะมันคือการหาความหมายที่เชื่อมโยงหลายๆสิ่งเข้าด้วยกันผ่านสถานการณ์หรือบริบทบางอย่าง มันคือการเปรียบเทียบจากสิ่งที่คนเข้าใจอยู่แล้ว 2-3 อย่างมารวมเป็นเนื้อหาใหม่ที่ต้องการสื่อ จากตัวอย่างจะเห็นว่าเว็บไซต์หาคู่ออนไลน์ parship.com ใช้ลักษณะของซิบโดยแทนตัวซี่ด้วยสัญลักษณ์ที่เข้าใจกันทั่วโลกว่าเป็นชายหญิง นำมารูดรวมกันสลับฟันปลาเลียนแบบการทำงานของซิบ เทียบได้กับการทำงานของเว็บไซต์ที่นำพาชาย-หญิงมาเจอกันนั่นเอง

5_hiddenvisualImage: Parship by Euro Rscg Vienna

06. ใช้คนดังเป็นคนแสดง
ข้อดีของการนำคนมีชื่อเสียงทั้งในอดีตและปัจจุบันมาอ้างอิง คือถ้าคนคนนั้นเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างมากทั้งทัศนคติและผลงานหรือการแสดงออกต่างๆของเขาที่ฝากใว้บนโลกมันโดดเด่นขนาดที่คนส่วนใหญ่รับรู้ได้ คนทั่วๆไปจะเข้าใจแนวคิดเราได้ง่ายขึ้นและน่าสนใจ หากเรานำมาปรับใช้กับแนวคิดเราได้อย่างฉลาดๆ อย่างเช่นโฆษณา SAMSUNG ชิ้นนี้ที่กำลังจะบอกคุณสมบัติของกล้องถ่ายรูปที่ถ่าย selfie ได้ง่ายและเนียนมากขนาดศิลปินดังอย่าง van gogh ยังต้องใช้อันเป็นที่มาของภาพ self portrait อันโด่งดัง

6_UseIconicFiguresImage: Samsung by Leo Burnett Switzerland

07. เล่นกับขนาด
เป็นเทคนิคที่ทรงพลังมากอันนึงเลยเรื่องสัดส่วนที่ต่างกันแบบสุดขั้ว ด้วยภาพที่ดูแปลกตามันส่งผลต่อความรู้สึกได้มหาศาล เพราะความผิดปกติมักจะกระตุ้นความสนใจให้มนุษย์ตื่นตัว แต่นี่ไม่ใช่ภัยคุกคามมันเป็นเพียงงานโฆษณาดีๆชิ้นนึงของ Staedtler  ที่นำดินสอมาเหลาอย่างละเอียดปราณีต สละสลวยสวยเป็นปราสาทอลังการอย่างไม่น่าเป็นไปได้ มันเลยดูเจ๋งมากๆเลย

7_scale
Staedtler by Leo Burnett

08. จินตนาการเหนือจริง
การพูดเกินจริงคือสิ่งที่งานโฆษณามักทำเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ต้องเกินจริงไปแบบเยอะๆเลยนะครับ อย่ายืนบนเส้นแบ่งที่คลุมเครือเพราะนอกจากจะผิดกฏหมายแล้วยังอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดจนเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาได้ ถ้าจะโม้ต้องโม้ให้สุด อย่างเช่นสเปรย์ฉีดยุงที่มองว่าตัวโน๊ตดนตรีคลาสสิคคือยุงแสนน่ารำคาญ มันเลยฉีดซะตายเหี้ยนเหลือใว้แต่เส้นเปล่าๆ นอกจากจะบอกอานุภาพของสเปรย์แล้วยัง แอบแซะดนตรีคลาสสิคเล็กๆแต่ก็ขำดี…

