สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (สวส.)

Office of Academic Resources and Information Technology

Wireless : จากเครือข่ายสำรองกลับก้าวกระโดดมาแทนเครือข่ายหลัก

     Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย ที่ใช้ในอำนวยความสดวกสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ อุปกรณ์ที่ต้องพกพาไปไหนมาไหน ใช้ในสถานที่ต่างๆ ซึ่งจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่มากนัก  
      แต่ ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีไปไกลมาก การพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สายได้รับการตอบสนองมากขึ้นเป็นพวีคูณ ประกอบกับอุปกรณ์ใช้งานหาซื้อได้สดวกและราคาไม่แพง ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้งานมากขึ้นๆ เป็นเท่าตัว การพัฒนาทางด้านระบบเครือข่ายจึงถูกพัฒนาแบบก้าวกระโดด สังเกตุง่ายๆ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล จากอดีต 54 Mbps จนมาถึงปัจจุบัน มากกว่า 1 Gbps เข้าไปแล้ว หรือดูจากอุปกรณ์ของผู้ใช้ คุณสมบัติของตัวเครื่องกับราคา ปรับเลี่ยนเร็วมาก ไม่กี่เดือนราคาลดลงกันเห็นๆ รุ่นใหม่ๆเข้ามาเร็วมาก การแข่งขันสูงมาก
      จากความเร็วที่ถูกพัฒนาจนฉีกหนีจากระบบเครือข่ายที่ใช้สายสัญญาณ ซึ่งถ้าผู้ใช้ได้ใช้งานจริงๆที่ความเร็วขนาดนี้ การเข้าถึงข่าวสารต่างๆก็เป็นเรื่องง่ายดาย ดูหนังฟังเลง vdo call และอื่นๆอีกมากมายพูดได้ว่า จะอยู่มุมไหนของโลกฉันก็ไปถึง ฉันก็เข้าถึง กันเลยทีเดียว
       การพัฒนาโครงข่ายเครือข่ายไร้สายถึงถูกพัฒนาเหมือนๆเครือข่ายสายสัญญาณ มีระบบการจัดการมากมาย เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพ องค์กรแต่ละองค์กรก็มีการจัดการที่แตกต่างกันไป การบริหารจัดการ Enterprise Wi-Fi ภายในองค์กรนั้นก็มีรูปแบบที่หลากหลาย และต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสถาปัตยกรรมในการบริหารจัดการระบบ Wi-Fi ทั้ง 4 แบบ ว่ามีอะไรกันบ้าง

1. บริหารจัดการแบบศูนย์กลางผ่าน Wireless LAN Controller

Wireless LAN Controller เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเอาไว้ภายในระบบเครือข่ายขององค์กร เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ Wireless Access Point โดยเฉพาะ โดยทั่วไปการใช้งาน Wireless LAN Controller มักจะทำให้ Access Point ให้บริการ Wi-Fi ได้อย่างเต็มความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Tunnel เพื่อออกแบบ VLAN สำหรับระบบ Wi-Fi ได้อย่างอิสระ, การยืนยันตัวตนผู้ใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย, การรักษาความปลอดภัยในการใช้งาน, การควบคุมการเข้าใช้งาน Website และ Application ต่างๆ ไปจนถึงการทำ BYOD, การตรวจสอบคุณภาพสัญญาณ และการออกรายงานการใช้งานระบบเครือข่ายด้วย การจัดการในรูปแบบนี้ราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่มีจำนวน Access Point มากๆ

2. บริหารจัดการแบบศูนย์กลางผ่าน Wireless Access Point

เป็นระบบการจัดการที่ให้ Access Point ตัวใดตัวหนึ่งทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ Access Point ที่เหลือในระบบเครือข่ายเดียวกันได้ ซึ่งการจัดการสามารถทำได้ในระดับหนึ่งจากแบบรูปแรกข้อดีเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการลง แบบนี้เหมาะกับองค์กรที่มีจำนวน Access Point ไม่มากนัก

3. บริหารจัดการแบบศูนย์กลางผ่านระบบ Cloud Controller

เป็นการบริหารจัดการ Access Point บนระบบ Cloud Controller มักจะทำการเชื่อมต่อกับ Access Point เพื่อทำการบริหารจัดการและจัดเก็บข้อมูลในเชิงสถิติเป็นหลัก ข้อดีจะเชื่อมต่อ Access Point ที่ไหนก็ได้ให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน และ ข้อมูลของผู้ใช้งานภายในองค์กร หรือข้อมูล Traffic จริงๆ นั้นจะไม่ถูกส่งขึ้นไปบน Cloud Controller แต่อย่างใด ทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับทั้งหมดขององค์กรก็ยังคงถูกปกป้องอยู่ภายในระบบเครือข่ายองค์กรเท่านั้น

4. บริหารจัดการแบบศูนย์กลางผ่านระบบ Network Management

 ระบบ Network Management เป็นระบบที่สามารถบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่ายหลายยี่ห้อพร้อมๆ กันได้ นี่อาจเป็นข้อดีที่สุดสำหรับหลายๆคน

หมายเหตุ บทความเรื่องนี้ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยใว้ ณ ที่ด้วยครับ  ฉบับนี้เขียนพอเป็นน้ำจิ้ม ฉบับหน้าจะมาสานต่อครับ