8_exaggerate
Image: Raid by Draft FCB

09. เซอร์เรียลนิดๆกำลังดี
ก็น่าสนุกดีกับภาพแนวๆลวงตา ที่ดูเผินๆก็เหมือนธรรมดาแต่เมื่อตั้งใจดูจะเห็นว่ามีความผิดเพี้ยนบางอย่าง ซึ่งความผิดเพี้ยนที่ว่านี้เปิดช่องให้จินตนาการได้หลายอย่างตามแต่คุณจะพาผู้ชมไป จากตัวอย่าง IKEA เอาแรงบัลดาลใจจาก Penrose triangle ( สัญลักษณ์สามเหลี่ยมใขว้ไปมาแบบที่เป็นไปไม่ได้ ) มาดัดแปลงเป็นเก้าอี้ที่ขาใขว้ไปมางงๆ เพื่อจะบอกว่าหากการประกอบเฟอร์นิเจอร์สำหรับคุณแล้วมันจะยุ่งยากซับซ้อนเป็นไปไม่ได้ขนาดนี้เรามีบริการประกอบให้ เท่านั้นเอง…

9_surreal-662x992
Image: Ikea by DDB Tribal

10. สื่อสารด้วยภาพที่เย้ายวน
มันคือการแสดงความหมายที่เราซ่อนใว้ผ่านการทำงานของภาพ ที่สื่อสารทั้งอารมณ์ความรู้สึกและจุดมุ่งหมายออกมาโดยที่ไม่ต้องมีตัวหนังสือบอกเลยมันคือการปล่อยให้ภาพเล่าเรื่องทั้งหมด แน่นอนว่า Visual ที่ออกมาก็ต้องน่าสนใจ สวยสดกระแทกอารมณ์คนดูได้ด้วย ตัวอย่างที่ยกมาคือชา ยี่ห้อ Curtis  ที่จะบอกรสชาติของชาที่มีรสส้มและช็อคโกแลตแค่ภาพก็เข้าใจแล้ว แล้วมันยังน่ากินด้วยการทำภาพที่ละเอียดสวยและสมจริงมากเลย

10_showtell
Image: Curtis by Catzwolf

11. สร้างปฏิสัมพันธ์
เพียงแค่ออกแบบให้ผู้คนสามารถจะทำอะไรซักอย่างกับ Print Ad ซึ่งอาจจะเป็นกิจกรรมแบบอนาล็อคเช่น เขียน,พับ,ฉีก,ลูบ,ดึงฯลฯ หรือจะเป็นการใช้เทคโนโลยีอย่าง QR Code – AR Code ซึ่งนอกจากจะสร้างคุณค่าให้แอดชิ้นนั้นเพิ่มเติมแล้ว ยังทำให้คนดูสามารถรับรู้ข้อมูลหรือสื่อความหมายของแบรนด์เพิ่มได้อีกด้วย และยิ่งถ้ามันดูฉลาดอย่างแอดชิ้นนี้ที่เชิญชวนคนที่อยากสักลายได้ลองฝีมือบนกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อส่อง QR Code ติดต่อกับสถาบันสักลายนี้ได้เลย

11_interactive-662x468
Image: Berrge Tattoo by BÜRO

12. คำโฆษณาที่สั้นกริบ
ในสมัยก่อนเราจำเป็นจะต้องใส่คำโฆษณาที่ยาวเยียดที่จะประกอบไปด้วย คุณสมบัติสินค้า ข้อความเร้าอารมณ์ความอยากได้ และอาจรวมไปถึงจุดขายและราคา แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคมีเวลาไม่มาก คำโฆษณาควรมาในรูปแบบที่กระชับ และถ้ามาพร้่อมกับภาพที่ใช่แล้วหละก็ มันจะช่วงส่งเสริมให้งานโฆษณานั้นมีพลังขึ้นมาได้ จากตัวอย่างมีเพียงภาพทีสื่อถึงคุณสมบัติเด่นของตัวรถเรื่องความแข็งแรงและถูกรับด้วยก็อปปี้คมๆที่ทรงพลังจึงช่วยให้ภาพสมบูรณ์ขึ้นไปอีก

12_copyshort-662x937

Image: Land Rover by Rees Bradley Hepburn

13. ใช้ Symbol
บางทีเราก็สามารถหยิบเอา Symbol ที่เป็นที่เข้าใจกันในระดับสากลมาใช้เป็นคีย์หลักในการทำภาพก็ได้ โดยสัญลักษณ์จำพวก ปุ่ม Like, หมุด Google Maps, สัญลักษ์การแพทย์-การบินต่างๆ หรืออะไรก็ตามที่คนทั้งโลกเข้าใจตรงกัน และมันช่วยอธิบายความหมายที่แบรนด์ต้องการสื่อสารได้ เมื่อเรานำมาใช้กับ Visual ของแบรนด์เองก็จะยิ่งทำให้แอดน่าสนใจขึ้นมาได้เช่นกัน

13_symbols
Image: Capacitate by Koenig & Partners

14. การมองเห็นสร้างภาพลวงตา
โฆษณายารักษาสิว Oxy ชิ้นนี้บอกให้เราจ้องที่ขวดซัก 20 วินาที อยากให้ลองจ้องดูครับ เราจะพบว่าไอ้จุดๆสีชมพูมันจะหายไป เพราะลูกตาเราปรับสภาพการมองเห็นของมันเอง พูดง่ายๆคือมันสร้างภาพลวงตาจากขีดจำกัดของการมองเห็นของเราเองนี่แหละ แต่ก็ไม่ได้แค่ลวงตาไปวันๆนะครับ เพราะยารักษาสิวจะบอกว่าของเค้าดีลบรอยแดงหายได้อย่างดีเลย ซึ่งเราก็ได้พิสูจน์แล้วจากการจ้องขวดมันใว้จนจุดด่างๆหายไปนี่เอง 

14_OpticalIllusionsImage: Oxy by Ogilvy

15. เกี่ยวกับการใช้สี
เรารู้กันดีว่าสีนั้นทรงพลังต่อความรู้สึกแค่ไหน เราจะเห็นได้ว่าในงานโฆษณามีการใช้สีค่อนข้างมาก ทั้งสีที่สื่ออารมณ์ สีที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ คนส่วนใหญ่มีความรับรู้เรื่องสีไปในทิศทางเดียวกัน แต่ยังมีอีกแง่มุมนึงที่เรานำการรับรู้เรื่องสี มาใช้โดยไม่ต้องมีสีก็ได้ ดังตัวอย่างที่สถานทันตกรรม Centre Dentaire ที่จะพูดถึงเรื่องฟันเหลือง ว่าที่แห่งนี้ไม่มีสีเหลือง ด้วยการหยิบเอาถาพสิ่งของต่างๆที่น่าจะเป็นสีเหลือง มาย้อมสีขาวมันซะเลย

15_colour-662x1000
Image: Parisloft by Michel Lavoie

16. ใช้พื้นขาวให้เป็นประโยชน์
ที่ว่างนั้นมีพลังมากหากที่ว่างนั้นสัมพันธ์กับที่ไม่ว่างจนเกิดเป็นความหมายขึ้นมา KitKat มีสโลแกนที่เรารู้กันดีว่า คิดจะพักคิดถึงคิทแคท และแอดชิ้นนี้ช่วยย้ำข้อความนั้นได้อย่างดีด้วยการเอาคิทแคทสองแท่งมาวางบนพื้นสีขาว ให้ดูเป็นเครื่องหมาย pause ที่เป็นการหยุดเล่นชั่นคราวนั่นเอง

16_Whitespace
Image: Kit Kat by JWT

17. สร้างมูฟเมนต์ให้ภาพ
การทำภาพ2มิติให้แสดงออกถึงความเคลื่อนใหวที่รวดเร็วนั้นเป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ ที่จะช่วยสร้างภาพที่ดูแปลกตาเพื่อให้คนหยุดมองและช่วยสื่อสารสิ่งที่เราต้องการบอก ดังคุณสมบัติของกระดาษเช็ดของเปียกที่ซับน้ำได้รวดเร็วมากๆ ขนาดน้ำที่กำลังเทออกมายังโดนปาดแห้งอย่างง่ายดาย

17_movement1-662x874
Image: Ajax by Y&R

18. ค้นหาแนวทางใหม่
หากแบรนด์ต้องการจะโดดเด่นออกจากสิ่งที่แบรนด์อื่นๆในประเภทเดียวกันทำอยู่ ซึ่งมันอาจเป็นสิ่งซ้ำซากน่าเบื่อ เราจำเป็นต้องหาแนวทางวิธีการใหม่ๆในการนำเสนอความคิด เพื่อสื่อสารแบรนด์แมสเสจออกไป อย่างเช่นหมากฝรั่ง Extra ที่เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของตัวเองเป็นแปรงสีฟันเลยที่เดียวแต่ถ้าเอามาแต่งภาพมันก็ดูจะไม่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆนัก Extra จึงเลือกที่จะถ่ายทอดด้วยการเอาชิ้นหมากฝรั่งมาวางเรียงและใช้แสงส่องเข้าด้านหน้าจนเงาดำทอดยาวไปข้างหลัง ฉายให้ภาพทั้งหมดดูเหมือนแปรงสีฟันเลย

18_saynew
Image: Extra by BBDO Dusseldorf

19. ทำ Copyด้วย Typeface เจ๋งๆ
บางที่ก็อปปี้โดนๆซักประโยคนึงก็อาจจะอธิบายเรื่องของแบรนด์ได้ แต่มันจะยิ่งชัดเจนมากหากเราสามารถนำส่วนใดสวนหนึ่งหรือทั้งหมดของผลิตภัณฑ์มาทำเป็นประโยคได้ อย่างเช่น Print Ad โคตรฉลาดชิ้นนี้ที่เล่นกับความน่ากินด้วยการใช้ช็อคโกแลตมาเขียนบนแอดเสียเลยว่า “กรุณาอย่าเลีย” – สุดยอดไปเลย
19_customtype
Image: Nutella by Tim Smith

20. เล่นกับสื่อนิดหน่อยกำลังดี
เพียงแค่เล่นกับคุ้นเคยเล็กๆน้อยบนสื่อที่คุณใช้งานก็สร้างความประทับใจได้แล้ว โดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมให้เยอะแยะเลย ไม่ต้องพึ่งเทคนิคการพิมพ์พิเศษใดๆก็เล่นกับสื่อได้อย่างน่าสนใจแล้ว อย่างเช่นแบรนด์ไอศครีมที่เพียงทำภาพหลอกๆว่ากระดาษกำลังม้วนจากมุมขึ้นมาเป็นรูปไอติมโคนซะอย่างนั้น
20_PlayfulMedium
Image: Kibon by Renata El Dib

21. ใช้เส้นนำสายตา
ใช้เส้นนำสายตาพาความหมายและสารที่ต้องการบอกเล่าไปรวมศูนย์อยู่ที่จุดเดียว ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือตัวผลิตภัณฑ์นั่นเอง วิธีการนี้ดีตรงที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราวโดยที่ผู้ดูจะมองจากส่วนนึงและไล่สายตาไปยังอีกส่วนซึ่งสำคัญที่สุด เหมือนตัวอย่างที่กำลังบอกว่ามีเรื่องราวอยู่มากมายที่ดำรงอยู่ด้วยแอร์การ์ดนี้

21_linesImage: Celcom by M&C Saatchi

22. สร้างอารมณ์ร่วม
ยังคงเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลเสมอในการใช้การเร้าอารมณ์ผู้ดูให้รู้สึก ไม่ว่าจะเป็นรู้สึกตื้นตันใจหรือเศร้าใจ หรือที่เรามักเรียกกันว่า Emotional จากตัวอย่าง Unicef ใช้ภาพถ่ายตู้โชว์หุ่นใส่เสื้อผ้าที่มีเด็กกำลังมองหาบางอย่าง และขับเน้นเรื่องราวด้วยตัวอักษรเรียกร้องหาครอบครัวที่ทำเป็นลายมือหวัดๆแบบเด็ก ดูปุ๊ปเรารู้สึกได้ทันทีถึงความเศร้าสะท้อนใจ เหมือนเราถูกเสียดสีอย่างแรงถ้าจะมองผ่านเฉยๆ

22_emotional
Image: Unicef by Lowe Digitel

23. ใช้แพทเทิร์น
ในชีวิตประจำวันเรามักเห็นจังหวะของการทำซ้ำอยู่แล้ว เหตุผลหนึ่งคือการจัดการที่เป็นระเบียบและเรื่องของความงาม โดยมากเราจะพบในงานสถาปัตกรรม แต่หากมันมาอยู่ในงานโฆษณาหละ เราต้องเพิ่มเติมการขัดจังหวะเข้าไปด้วยเพื่อพลิกความคิดให้น่าสนใจ และมันยังบอกเล่าเรื่องราวที่ต้องใช้ความขัดแย้งในการช่วยเล่าด้วย ดั่งเช่นสุภาษิต”งมเข็มในมหาสมุทร” ที่ปากกาเน้นข้อความ LUXOR ทำแอดโดยการเรียงคำว่า bay ซ้ำๆเต็มหน้าไปหมดแต่กลับมีไฮไลท์ที่ถูกป้ายบนคำว่าเข็ม แค่นี้ก็บอกสรรพคุณสินค้าได้แบบเหนือๆแล้ว

23_repetition
Image: Luxor

24. สร้างสรรค์ด้วยไทโปกราฟฟิค ( Typographic )
การเล่นกับตัวอักษรเป็นอีกวิธีนึงที่น่าสนใจ และช่วยให้ความหมายถูกถ่ายทอดกระจ่างชัดขึ้นด้วย เพราะตัวหนังสือข้อความจะช่วยให้ผู้คนรับสารได้เร็วขึ้นและตรงตามความหมาย ไม่ต้องตีความมาก และหากหยอดความคิดสร้างสรรค์ลงไปอีกนิด เล่นกับการขีดฆ่า การปิดทับ เปิดเผย บดบัง หรืออะไรซักอย่างกับข้อความนั้น ก็จะยิ่งขับความหมายให้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก เช่นเดียวกับโฆษณาชิ้นที่เล่นกับความหมายของรถมือสองว่า มีค่าดั่งทองเลยทีเดียว

24_creativetype
Image: Triss by King

25. เรียกร้องความสนใจด้วยฟอนต์หนา
หลักการง่ายๆเลยคือการทำฟ้อนต์ให้หนาและใหญ่เพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่ะละข้อความไล่เรียงเรื่องราวโดยใช้ขนาดเดียวกัน แต่มันจะดีมากถ้าหากอ่านจบแล้วข้อความทั้งก้อนมันดูเจ๋ง อย่าง Daihatsu ที่กล้าตะโกนดังๆเลยว่า เรารับสาวขึ้นรถได้ตั้ง 5 คน มากกว่า Lamborghini ดูเป็นคนเจ๋งมากเลย

25_BoldTypeBoldMessage
Image: Daihatsu

26. ปล่อยจินตนาการคนดูให้โลดแล่น
ในบางครั้งเราก็ต้องปล่อยพื้นที่ว่างสำหรับจินตนาการของผู้ชมบ้าง โดยการทำภาพให้คนเกือบจะรู้แล้วว่าเป็นอะไรแต่ก็ไม่รู้ และทำให้เขาคิดว่าหากเขาอยู่ในนั้น ในสถาการณ์นั้นๆจะเป็นอย่างไรโดยไม่แสดงออกมาชัดๆ ตัวอย่างที่เห็นคือซอสพริก Heinz ที่บอกความเผ็ดของมัน ด้วยการโชว์ภาพเบาะร้านอาหารที่ชุ่มเหงื่อจากคนที่ทานซอสพริกและลุกไปแล้วนั่นเอง ซึ่งหากมีภาพคนกำลังเหยาะซอสกินอยู่ด้วย มันอาจจะไม่น่าสนใจให้ได้คิดเท่านี้ก็ได้

26_fillinblanksImage: Heinz by Shalmor Avnon Amichay / Young & Rubicam

27. ใช้เนกาทีฟสเปซ
เนกาทีฟสเปซ ( Negative Space ) คือรูปแบบการจัดวางกราฟฟิคที่สร้างรูปทรงให้มีความหมายได้สองด้าน โดยจะมีสีทีึ่ตัดกัน เช่น ขาว-ดำ วิธีการแบบนี้ถูกนิยมในมากในงานออกแบบ Logo และเมื่อมันอยู่ใน Poster Advertising มันก็ทรงพลังได้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันความนิยมยังไม่เสื่อมคลาย ยังเป็นเทคนิคเจ๋งๆที่ใช้การได้ดีเสมอ จากตัวอย่างของ IBM เราจะเห็นภาพสองสิ่งที่ตัดกันอยู่ด้วยเส้นกราฟิคคือรูปไก่และหน้าผู้หญิงโดยสื่อความหมายเรื่องความสดของอาหารที่เทคโนโลยีของ IBM สามารถช่วยได้

27_NegativeSpace-662x883
Image: IBM by Ogilvy

28. ทำให้ค้นหาสิ่งที่ซ่อนใว้
บางทีเราก็เล่นสนุกกับผู้ชมได้ด้วยการเรียกร้องความสนใจแบบง่ายที่สุดคือ การให้พวกเขาได้มองหาสิ่งที่ซ่อนเอาใว้ในภาพ มันคือการตรึงผู้ดูให้อยู่กับโฆษณาเรา และนอกเหนือจากสิ่งที่เราซ่อนใว้ ยังมีบางสิ่งที่เราอยากบอกซ่อนอยู่และเขาก็จะได้รับรู้ข้อความนั้นไปด้วย กว่าจะรู้ว่าหลอกให้มองก็สายไปแล้ว ในตัวอย่าง Colgate บอกให้เรามองหาสิ่งผิดปกติในภาพ ซึ่งเราอาจจะสนใจพวกนิ้วเกิน หูหาย มือใครไม่รู้ แต่ความจริง Colgate จะบอกว่า เศษอาหารที่ติดฟันต่างหากที่ผิดปกติ และคุณควรกำจัดมัน

28_stopstare
Image: Colgate by Y&R

29. เล่าเรื่องด้วยภาพ
คือการปล่อยให้เรื่องราวถูกถ่ายทอดด้วยสถานการณ์ภายในภาพด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวหนังสือบอกเล่าเรื่องราวอะไรลงไปเลย แต่จำเป็นต้องมีโปรดักส์ที่จะสรุปเรื่องราวทั้งหมดว่า “อ๋อ มันอย่างนี้นี่เอง” ซึ่งหากตัวโปรดักส์มีแบรนด์ที่แข็งแรง ที่หลายคนรับรู้คุณประโยชน์หรือการใช้งานแล้วมันจะยิ่งง่ายเลยครับ  จากตัวอย่างน้ำยาซักผ้านุ่ม ที่แสดงภาพให้เห็นว่าหมีโหดแค่ไหนตกน้ำลงไปก็กลายเป็นตุ๊กตาหมีน่ารัก นุ่มๆน่ากอด ทุกอย่างถูกเฉลยสมบูรณ์แบบด้วยภาพโปรดักส์ด้านล่าง

29_imagespeak
Image: Lenor by Grey

30. เติมคำในช่อง
บางทีการตั้งคำถามง่ายๆในภาพก็เป็นวิธีที่เวิร์คกว่าการใส่ก็อปปี้สวยๆ ประโยคคมๆ ลงไปในชิ้นงาน เพราะบางครั้งเราต้องดึงการมีส่วนร่วมของผู้คนออกมา แม้จะเพียงแค่ได้คิดในใจ ให้สารต่างๆที่เราอยากสื่อด้วยความนึกคิดของผู้ดูเอง จากตัวอย่างคือโปสเตอร์รณรงค์เมาไม่ขับ แต่เขามีแต่ตัวอักษรให้เลือกเติมเพื่อความสบูรณ์ของข้อความว่า “ขับ” หรือ “ดื่ม” ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งมันดูฉลาดมากๆเลย

30_LetTypeSpeak
Image: Seagram by Ogilvy & Mather

สุดท้ายนี้แม้เราจะมีวิธีการตั้ง 30 เทคนิคเหล่านี้ให้เลือกใช้ แต่ที่สุดแล้วก็ยังมีเทคนิคอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึง หรือแม้แต่การนำ 30 เทคนิคนี้ไปผสมผสานรวมกันเป็นเทคนิคใหม่ก็ยังได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และภาพลักษณ์ของแบรนด์ต่างๆที่คุณทำงานให้ เพียงค้นหาความเชื่อมโยงให้เจอแล้วจังหวะสร้างสรรค์ดีๆก็จะบังเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องฝืน ใครนำเทคนิคดีๆนี้ไปใช้ไปลองแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมคอมมเมนท์บอกกันบ้างนะครับ

Source : Canva Design School
http://idxw.net/2015/08/18/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%86%E0%B8%A9%E0%B8%93/